Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1390
Title: | การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2545 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Other Titles: | The Evaluation of Science (Environmental Health) Curriculum : in Bachelor's Degree Program Academic Year 2002, Huachiew Chalermprakiet University |
Authors: | ยิ่งเจริญ คูสกุลรัตน์ ธีรวิทย์ ปูผ้า จิริสุดา สินธุศิริ Yingjarean Khusakulrat Teerawit Poopa Jirisuda Sinthusiri Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health |
Keywords: | อนามัยสิ่งแวดล้อม -- หลักสูตร Environmental health -- Curricula การประเมินหลักสูตร Curriculum evaluation อนามัยสิ่งแวดล้อม -- การศึกษาและการสอน Enviornmental health -- Study and teaching |
Issue Date: | 2007 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2545 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้แบบจำลองของซิปป์ (CIPP Model) ประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยป้อนเข้า ด้านกระบวนการผลิต และด้านผลผลิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยทำการเก็บตัวอย่างจากอาจารย์ประจำสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม นักศึกษาสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมชั้นปีที่ 4 บัณฑิตสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม และผู้ใช้บัณฑิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยค่าสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การประเมินหลักสูตรด้านบริบท ในส่วนของความชัดเจนของภาษาที่ใช้ความสอดคล้องกับความต้องการของสังคม การพัฒนาสติปัญญา ทักษะและเจตคติผู้เรียน ความสามารถนำไปปฏิบัติจริง และความเหมาะสมโครงสร้างหน่วยกิต ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 2) การประเมินหลักสูตรด้านปัจจัยป้อนเข้า ผลการประเมินปัจจัยป้อนเข้าด้านอาจารย์และด้านนักศึกษา พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก สำหรับผลการประเมินปัจจัยป้อนเข้าด้านปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ด้านจำนวนพอเพียง ด้านคุณภาพ ด้านความทันสมัย และด้านความสะดวกในการใช้บริการ ผลการประเมินรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) การประเมินหลักสูตรด้านกระบวนการผลิต ด้านการบริหารและการบริการหลักสูตร ผลการประเมินของอาจารย์อยู่ในระดับมาก ส่วนของนักศึกษาและบัณฑิต ผลการประเมินรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็นการเตรียมการสอนของอาจารย์ และเทคนิคและวิธีการสอนของอาจารย์ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของนักศึกษาและบัณฑิต ผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นกัน 4) การประเมินหลักสูตรด้านผลผลิต ด้านการประเมินความสามารถในการทำงานทั่วไปของบัณฑิต ผลการประเมินรวมอยู่ในระดับมาก ในส่วนของผู้บังคับบัญชาอยู่ในระดับมากเช่นกัน สำหรับผลการประเมินความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพของบัณฑิต ผลการประเมินรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยบัณฑิตประเมินอยู่ในระดับปานกลาง และผู้บังคับบัญชาอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะจากแบบสอบถาม 1) ด้านบริบทนักศึกษาและบัณฑิตมีความเห็นว่าเนื้อหาในหมวดวิชาต่างๆ มีความเหมาะสมอยู่แล้วแต่อยากให้ปรับลดหน่วยกิตที่ลงเรียนในหมวดวิชาพื้นฐาน ควรเน้นหมวดวิชาชีพมากขึ้น วิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพควรสอนให้สามารถนำไปใช้กับงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้ 2) ด้านปัจจัยป้อนเข้าควรมีการจัดหาดูงานให้กับนักศึกษา อุปกรณ์และเครื่องมือในการเรียนภาคปฏิบัติไม่เพียงพอและไม่ทันสมัย นักศึกษาไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยเป็นการเสียโอกาส ห้องสมุดควรมีวารสาร หนังสือ งานวิจัยที่เกี่ยงข้องกับวิชาชีพทางด้านสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการนักศึกษาไม่ทันสมัยและชำรุด 3) ด้านบริหารหลักสูตร ควรจัดให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพิ่มการสอนการทำงานเป็นกลุ่ม ปรับปรุงสภาพห้องเรียน มีสื่อการสอนที่ทันสมัย ปรับวุฒิการศึกษาเป็นวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุข) และให้มีวิชาเอก-โท ให้นักศึกษาเลือกเรียน 4) ด้านผลผลิต ผู้บังคับบัญชามีความเห็นว่า จุดเด่นของบัณฑิตมีสัมมาคารวะ ตั้งใจในการทำงาน มีความรับผิดชอบทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้ดี และมีความอดทน สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ สำหรับจุดด้อยของบัณฑิต ควรปรับปรุงการพูดในที่สาธารณะ เพิ่มเติมทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะการเข้าชุมชน |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1390 |
Appears in Collections: | Public and Environmental Health - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Yingcharoen.pdf | 5.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.