Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1463
Title: ทัศนคติของผู้ใช้บริการรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: People's Attitudes toward Using Bus Service of Bangkok Mass Transit Authority
Authors: รุ่งฤดี รัตนวิไล
ศิริวรรณ สุวิชาชนันทร์
Keywords: องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
Bangkok Mass Transit Authorit
รถประจำทาง
Buses
ความพอใจของผู้ใช้บริการ
User satisfaction
Issue Date: 2005
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาด้วยตนเอง เรื่อง ทัศนคติ ของผู้ใช้บริการรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพ เขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ใช้บริการรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (2) ศึกษารูปแบบการบริการที่ผู้โดยสารต้องการให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพปรับปรุง การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม โดยทำการศึกษาตัวอย่าง จำนวน 400 คน จำแนกเป็น เพศชาย 141 คน คิดเป็นร้อยละ 35.30 และเพศหญิง 259 คน คิดเป็นร้อยละ 64.80 อายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 52.50 ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 50.80 เป็นพนักงานบริษัทเอกชนคิดเป็นร้อยละ 27.80 มีรายได้อยู่ระหว่าง 5,000-10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 40.50 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ัโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS For Window version 11.0 เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างกับทัศนคติต่อการใช้บริการรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยการทดสอบหาค่าสถิติด้วยวิธี Chi-square Test และผลการศึกษาที่ได้มีดังนี้ ผู้ใช้บริการ เลือกโดยสารรถประจำทาง ขสมก. เพราะ ประหยัดเงิน สะดวก มีรถหลายสายให้เลือกใช้บริการ ปลอดภัย สำหรับบางเส้นทางเดินรถมีรถโดยสารบริการตลอดคืน และรถโดยสารของ ขสมก. ที่นิยมใช้มากที่สุด คือ รถธรรมดา (ครีม-แดง) และรถปรับอากาศยูโร (เหลือง-ส้ม) ด้านเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนรถโดยสารและเป็นอันตรายต่อตัวเอง รวมถึงทรัพย์สินของผู้ใช้บริการพบว่าจากสำรวจผู้ใช้บริการจำนวน 400 คน มีเพียง 66 คน เท่านั้นไม่เคยประสบเหตุการณ์ใด คิดเป็นร้อยละ 16.50 ส่วนอีก 334 คนหรือร้อยละ 83.50 เป็นบุคคลที่เคยประสบเหตุการณ์บนรถโดยสารมาแล้วทั้งสิ้น ด้านกิริยาของพนักงานเก็บตั๋ว พบว่า พนักงานพูดจาไม่สุภาพ เลือกตอบมาอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 45.50 รวมกระทั่งถึงการทะเลาะกันเอง ด่าผู้โดยสาร แต่งกายไม่เรียบร้อย นั่งหลับ เก็บค่าโดยสารไม่ถูกต้อง ไม่ให้ตั๋ว บางครั้งก็ให้ตั๋วเก่า ส่วนพนักงานขับรถ ขับรถประมาทแซงไป แซงมา ขับรถเร็ว ไม่จอดรับผู้โดยสาร จอดรถไม่ตรงป้าย พูดจาไม่สุภาพ ด้านบริการสอบถามข้อมูลผ่าน 184 และจุดบริการต่างๆ ที่มีไว้บริการ จากการสำรวจ พบว่า ผู้โดยสารส่วนใหญ่จะสอบถามเกี่ยวกับ เส้นทางเดินรถ เบอร์รถที่จะโดยสาร ลืมสัมภาระต่างๆ บนรถโดยสารเป็นต้น และปัญหาที่พบในการใช้บริการสอบถามข้อมูลผ่านหมายเลข 184 พบว่าโทรติดยาก ด้านสิ่งจูงใจให้ใช้บริการของ ขสมก. จากผลการสำรวจพบว่า เลือกใช้บริการเพราะความสะดวก มีรถให้เลือกหลายประเภท และประหยัดเงิน ด้านบริการที่ควรปรับปรุง จากการสำรวจ พบว่า ขสมก. ควรปรับปรุงด้านปัญหา ควันรถ ระบบการเปิด-ปิดประตู อากาศถ่ายเทภายในรถ ความปลอดภัย จอดรถให้สนิทก่อนเปิดประตู และปิดประตูก่อนออกรถ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ของผู้ที่มาใช้บริการส่วนใหญ่มีสิ่งจูงใจด้าน ราคา ความประทับใจในบริการ ความสะดวก ความปลอดภัย ความสะอาด ความรวดเร็ว ประหยัดเงิน มีรถให้เลือกหลายประเภท มีที่ให้นั่งจำนวนมาก รถใหม่ มีตั๋ววัน/ตั๋วเดือนไม่จอดรถนอกป้าย อากาศบนรถถ่ายเทสะดวก แอร์บนรถเย็น และประตูเปิด-ปิดตลอดการเดินทาง จากการทดสอบด้วยค่า Chi-square test ผลการทดสอบได้ค่า Sig. มากกว่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่กำหนดไว้ คือ 0.05 แสดงว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และสิ่งที่ควรปรับปรุงด้าน ราคา ความปลอดภัย ความสะอาด จอดรถสนิทก่อนเปิดประตู ปิดประตูก่อนออกจากป้าย อากาศถ่ายเทสะดวกในรถ สภาพรถ ประตูเปิด-ปิดอัตโนมัติและควันรถ จากการทดสอบด้วยค่า Chi-square test ผลการทดสอบได้ค่า Sig. มากกว่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่กำหนดไว้คือ 0.05 แสดงว่ามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
Description: การศึกษาด้วยตนเอง (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1463
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriwan-Suwichanunt.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.