Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1406
Title: การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: The Evaluation of Master of Arts Program in Communicative Thai as a Second Language (Revised edition 2018)Faculty of Liberal Arts Bachelor’s Huachiew Chalermprakiet University.
Authors: พัชรินทร์ บูรณะกร
จันทร์สุดา ไชยประเสริฐ
อิมธิรา อ่อนคำ
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะศิลปศาสตร์
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Evaluation curriculum
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
Thai language -- Study and teaching (Higher)
ภาษาไทย -- หลักสูตร
Thai language -- Curricula
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หลักสูตรและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตร ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และผลลัพธ์ของหลักสูตร ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาปัจจุบันรุ่นปีการศึกษา 2563-2564 ผู้สำเร็จการศึกษา ผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร จำนวน 5 คน กลุ่มนักศึกษาปัจจุบันรุ่นปีการศึกษา 2563-2564 จำนวน 25 คน กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 11 คน กลุ่มผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 10 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แนวทางการวิเคราะห์หลักสูตรสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารหลักสูตร และ 3) แบบสอบถามนักศึกษาปัจจุบัน ผู้สำเร็จการศึกษา และผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา1) ผลการประเมินด้านบริบท การจัดกระบวนการเรียนการสอนในหลักสูตรตรงกับวัตถุประสงค์และปรัชญาของหลักสูตร นั่นคือ การผลิตมหาบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารจนสามารถนำความรู้ทางภาษาไทยไปบูรณาการใช้ร่วมกับศาสตร์อื่นได้จริง เนื่องด้วยหลักสูตรมีการศึกษาวิจัยด้านภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรมไทย/ไทย-จีน อันสามารถเอื้อต่อการพัฒนาทักษะทางภาษาไทยแก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมถึงโครงสร้างหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาษาไทยในสถานการณ์ต่าง ๆ และใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ สรุปได้ว่า วัตถุประสงค์ของหลักสูตรสอดคล้อง ครอบคลุมแนวคิดพื้นฐานของหลักสูตร และโครงสร้างของหลักสูตร 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยป้อนเข้า มหาบัณฑิตประเมินคุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถของอาจารย์ อยู่ในระดับมากที่สุด ประเมินคุณลักษณะด้านการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด และประเมินคุณลักษณะด้านความเป็นครู อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนนักศึกษาปัจจุบันประเมินคุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถของอาจารย์ อยู่ในระดับมากที่สุด ประเมินคุณลักษณะด้านการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด และประเมินคุณลักษณะด้านความเป็นครู อยู่ในระดับมากที่สุดด้านนักศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เข้าศึกษามีพื้นความรู้ความไทยในระดับปานกลางถึงดี บางคนสำเร็จการศึกษาสาขาภาษาไทย บางคนเรียนภาษาไทยด้วยตนเอง มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการฟังการพูดภาษาไทย แต่การอ่านการเขียนยังอยู่ในระดับปานกลางจึงต้องมอบหมายงานการอ่านตำราภาษาไทยมากขึ้นเพื่อให้ความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยดีขึ้น และพร้อมต่อการเขียนวิทยานิพนธ์แบบพรรณนาวิเคราะห์เป็นภาษาไทยได้ต่อไป อีกทั้งตอนจบการศึกษานักศึกษายังสามารถสอบวัดระดับการใช้ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติจากแบบทดสอบระดับชาติ เฉลี่ย 4 ทักษะ ระดับดีขึ้นไปได้อีกด้วยบัณฑิตและนักศึกษาชั้นปีที่ 1-2 พึงพอใจด้านความสะดวกในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อยู่ในระดับมาก ด้านการให้บริการของห้องสมุดและสื่อการศึกษา อยู่ในระดับมาก และด้านอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและห้องเรียน อยู่ในระดับมากที่สุดคณาจารย์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ว่ามีความสำคัญมาก อาจารย์ประจำหลักสูตรมีส่วนในการคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด เพื่อให้พอเพียงกับนักศึกษาในหลักสูตรและยังได้จัดห้องสมุดออนไลน์ ใน MS Team นักศึกษาสามารถดาวน์โหลดเอกสาร หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (PDF File) ไปใช้ได้ และปัจจุบันมหาวิทยาลัยปรับปรุงระบบอินเทอร์เน็ตดีขึ้นมีโปรแกรมสนับสนุนและรองรับการเรียนการสอน มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้นักศึกษาใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น3) ผลการประเมินด้านกระบวนการผลิต นักศึกษาปัจจุบันประเมินด้านการบริหารหลักสูตร การให้คำปรึกษาของอาจารย์ โดยมีภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดการบริหารหลักสูตร สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สองมีระบบและกลไกในการบริหารหลักสูตร คือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ทำหน้าที่วางแผน กำกับติดตามและตรวจสอบการจัดการเรียนการสอน มีคณะกรรมการวิชาการทำหน้าที่กำกับ ติดตามและประเมินผลการทำงานของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ (TQF) เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรายวิชาต่าง ๆ โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ เช่น การอภิปราย การสัมมนา และการศึกษาดูงาน นอกจากนี้นักศึกษาทุกคนยังต้องผ่านการฝึกงานอีกด้วยการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา ประเมินนักศึกษาหลายแบบ ทั้งการสอบการทดสอบ การมอบหมายงาน การให้นักศึกษาประเมินตนเองและประเมินการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม ตลอดจนกิจกรรมการจัดโครงการทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคมซึ่งตรงกับปณิธานของมหาวิทยาลัยการประเมินการสอนของอาจารย์ ใช้ระบบประเมินการสอนออนไลน์ซึ่งเป็นระบบประเมินผลของมหาวิทยาลัย เมื่อรับทราบผลการประเมินจากนักศึกษาอาจารย์ผู้สอนจะนำข้อเสนอและประเด็นที่ควรแก้ไขมาปรับปรุงวิธีการสอน สื่อการสอน นอกจากนี้ยังใช้วิธีประเมินเชิงคุณภาพในชั้นเรียน4) ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ของหลักสูตรการใช้เวลาศึกษาตามแผน มหาบัณฑิตใช้เวลาศึกษาและสำเร็จการศึกษาตามแผนทุกคน อยู่ในระดับดีมากระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2563 ที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม 3.00 ขึ้นไป ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา มหาบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ประเมินความสามารถของตนเองมีค่าเฉลี่ยรวม 4.65 อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้ใช้บัณฑิตประเมินคุณภาพของบัณฑิตจากสาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มีค่าเฉลี่ยรวม 4.83 อยู่ในระดับมากที่สุดประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มีงานทำแล้วจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการประเมินประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด บัณฑิตพอใจงานที่ทำจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับมากที่สุด และทำงานตรงสาขาที่เรียน คิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับมากที่สุด
The Evaluation of Master of Arts Program in Communicative Thai as a Second Language (Revised edition 2018) Faculty of Liberal Arts aimed to analyze the curriculum and to evaluate the effectiveness of the curriculum management in various aspects such as context, input, the process of curriculum and learning management and the outcome of the curriculum. Information sources are curriculum administrators, faculties, 2020-2021 students, graduates and their supervisors, and curriculum experts. The sampling groups are comprised of one curriculum administrator, 5 faculties, 25 students in 2017-2019 classes, 11 graduates and 10 job supervisors, and 3 curriculum experts. Methods of data collecting included group discussions, interviews and document analyses. Tools used in gathering information are (1) handbook for curriculum assessment (2) interviews with curriculum administrators and (3) questionnaires answered by students, graduates and job supervisors. 1) Assessment of Context The learning management process met the objectives and philosophy of the curriculum. To produce graduates who are competent in the use of Thai language and communicate effectively until the knowledge of the Thai language can be integrated with other sciences.Because the course has research studies on language, literature and Thai/Thai-Chinese culture. which can facilitate the development of Thai language skills for learners as well. Including the curriculum structure that focuses on producing graduates who can apply knowledge of the Thai language in various situations and use it in their careers effectively. It can be concluded that the objectives of the course are consistent. It covers the basic concepts of the course. and course structure.2) Assessment of the Inputs. The graduates have evaluated the knowledge and the teaching abilities of the faculties, the qualifications and academic positions of the faculties at best level. The students have evaluated the knowledge and the teaching abilities of the faculties, the qualifications and academic positions of the faculties at high level. The students found that Most of the students enrolled had a moderate to good background in Thai knowledge. Some of them graduated in Thai language. Some students learn Thai by themselves. Students are proficient in listening to spoken Thai. But reading and writing was still at a moderate level, therefore, more assignments were required to read Thai textbooks to improve their ability to read and write Thai and ready to continue writing a descriptive and analytical thesis in Thai Language. In addition, upon graduation, students can also take the Thai language proficiency test for foreigners from the national test, averaging 4 skills, and the level is better. The graduates and the students in the first and second years satisfy with the ease of using the internet network of the university, the Library Service and educational media and the building , environment and classroom at high level. Advisors comment that factors of promote learning are very important. The course teacher is involved in selecting books for the library. In order to suffice students in the course and also provides an online library in MS Team, students can download documents. Electronic books (Pdf File) to be used and the university has improved the Internet system, has a program to support and support teaching and learning. There is a central computer to promote self-learning. Make it more convenient for students to use. 3)Assessment of Graduate Producing Process In general, present students evaluate the curriculum management of the faculty positively and they feel very pleased with talking to their advisors.Curriculum Management The faculty’s curriculum management committee plans, follows up and monitors student learning process while the faculty’s academic committee supervises, follows up and evaluates the work of the curriculum management committee. Learning Activities The student learning activities conform to the five-aspect learning skill development of the national TQF standards. The students are encouraged to participate in learning process through creating supplementary activities in various courses such as discussion, seminar and study tour. All students must past job training also.Student Learning Assessment Student learning skills evaluation is carried out through examinations, tests, assignments, self evaluation and group-participation evaluation. The projects both inside and outside the university are for Learning to serve society as determination of university.Assessment of faculties’ teaching Students evaluate the teaching of faculties on-line through the assessment system of the university. Students’ assessment and proposals will be used to improve the teaching activities of the faculties. Other qualitative assessments are also done in class. 4) Assessment of Curriculum OutcomePlanned Graduation Time Graduate students take to graduate as planned and in very goodgrade.GPA Most students who graduated in academic year 2020 had GPA above 3.00 The result is the highest level.Graduate Qualifications The graduates evaluate themselves average 4.65 at high level. Their job supervisors evaluate the graduate’s average 4.83 at highest level. Efficiency of Graduates 100% of the graduates are employed. The effective rate is the highest. They are satisfied with their jobs at the highest level and get the jobs corresponding directly to their professional study areas at the highest level.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1406
Appears in Collections:Liberal Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharin Buranakorn.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.