Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1461
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้สถานพยาบาลของประชากรในเขตจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Factors Affecting Consumers in Choosing a Medical Care in Samutprakarn Province
Authors: พวงชมพู โจนส์
Puangchompoo Jones
นภสร เกิดปัญญา
Naphasorn Kirdpunya
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: โรงพยาบาล -- ไทย -- สมุทรปราการ
Hospitals -- Thailand -- Samut Prakarn.
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล.
Hospital nursing services
Issue Date: 2005
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้สถานพยาบาล ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างของประชากรในเขตจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อผลที่ได้จากการวิเคราะห์ สามารถนำไปปรับปรุงงานด้านบริการในสถานพยาบาล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจจากการสุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้เครื่องมือคือ แบบสอบถามและนำแบบสอบถามที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Science) for Window สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ ซึ่งเป็นตัวแปรอิสระ กับปัจจัยซึ่งเป็นตัวแปรตามโดยใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติ T-Test และ F-Test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 20-40 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-30,000 บาทและสมรสแล้ว เลือกสถานพยาบาลที่ใช้เพราะเดินทางผ่านประจำ ส่วนใหญ่ใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชน อัตราเฉลี่ยการเข้าใช้บริการในสถานพยาบาล 5-10 ครั้งต่อปี สำหรับปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญอันดับ 1 คือ ปัจจัยที่เป็นสวัสดิการที่ได้รับจากนายจ้าง อันดับรองลงมามี 4 ปัจจัย คือ ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ค่าใช้จ่ายที่จ่ายต่อครั้ง มีส่วนลดและจัดโปรแกรมพิเศษ ความสะอาดของสถานพยาบาล และปัจจัยที่มีความสำคัญ ปานกลางมี 10 ปัจจัย คือ ความหลากหลาย และเชี่ยวชาญเฉพาะโรค ความชัดเจนของป้ายต่าง ๆ ความชัดเจนของเจ้าหน้าที่ฯ การประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่าง ๆ ความทันสมัยของเครื่องมือและอุปกรณ์ ระยะเวลาที่รอคอย ระบบคุณภาพมาตรฐานสากล และชื่อเสียงของสถานพยาบาล ส่วนปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญน้อยที่สุด คือ สวัสดิการของภาครัฐ (30 บาท รักษาทุกโรค) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ด้านเพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเรื่องผลการรักษาและความชัดเจนในการวินิจฉัยโรค ปัจจัยเรื่องการประชาสัมพันธ์ต่างๆ ปัจจัยเรื่องความทันสมัยของเครื่องมือ ปัจจัยเรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายต่อครั้งและปัจจัยเรื่องระยะเวลาที่รอและจะมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทุกตัวที่เหลือ อายุไม่มีความสัมพันธ์กับ ปัจจัยเรื่อง ความชัดเจนของป้ายต่าง ๆ ปัจจัยเรื่องความทันสมัยของเครื่องมืออุปกรณ์ และปัจจัยเรื่องสวัสดิการที่ได้รับจากนายจ้าง และจะมีความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นที่เหลือ อาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์ กับปัจจัยเรื่องการประชาสัมพันธ์ ในเรื่องต่าง ๆ แต่จะมีความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ ที่เหลือรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเรื่องระบบคุณภาพมาตรฐาน และปัจจัยเรื่องสวัสดิการที่ได้รับจากนายจ้าง แต่จะมีความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นที่เหลือ สถานภาพสมรส ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยสวัสดิการที่ได้รับจากนายจ้าง และมีความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นที่เหลือ ส่วนการศึกษา ของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์ กับปัจจัยทั้ง 15 ปัจจัยคือความหลากหลายและเชี่ยวชาญเฉพาะโรค ความสะดวกในการเดินทาง ความชัดเจนของป้ายต่าง ๆ ผลการตรวจรักษาหรือการวินิจฉัยโรค ความชัดเจนของเจ้าหน้าที่ในการให้คำอธิบาย การประชาสัมพันธ์ ความทันสมัยของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ค่าใช้จ่ายต่อครั้ง ส่วนลดและโปรแกรมพิเศษต่าง ๆ ความสะอาดของสถานพยาบาล ระยะเวลาที่รอเพื่อรับการรักษา ระบบคุณภาพมาตรฐานสากล ชื่อเสียงของโรงพยาบาล เป็นสวัสดิการจากนายจ้าง และเป็นสวัสดิการของภาครัฐ (30 บาทรักษาทุกโรค) จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าประชากรที่มีการศึกษาจะให้ความสนใจกับปัจจัยหลาย ๆ ด้านของสถานพยาบาล และจากผลการวิจัยทำให้ทราบว่าปัจจัยใดที่ควรให้ความสนใจ ในการปรับปรุงเป็นพิเศษและสวัสดิการที่ได้จากภาครัฐ(30 บาทรักษาทุกโรค)ยังได้รับความสนใจน้อยจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้น หน่ยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องควรมีการพัฒนาปรับปรุง และให้ความสนใจกับความต้องการของกลุ่มประชากรซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนได้ส่วนหนึ่งเพื่อการมีสวัสดิการทางสังคมที่ดีในอนาคตของประชาชน
Description: การศึกษาด้วยตนเอง (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1461
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppasorn-Kerdpunya.pdf
  Restricted Access
1.69 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.