Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1385
Title: ภาพสะท้อนกลุ่มชายรักชายในนวนิยายวายของจิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท
Other Titles: The reflection of male homosexual in Thai Y-novels of Chdanan Luengpiensamut
Authors: จันทร์สุดา ไชยประเสริฐ
Hu, Ruixue
Keywords: Male homosexuality
ชายรักชาย
Male homosexual
Gay men
การวิเคราะห์เนื้อหา
Content analysis
รักร่วมเพศชาย -- นวนิยาย
Homosexuality -- Fiction
นวนิยายไทย
Thai fiction
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนกลุ่มชายรักชายในนวนิยายวายของจิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท และปัญหาและแนวทางแก้ปัญหากลุ่มชายรักชายในนวนิยายวายของจิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท โดยศึกษาจากนวนิยายวายจำนวน 7 เล่ม ได้แก่ ราตรีสวัสดิ์รักร้าย ตีแผ่ชีวิตสายซึน เฟื่องนคร ชายใดเล่าจะแซ่บเท่าแฟนเก่าแม่ จีบเยลลี่แถมฟรีคนดื้อ ราตรีสวัสดิ์รักแท้ และ ถ้ารักบังเกิด ก็เปิดใจรัก ผลการศึกษาพบภาพสะท้อนของกลุ่มชายรักชายในนวนิยายวาย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวิถีชีวิต มีความเป็นส่วนตัวสูง พักอยู่ในคอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยวคนเดียว จะใส่เสื้อผ้าตามกาลเทศะ ไม่ทำตนเองเป็นจุดเด่นในที่สาธารณะ และส่วนใหญ่เรียนถึงระดับปริญญาตรีและปริญญาโท แต่วิชาต้องตามความหวังของครอบครัว ทำอาชีพอิสระและพนักงานบริษัทข้ามชาติ 2) ด้านความคิด คิดว่าสังคมไทยไม่ได้ให้ความเท่าเทียมทางเพศ เพศสภาพจะมีผลต่อสถานะในสังคม การทำงานสำคัญกว่าความรัก และจะเลือกคู่ตามบทบาททางเพศ 3) ด้านบุคลิกภาพ มีจิตใจที่เข้มแข็งเมื่อเจอปัญหาด้านเพศสภาพ มีน้ำใจต่อเพื่อน ผู้สูงอายุ และกลุ่มเพศต่าง ๆ สามารถควบคุมอารมณ์กับคู่รัก แต่มีความวิตกกังวลต่อความรัก 4) ด้านการแสดงออกเพศสภาพ จะปกปิดเพศสภาพเพื่อไม่ให้ครอบครัวผิดหวัง แต่เพื่อนญาติพี่น้องให้กำลังใจทำให้ได้เปิดเผยเพศสภาพ และมีส่วนที่ไม่ยอมรับเพศสภาพ เพราะมีการแปลงเปลี่ยนจากกลุ่มรักต่างเพศเป็นรักเพศเดียวกัน 5) ด้านความสัมพันธ์ คู่รักชายรักชายไม่มีสิทธิ์เท่ากับคู่รักชายหญิง พ่อแม่กับลูกชายเกิดความขัดแย้งได้ง่าย นิสัยและหน้าตาไม่เหมือนผู้ชายจะทำให้กลุ่มชายรักชายเกิดความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมห้อง และ 6) ด้านภาพลักษณ์ คนในสังคมมองว่าเป็นกลุ่มที่ผิดเพศ มีความสัมพันธ์ซับซ้อน และมีความรักแท้ได้ยาก ปัญหากลุ่มชายรักชายในนวนิยายวายของจิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท มี 5 ประการ ได้แก่ 1) ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล พ่อแม่ ญาติพี่น้องไม่เข้าใจกลุ่มชายรักชาย คู่รักชายรักชายไม่เชื่อใจกันและมีปัญหาการสื่อสาร มีความเข้าใจผิดกับเพื่อน 2) ปัญหาสุขภาพจิต มีภาวะซึมเศร้า และน้อยเนื้อต่ำใจ ไม่เห็นคุณค่าของตนเอง 3) ปัญหาพฤติกรรม เป็นกลุ่มที่เกิดความรุนแรงได้ง่าย และถูกโจมตีในสื่อออนไลน์ เปลี่ยนคู่นอนบ่อยเพื่อความสนุก และฆ่าตัวตายเพื่อข่มขู่คู่รักกลับมา 4) ปัญหาคุณธรรม ไม่รักเดียวใจเดียว ขาดความซื่อสัตย์ต่อคู่รัก และสร้างปัญหาให้ครอบครัวคนอื่น เลือกคนรักที่มีครอบครัวแล้ว 5) ปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน ครอบครัวให้อิสระแก่ลูกสาวมากกว่าลูกชายที่เป็นกลุ่มชายรักชาย และสังคมให้ความสนใจการแสดงความคิดเห็นต่อรูปร่างของผู้หญิงมากกว่ากลุ่มชายรักชาย ส่วนแนวทางแก้ปัญหากลุ่มชายรักชาย สรุปได้เป็น 5 วิธี คือ ความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง การพูดคุยทำความเข้าใจกัน ความพยายามของตนเอง ความอดทน และการหลบหนีปัญหา โดยวิธีความช่วยเหลือจากคนรอบข้างเป็นวิธีที่ใช้มากสุดและทำให้ปัญหาที่มีอยู่หมดไป
The research finds six aspects of reflections of male homosexuals in the novels studied as the following: 1) ways of life, most male homosexuals highly kept their privacy; usually lived alone in a condominium suite or a detached house; wore proper outfits; avoided being outstanding in the public; well educated, a bachelor’s or a master’s degree according to expectations of their families; and worked as freelances or in international companies. 2) Ideas, male homosexuals viewed that sexes were treated unequally in Thai society; social status was subjected to genders; professions were more important than love; partners were chosen accordingly to gender roles.3) Personality, male homosexuals were resolute when encountered gender problems, yet kind-hearted toward friends; elders; and other sexes. Although, they were restrained with their partners, their love was unstable. 4) Gender expression, true gender of male homosexuals was covered due to their family expectations; yet, among friends and their supports the truth was recognized. For some bisexuals, they covered their true gender because of their shifting from heterosexual to homosexual. 5) Relationship, homosexual couples had lesser rights compared to heterosexuals; between parents and sons, their relationships were fragile; because of unusual characteristics, not manly both in appearance and manner, conflicts between homosexual roommates were normal. 6) Image, negative perceptions of others toward male homosexuals included being the abnormal; having complicated relationship; and rarely true love were observed. Regarding to problems of male homosexuals, five areas are founded including 1) personal relationships, concerning disagreements between parents, siblings and the sons; untrustworthiness between the homosexual lovers; and miscommunication or misunderstanding between friends. 2) Mental problem, including depression; feeling neglected; and deeming low self-esteem. 3) Behavioral problem, easily causing violence; usually being online attacked; often changing sexual partners for enjoyment; and normally committing suicide on a condition of begging back lovers. 4) Moral, concerning infidelity; dishonesty; causing other families problems; and choosing to love married men. 5) Inequality, homosexual sons were treated strictly, compared to daughters, in the family; and in general public, female figures were more admirable than males’. Regarding to solutions, five suggestions are proposed including assistance from close related persons; understandable communication; personal endeavors; diligence; problems avoidance. By all mean, assistance from close related persons is most practiced and effectively rid the problems.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1385
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
HU-RUIXUE.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.