Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1384
Title: วิถีชีวิตของคนไทยในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
Other Titles: Ways of life of Thai residents in Kunming city, Yunnan province in people's republic of China
Authors: พัชรินทร์ บูรณะกร
Tang, Fulin
Keywords: Conduct of life
การดำเนินชีวิต
ชาวไทย -- จีน -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Thais -- China -- Social life and customs
วัฒนธรรมไทย-จีน
Thai culture
วัฒนธรรมไทย
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของคนไทยในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการปรับตัวของคนไทยที่นี่ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มคนไทย ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาชาวไทย กลุ่มอาจารย์ชาวไทย กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าร้านอาหารไทย และกลุ่มคนไทยที่แต่งงานกับคนจีน จำนวนรวม 30 คน นำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) วิถีชีวิตของคนไทยในเมืองคุนหมิง ที่น่าศึกษามี 6 ด้าน ได้แก่ ภาษา ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน การแต่งกาย การรักษาโรค และการประกอบอาชีพ บางคนดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปและบางคนยังคงรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมแบบไทยไว้ โดยเฉพาะด้านภาษาและอาหาร 2) วัฒนธรรมไทย – จีนที่ยังยึดถือปฏิบัติ เช่น ไปวัดเมื่อถึงวันสำคัญและสวดมนต์ก่อนนอนด้านการเฉลิมฉลองวันสงกรานต์และลอยกระทงเข้าร่วมงานที่มหาวิทยาลัยและสถานกงสุลจัดขึ้น ในขณะเช่นเดียวกันก็เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองเทศกาลจีนร่วมกับคนจีน เช่น วันตรุษจีน วันเช็งเม้ง วันตวนอู๋ (Duan Wu ) วันไหว้พระจันทร์ และงานแต่งงาน ด้านปัญหาและแนวทางในการปรับตัวของคนไทยในเมืองคุนหมิง พบมี 5 ด้าน ได้แก่ การดำเนินวิถีชีวิต สภาพอากาศ การคมนาคม เศรษฐกิจ และค่านิยม ปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้พวกเขาปรับตัวให้เข้ากับชีวิตในเมืองคุนหมิงได้อย่างยากลำบากในช่วงแรก ทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ด้วยการเผชิญปัญหาอย่างแข็งขันและหาทางแก้ไข หลังจากผ่านไปสักช่วงเวลาหนึ่ง พวกเขาสรุปวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับพวกเขา คือ การเรียนรู้ภาษาจีน มีเพื่อนชาวจีน เพื่อขอความช่วยเหลือกัน และค่อย ๆ แก้ปัญหา จนปรับตัวให้เข้ากับชีวิตในเมืองคุนหมิงได้เป็นอย่างดี
This research aims to study ways of life and analyze problems and solutions in adjustment of Thai residents in Kunming City in Yunnan Province, People’s Republic of China. Research methodologies include documentary and field studies. Thirty Thai residents, including Thai students; Thai lecturers; Thai food shop owners; and Thai women married Chinese men, in Kunming City were in-depth interviewed. Research findings are reported as a descriptive analysis. The research finds 1) six aspects of Thai ways of life in Kunming City, including language; residence; food; clothing; medical treatment; and profession. Some Thai residents in Kunming City have adjusted their ways of living, yet some aspects, especially language and food, are originally conserved. 2) Thai - Chinese cultures, Thai residents in Kunming City would go to temples on Buddhist or Thai festival days; they normally chant before going to bed. For special festivals like Songkran and Loykratong, most Thai residents would joy the celebrations held by universities or the consulate. For Chinese important festivals like Chinese New Year; Ching Ming; Duan Wu; Zhong Qiu; and wedding, Thai residents in Kunming City also participate as usual. Regarding to problems and solutions of adjustment, five areas are noted, including daily living; climate; transportation; economy; and values. These factors cause problems and sufferings, both physical and mental, for Thai residents in the beginning. However, later on their persistence and adjustment help solve the problems. By learning Chinese language; creating friendship with Chinese people; and facing problems with positive views eventually assist Thai residents to survive in Kunming City.
Description: วิทยานิพนธ์(ศศ.ม.)(การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ, 2566
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1384
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tang-Fulin.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.