Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1416
Title: การพัฒนากระบวนการจัดการรายกรณีเพื่อปรับพฤติกรรมเด็กในมูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
Other Titles: Development of Case Management Process for Behavioral Modification of Children at Children's Home Foundation Pattaya.
Authors: นุชนาฎ ยูฮันเงาะ
กฤษฎา สุขพัฒน์
Keywords: การปรับพฤติกรรม
Behavior modification
พฤติกรรมของเด็ก
Child behavior
การปรับตัวทางสังคมในเด็ก
Social adjustment in children
เด็ก -- การปรับพฤติกรรม
Children -- Behavior modification
การจัดการรายกรณี
Case management
มูลนิธิสงเคราะห์เด็กพัทยา
Thailand. Children's Home Foundation Pattaya
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการรายกรณี เพื่อปรับพฤติกรรมเด็กในมูลนิธิสงเคราะห์เด็กพัทยา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ทีมสหวิชาชีพภายใน คุณครูผู้ปฏิบัติงานดูแลเด็กของมูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา และเด็กที่มีความพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ จำนวน 3 ราย ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนากระบวนการจัดการรายกรณีเพื่อปรับพฤติกรรมเด็กของมูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา ประกอบด้วย 1) การถอดบทเรียนปัญหาความต้องการและความท้าทายในการทำงานกับเด็กในแต่ละช่วงวัย 2) การรวิเคราะห์และวางแผนการพัฒนาโดยใช้กระบวนการจัดการรายกรณีเพื่อปรับพฤติกรรมเด็กของมูลนิธิฯ 3) การคัดเลือกผู้จัดการรายกรณีจากคุณครูผู้ปฏิบัติงาน 3) การดำเนินการโดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการรายกรณี 4) นำองค์ความรู้การจัดการรายกรณีลงสู่การปฏิบัติ 5) การสะท้อนผลการปฏิบัติงานของผู้จัดการรายกรณีในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของเด็ก ผลการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การนำ แนวคิดการจัดการรายกรณีมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับพฤติกรรมเด็กในมูลนิธิฯ ยังไม่บรรลุผล เนื่องจาก 1) ด้านการจัดอบรมการจัดการรายกรณีพบว่า การอบรมในระยะเวลา 2 วันไม่เพียงพอต่อการทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจความพร่องด้านพฤติกรรม อารมณ์ของเด็ก และการจัดการรายกรณีเพื่อปรับพฤติกรรมเด็กเหล่านี้ได้อย่างลึกซึ้ง และเมื่อนำสู่การทดลองปฏิบัติ ซึ่งใช้ระยะเวลาสั้น ๆ 2 เดือน จึงไม่เกิดผลลัพธ์ต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กได้อย่างยั่งยืน 2) ด้านบุคลากร การคัดเลือกคุณครูเป็นผู้จัดการรายกรณีเป็นการเพิ่มภาระงาน เนื่องจากเด็กมีความซับซ้อนของปัญหาและความต้องการ มีความจำเป็นต้องใช้มืออาชีพ 3) ด้านระบบการให้บริการ ผู้จัดการรายกรณียังไม่สามารถนำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP)มาดำเนินการเพื่อวางแผนช่วยเหลือเด็กในระยะยาวร่วมกับทีมสหวิชาชีพทั้งภายใน และภายนอกได้อย่างเป็นระบบและเหมาะสม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มูลนิธิฯ ควรมีนโยบายรับตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานมืออาชีพเพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาศักยภาพและช่วยเหลือเด็กที่มีความพร่องทางพฤติกรรม และอารมณ์ หรือส่งเสริมให้บุคลากรรับการอบรมหลักสูตรผู้จัดการรายกรณีด้านเด็กโดยเฉพาะ ส่วนข้อเสนอแนะ เชิงปฏิบัติการ คุณครูควรใช้แผนรายบุคคลกับเด็กทุกคนในมูลนิธิฯ แต่หากพบกรณีเด็กที่มีความยุ่งยากซับซ้อน สามารถส่งต่อไปยังผู้จัดการรายกรณีมืออาชีพขององค์กรได้ และทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องผู้จัดการรายกรณีมืออาชีพสามารถทำงานเชิงลึกร่วมกับทีมสหวิชาชีพภายนอก เพื่อคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ์ให้แก่เด็กได้รับบริการที่ตรงกับปัญหาและความต้องการเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างยั่งยืน
The purpose of this research was to develop a case management process to adjust children's behavior in the Pattaya Orphanage as action research. Population groups include executives, multidisciplinary teams within teachers, childcare workers of the Pattaya Orphanage, and 3 children with behavioral and emotional disabilities. The development of case management process for child behavior adjustment of the Pattaya Orphanage consisted of 1) Lesson learned on the problems, needs and challenges of working with children in each age range 2) Analysis and development planning using the case management process to adjust child behavior of the Foundation 3) Selection of case managers from the teachers 3) Implementation by organizing case management workshops 4) Putting case management knowledge into practice 5) Reflecting on the performance of case managers in solving child behavior problems. The results showed that the application of the case management concept to change children's behavior in the Foundation was not yet successful due to 1) the case management training was found that the 2-day training period was insufficient for the participants to have a deep understanding of the deficits in children's emotional behavior and case management to adjust these children's behavior, and when leading to a short 2-month practice trial, it did not result in sustainable change in children's behavior 2) In terms of personnel, the selection of teachers as manager son a case-by-case basis increases the workload. Because children have complex problems and needs, professionals are required 3) The case manager service system is unable to implement the Individual Development Plan (IDP) to plan for long-term child support in collaboration with multidisciplinary teams within and outside the country. systematically and appropriately. Policy recommendations: The Foundation should have a policy to recruit professional practitioners to perform their duties in developing and helping children with behavioral and emotional disabilities or encouraging personnel to receive training in child case management courses specifically, action Suggestions: Teachers should use individual plans for every child in the foundation. However, if a child's case is complicated, they can be referred to a professional case manager of the organization and work together continuously. Professional case managers can work in-depth with an external multidisciplinary team to protect children's rights to receive services that meet the problems and needs for sustainable behavior change.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ, 2566
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1416
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kritsada Sukkaphat.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.