Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1367
Title: สำรวจความต้องการของสถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสมุทรปราการด้านการศึกษาและฝึกอบรม
Other Titles: Survey of Education and Training Needs of the Small and Medium Enterprise (SME) in Samut Prakran
Authors: พีระพงษ์ เอื้อสนุทรวัฒนา
ชุติระ ระบอบ
แววมยุรา คำสุข
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจ
Keywords: สถานประกอบการ
ธุรกิจขนาดกลาง -- ไทย -- สมุทรปราการ
Small business -- Thailand -- Samut Prakarn
ธุรกิจขนาดย่อม -- ไทย -- สมุทรปราการ
การฝึกอบรม
Employee -- Training of
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพการณ์และความต้องการด้านการศึกษาและฝึกอบรมหลักสูตรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสมุทรปราการ วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค และแนวทางการส่งเสริมด้านการศึกษาและฝึกอบรม ประชากร ได้แก่ ผู้ประกอบการหรือเจ้าของ ผู้บริหาร และพนักงาน ในธุรกิจ 4 ประเภท คือ ธุรกิจการผลิต ธุรกิจการค้าส่ง ธุรกิจการค้าปลีก และธุรกิจบริการ รวมจำนวนทั้งสิ้น 397 ราย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแลแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติอย่างง่าย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ มากที่สุด รองลงมา คือ วิศวกรรมศาสตร์ ระยะเวลาที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ 1-5 ปี มากที่สุด รองลงมามากกว่า 10 ปีขึ้นๆ ส่วนใหญ่มีความรู้ที่เรียนตรงกับลักษณะงานที่ทำ มีแผนการที่จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ทางด้านบริหารธุรกิจ รองลงมา วิศวกรรมศาสตร์ มีเพียงส่วนน้อยที่ยังไม่ตัดสินใจ ปัญหาการศึกษาต่อ คือ ปัญหาทางด้านเวลา และด้านการเงิน หลักสูตรที่สนใจหากต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น คือ หลักสูตรด้านบริหารธุรกิจมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการจัดการ แหล่งเงินทุนหลักสำหรับการศึกษาต่อ มากที่สุด คือ ทุนส่วนตัว รองลงมาคือ ทุนส่วนตัวและครอบครัว คุณลักษณะของบุคลากรที่หน่วยงานต้องการ ได้แก่ ความสามารถด้านการแก้ปัญหาและตัดสินใจ การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นเห็นว่า ช่วยให้เกิดความก้าวหน้าในการทำงาน สำหรับการฝึกอบรมระยะสั้น ทำให้มีความรู้ลึกซึ้งในงานที่ปฏิบัติ ด้านความต้องการหัวข้อฝึกอบมหลักสูตรระยะสั้นเฉพาะด้านพบว่า ด้านการเงิน การบัญชี และการภาษีอากร คือ หัวข้อฝึกอบรมการวิเคราะห์การลงทุน งานบัญชี ด้านการตลาด คือ การตลาดผ่าน Social Media ด้านคอมพิวเตอร์ คือ การใช้โปรแกรม Microsoft Excel ด้านการบริหารจัดการและอื่นๆ คือ ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม ด้านภาษาต่างประเทศ คือ ภาษาอังกฤษ รองลงมา คือ ภาษาจีนธุรกิจ ระยะเวลาในการฝึกอบรมที่เหมาะสมคือ 2-3 วัน รองลงมาคือ 1 วัน และมากกว่า 5 วันตามลำดับ ช่วงระยะเวลาสะดวกคือ วันเสาร์และอาทิตย์ รองลงมา คือ วันเสาร์หรืออาทิตย์ ผลการทดสอบสมมติฐาน ด้านการศึกษาต่อ ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นด้านการศึกษาต่อแตกต่างกันในเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านสามารถนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องาน ไม่คุ้มค่ากับเงินของครอบครัวที่ต้องเสียไป และทำให้ต้องถูกเพ่งเล็งในที่ทำงาน ทุกระดับอายุมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกด้าน ระดับการศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันเฉพาะในด้านทำให้มีบทบาทในการทำงานและสังคมสูงขึ้น ไม่คุ้มค่ากับเงินของครอบครัวที่เสียไป และทำให้ต้องถูกเพ่งเล็งในที่ทำงาน เกี่่ยวกับตำแหน่งงาน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันเพียงด้านเดียว คือ มีผลต่อการเลื่่อนระดับตำแหน่งสูงขึ้น สำหรับประเภทธุรกิจ มีความคิดเห็นด้านการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไม่แตกต่างกันในทุกด้าน ผลการทดสอบสมมติฐาน ด้านฝึกอบรม เพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นแตกต่างกันในเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านช่วยร่นระยะเวลาการเรียนรู้งาน ได้ประโยชน์น้อยกว่าการเรียนรู้ด้วยตนเอง มักจะไม่คุ้มค่ากับงบประมาณขององค์กร ขาดการถ่ายทอดองค์ความรู้หลังการเข้ารับการอบรมกับผู้อื่น ทุกระดับอายุมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านสามารถนำความรู้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่องาน และสร้างโอกาสในการเลือกอาชีพที่ต้องการ ระดับการศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันเฉพาะในด้าน มักไม่คุ้มค่ากับงบประมาณขององค์กร และขาดการถ่ายทอดความรู้หลังการเข้ารับการอบรมกับผู้อื่น ตำแหน่งงานและประเภทของธุรกิจมีความคิดเห็นไม่แตกต่างในทุกด้าน สำหรับการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นและการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับตำแหน่งงานแตกต่างกันเป็นรายคู่ พบว่า ค่าเฉลี่ยของผู้บริหารมีระดับสูงสุด โดยเจ้าของกิจการกับพนักงานมีความคิดเห็นแตกต่างกันพนักงานยังมีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้ประกอบการอาชีพอิสระ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากผลที่ได้จากการวิจัยทำให้พบว่า บุคลากรในสถานประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กเห็นความสำคัญของการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นแต่ยังมีปัญหาและอุปสรรค เช่น ด้านระยะเวลา จึงน่าที่จะทำการศึกษาวิจัยเทคนิคและวิธีการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมในรูปแบบใหม่ที่้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียน หรือรูปแบบการสอนที่ลดเวลาเรียนให้น้อยลง และให้มีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น
This research aimed to survey circumstance of education and training need, to analyze problem and obstacle and promotion guideline in eduation and training of small and medium enterprise in Samut Prakarn Province. The population included entrepreneur, administrator and employee in 4 categories such as production, wholesaler, retailer and service sector of 397. The research instruments were questionnaires, interviews and focus group by using simple statistics : frequency, average, standard deviation and descriptive data analyzed. Research results found that almost that almost samples finished in Business Administration and Engineering for 1-5 years and more than 10 years, they can apply knowledge to work and have plan for more eduation in business field and engineering the less of them have no plan to study. Time and expenditure are their problems. The interested curriculum to get more education was business administration and management. The financial come from private saving and family support. The organization's characteristics requirement was the capacity in problem solving and decision. The sample's opinion for more eduation was program in career and profound knowledge was target of short course training. Short course designed to meet training requirement of financial and accounting/taxes was investment analysis, marketing was marketing via social media, computer was Microsoft Excel application, management and others was leadership and teamwork, language was English and business Chinese. The appropriate time for short training course participation was Saturday and/or Sunday. Hypothesis testing regarding higher education, male and female respondent have a different opinion except in learning to work regarding preference for using knowledge to benefit the jobs, not value for money lost, watch attentively at work, all age of respondent have not different in all issues. Education have different opinion regarding to higher role in work and socirty, not value for money lost. For ranks have not different only in promotion for higher rank issue, and the business sectors have not different in all issues. Hypothesis testing regarding short course training, mail and female resondent have a different opinion except in reduce time for learning jobs less benefit to self-learning, not value for money, lack of knowledge transfer after short course training. For age have not different opinion except the capability to get knowledge apply for job and to creat in career selection. For education, have different opinion in not value for money and lack of knowledge transfer, for rand and business sector have not different in all issues. The average comparative opinion regarding to higher education and short course training the respondent have different ranks found that an average of executive have highest level, different entrepreneur status have different opinion with employee, and employee have different opinion to freelance worker at statistical significant difference 0.05. It was found form research results that personnel in small and medium enterprise aware of how important to get higher education and short course training, but there have obstacle and problem of time to study. It is very interest to study learning and training by using modern technique and method to use information technology to be facilitate instrument for learner and instruction pattern to reduce learning period of time to be more self-study.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1367
Appears in Collections:Business Administration - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preerapong-Auewattana.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.