Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1389
Title: รายงานการวิจัย ประเมินหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: ประเมินหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
การวิจัยประเมินหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Authors: ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
เสาวนิจ รัตนวิจิตร นิจอนันต์ชัย
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม
Keywords: สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ -- หลักสูตร
Social service -- Curricula
สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Social work education
การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
Issue Date: 2005
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การประเมินหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2544 ของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินหลักสูตรสังคมสงเคราะห์มหาบัณฑิต สาขาบริหารสังคม ที่ใช้ระหว่างปีการศึกษา 2544-2547 และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต ข้อมูลได้มาจากหลายส่วน คือ มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรฯ หรือนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในหลักสูตรเดียวกันที่ใช้ในปัจจุบัน คือ รุ่นที่ 9 รุ่นที่ 10 และรุ่นที่ 11 จำนวน 3 รุ่น (หลักสูตรปัจจุบันเป็นหลักสูตรที่ได้รับการปรับปรุงเมื่อปีการศึกษา 2544) ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งได้จากอาจารย์ประจำหลักสูตรในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 8 คน อาจารย์พิเศษ จำนวน 3 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก และยังประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน ซึ่งมีตำแหน่งทางวิชาการเป็นศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์ นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลบัณฑิตที่ได้ทำงานแล้ว และจากผู้บังคับบัญชา โดยนำเสนอในเรื่องคุณภาพมหาบัณฑิต หน่วยวิเคราะห์ในการวิจัยประเมินผลครั้งนี้ คือหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2544 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้ ความเหมาะสม ความสอดคล้องของหลักสูตร การใช้หลักสูตรภายใต้สถานการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน: หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสังคม ยังเป็นหลักสูตรที่เป็นความต้องการของตลาด โครงสร้างหรือองค์ประกอบของหลักสูตร ซึ่งมีจำนวน 42 หน่วยกิต ควรปรับลดลงให้เหลือ 36 หรือ 39 หน่วยกิต การแบ่งหมวดวิชาโดยรวมมีความเหมาะสมดีแล้ว ยกเว้น หมวดวิชาเลือกเฉพาะกลุ่ม ซึ่งมี 2 กลุ่มวิชา คือ กลุ่มวิชาบริหารสวัสดิการสังคมกับกลุ่มวิชาการบริหารและพัฒนาแรงงาน ควรปิดกลุ่มวิชาการบริหารและพัฒนาแรงงาน แผนการเรียนของหลักสูตรฯ ประกอบด้วยแผน ก ทำวิทยานิพนธ์ และแผน ข ทำสารนิพนธ์หรือการศึกษาด้วยตนเองนั้น นักศึกษามีแนวโน้มที่จะเลือกเรียน แผน ก ทำวิทยานิพนธ์น้อยลง ส่วนรายวิชาในโครงสร้างหลักสูตรฯ โดยรวมมีความเหมาะสม ทันสมัย มีเอกลักษณะ และเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง แต่ยังต้องทำการปรับปรุงรายวิชาต่างๆ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น บางวิชาอาจนำมาบูรณาการเข้าด้วยกัน และอาจเพิ่มเวลาใหม่อื่นๆ เช่น วิชาวิจัยประเมินผล วิชาการจัดการตนเอง (Self Management) วิชาการจัดการรายกรณี (Case Management) วิชาการบริหารแรงงานในภาวะวิกฤต ส่วนการฝึกภาคปฏิบัติ (SA7393 การพัฒนาทักษะเฉพาะด้าน) ยังเป็นเงื่อนไขของหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต ที่จำเป็นต้องมีการฝึกภาคปฏิบัติ ในเรื่องระยะเวลาการเรียนของหลักสูตรฯ กำหนดไว้ 2 ปี และไม่เกิน 5 ปี มีความเหมาะสมแล้วสำหรับกระบวนการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและเหมาะสมกับหลักสูตรระดับปริญญาโท มีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการใช้สื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการศึกษา การวัดและประเมินผล การประเมินคุณภาพของปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านผู้เรียน: เนื่องจากไม่มีโอกาสในการคัดเลือกผู้เรียนที่มีคุณภาพเข้าศึกษาในหลักสูตรฯ ผู้สมัครเข้าศึกษามีจำนวนไม่มากพอ ประกอบกับผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าเรียนมีความหลากหลายในแง่ของวัยวุฒิ คุณวุฒิ ประสบการณ์และความคาดหวังของผู้เรียน คุณลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดจุดแข็ง คือ ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สำหรับจุดอ่อนก็คือ การที่ไม่มีโอกาสคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาเรียนจึงส่งผลต่อคุณภาพการเรียน ความตั้งใจและเอาใจใส่ต่อการเรียนของผู้เรียน ด้านผู้สอน: ผู้สอนมีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนของหลักสูตรฯ ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สอน เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการแก่นักศึกษาด้วยความเมตตา กรุณา เอาใจใส่ต่อนักศึกษาด้วยดีเสมอมา การย้ายสถานที่เรียนของนักศึกษาในหลักสูตรนี้ฯ จากอาคารเรียนชั้น 4 ไปเรียนที่บัณฑิตวิทยาลัย ทำให้ห้องเรียนกับห้องพักอาจารย์อยู่ห่างกัน คณาจารย์และนักศึกษาจึงมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันน้อยลง มีผลต่อการเอาใจใส่ดูแลการเรียนของอาจารย์ต่อนักศึกษา คณาจารย์ประจำหลักสูตรฯ มีศักยภาพในการทำผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่อง และนำผลงานวิชาการมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ : การสนับสนุนการเรียนการสอนของหลักสูตร มีการประสานความร่วมมือระหว่างบัณฑิตวิทยาลัยและคณะสังคมสงเคราะหำศาสตร์และสวัสดิการสังคมเป็นอย่างดี แต่ยังมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้องทุกระดับในเรื่อง การเปิดโอกาสให้คณาจารย์ทั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์พิเศษ ผลิตผลงานวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิชาการ นอกจากนี้ควรเชิญอาจารย์พิเศษมาสอนในรายวิชาตามความเหมาะสม รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของการประชาสัมพันธ์หลักสูตรฯ ปรับปรุงสถานที่ให้เอื้อต่อนักศึกษาในการเข้าถึงพบปะ ปรึกษาหารืออาจารย์ได้สะดวก จัดให้มีสื่ออุปกรณ์หลากหลาย ทันสมัย ใช้งานได้ ปรับปรุงการบริการห้องสมุดเพื่อให้นักศึกษาสามารถไปใช้บริการได้ในขณะที่นักศึกษาอยู่ระหว่างรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา การประเมินคุณภาพของกระบวนการผลิต ได้แก่ การบริหารหลักสูตรฯ การจัดการเรียนการสอน และการประเมินการเรียนรู้และการสอบ : ผลการศึกษาพบว่า การบริหารหลักสูตรฯ การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้และการสอบอยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้นเรื่องแผนการสอนที่มีการจัดทำเพียงบางรายวิชา การประเมินการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการศึกษา การวัดและการประเมินผลสอดคล้องกับลักษณะและเนื้อหาวิชา โดยใช้วิธีการประเมินผลหลากหลาย ผู้เรียนควรมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการประเมินผลการเรียน การกระจาย "เกรด" อย่างเหมาะสมจะทำให้ผู้เรียนมีขวัญกำลังใจ การประเมินผลผลิต : มหาบัณฑิตมีคุณลักษณะและความสามารถในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านผู้ปฏิบัติงานที่มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความรับผิดชอบ มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน/ชุมชน/สังคม มีความขยันอดทน ซื่อสัตย์ ส่วนคุณลักษณะและความสามารถในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริหารงาน การบังคับบัญชา และการถ่ายทอดความรู้ สำหรับคุณลักษณะและความสามารถของมหาบัณฑิตที่ควรได้รับการปรับปรุง คือ ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้ความรู้ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติ การบูรณาการ ภาวะผู้นำ และวุฒิภาวะทางอารมณ์ ข้อเสนอแนะจากการประเมินหลักสูตรฯ 1. ต้องปรับปรุงหลักสูตรฯ เกี่ยวกับชื่อปริญญา ชื่อสาขาวิชา องค์ประกอบหรือโครงสร้างรายวิชาของหลักสูตร ชื่อวิชาและเนื้อหาวิชา เงื่อนไขการฝึกภาคปฏิบัติ การทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ การศึกษาด้วยตนเอง และการสอบประมวลความรู้ 2. ส่งเสริมคณาจารย์ในการผลิตและการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ 3. การเชิญอาจารย์พิเศษภายนอกมาสอน การพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัยกับอาจารย์พิเศษ 4. เพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ 5. จัดสถานที่เรียนให้เหมาะสม ตรวจสอบและเตรียมความพร้อมของห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์การเรียนและสื่อการสอนที่พร้อมใช้งาน 6. ปรับปรุงบริการห้องสมุด 7. จัดหาและบริการคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาให้เพียงพอและมีคุณภาพ 8. จัดทำโครงการพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา เตรียมความพร้อมของนักศึกษาเพื่อการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมความพร้อมผู้กำลังสำเร็จการศึกษาด้านการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ 9. ควรมีการประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่องและนำผลไปพัฒนาการเรียนการสอนและการปรับปรุงหลักสูตรฯ ครั้งต่อไป
The study on Assessment in Master of Social Work Program of Faculty of Social work and social welfare, Hua Chiew Chalermprakiat University 2001 aimed to assess the program on master of social work that was organized during academic year 2001-2004. ll also aimed to find the direction to develop this program. Data were collected from several sources such as master of social work degree students and alumni including groups I -11. Unite of analysis is the master of social work program, major on social administration 2001. Another source of data was from 8 lecturers in Hua Chiew Chalermprakiat University together with 3 external lecturers and 8 external professors who has academic position such associate professors or assistant professors. ln addition, data were collected from alumni who already work and data from supervisorsin their offices to present the quality of master of social work students. The result of assessment is as follows:Appropriation, consensus and the use of the program towards present social situation Master of social work program (social administration) is a needed program in the market. The program structure and component was appropriated such as number ofcredit that was limited to 42 credits but there was a suggestion to lower this number to 36 or 39. As for the subject groups, it was set up appropriately excepted for the separation between groups of the social work administration and labor administration and development which is specific Selective subjects. There was a suggestion to close the group of labor administration and development.The study plan of this program comprised plan A to make a thesis and plan B to make study report and self study. The numbers of student who selected plan A seem to be declined. The subjects in the program structure were appropriate, modern, and specific. They could be applied to the real situation. However some subjects needed to be developed or integrated to other subjects. The program may be added some modern subjects such as self management, CaSe management, labor in crisis management. As for the field practice sA 7393 was an important condition of the program. As for the duration of education program that was limited to 2 years but not over 5 year, it was appropriated. The teaching, studying and evaluating was consensus with objectives of the program. lt was the appropriate program that emphasized on student center. The program used several teaching Medias and sources of knowledge. Student participated in measurement and evaluation.Assessment on quality of input such as student and lecturers and appropriation of learning supportStudent: For the student, the program lacked of opportunity to select qualified student into the program since number of applicants was not enough. Characteristics of the selected students were varied in ages, education, experience and expectation. The strength of this situation was a lot of knowledge sharing in class. The weak point was the less opportunity to select high qualified students.Lecturers: Regarding lectures, they were influence towards students. Most lecturers were lecturers of the program who had roles in teaching. So far they emphasized on giving academic advice with much care and attention. The structure adjustment of roles of graduate study to move class rooms from 4'n floor of the study building to graduate study building made class room far from lecturers' rooms. Therefore lately students and lecturers had less relationship. lt affected ways to take care of student and their learning. Student had less motivation. The lecturers of the program had good potential. They made academic work consistently. The result of their work could be used in class and support the quality of the program.Learning support: The support for study and teaching in the programs, there was a good cooperation between the graduate study and faculty of social work and social welfare. But there was still a need to be supported by related people on giving opportunity for internal and external lectures to produce academic work and support its publication. The program should get more supports such opportunity to invite special lecturers from outside to teach the student, public relation of the program, better environment (class room and lecturer room), develop and modernize teaching tools and media, service timeof the library and its work principle.Assessment on process such as the program administration and studying management, Learning assessment and examination: Regarding the program administration, it was found that the program administration was in good criteria except there was a lack in teaching plan of some subjects. There were several was of assessment on the student learning. The measurement and assessment was consensus with subject content and characteristics. There were several ways of evaluation. Student should join in the evaluation process. lt was found that appropriate classify of grades would support the student.Assessment on product: The best or highest capacity and characteristics of graduated student were on their human relation, responsibility, their ability to adjust oneself to colleagues, community and society, their perseverance and honesty. Their good characteristics or high capacity and characteristics were on administration, controlling others and teaching skill. The weak capacities and characteristics that should be developed were English and computer skills included the lack of ability to apply their knowledge into their practice included the integration of their leadership and emotional maturityRecommendation from program assessment 1. There should be the developed on names of degree and major subjectstructure and component of the program, subject names and its content,conditions on field work practice, producing thesis, study report and self study.2. Lecturers should get support on producing their academic work and its publication3. lnvite external lecturers to teach and to share ideas with graduate study executives4. To develop efficiency of public relation uniteS. To arrange class room appropriately, examine and prepare classroom better with good teaching medias and tools6. To develop library services7. To provide enough computer and qualified services to student8. To provide project on computer and English skill development to preparestudent to efficient study and to be ready to further education and to workg. There should be continuation of program assessment in order to use the result to develop the teaching, studying and for the next assessment.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1389
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thipaporn.pdf5.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.