Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1464
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุ่งฤดี รัตนวิไล-
dc.contributor.advisorRungrudee Rattanawilai-
dc.contributor.authorกิตติยาภรณ์ ขำไขศรี-
dc.contributor.authorKittiyaporn Khumkhaisri-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2023-12-07T13:40:27Z-
dc.date.available2023-12-07T13:40:27Z-
dc.date.issued2005-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1464-
dc.descriptionการศึกษาด้วยตนเอง (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง ปัญหาการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ทราบถึงปัญหาที่เกษตรกรต้องประสบเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และทราบถึงปัญหาด้านการตลาดของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้ตัวอย่างจำนวน 283 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ด้วย โปรแกรม SPSS/PC+ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากการศึกษา พบว่าเกษตรกรในตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สถานภาพสมรส มีอายุระหว่าง 51-60 ปี รายได้เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 30,001-60,000 บาทต่อปี การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ทำการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลักอาศัยแรงงานในท้องถิ่น และปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก การถือครองที่ดินส่วนใหญ่ เช่าผู้อื่น มีสัดส่วนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1-2 ครั้งต่อปี ในปีพ.ศ.2546 เกษตรกรมีผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ระหว่าง 11-20 ตันต่อปี คิดเป็น 201-300 กิโลกรัมต่อไร่ และขายได้ราคา 4.1-4.5 บาทต่อกิโลกรัม ปุ๋ยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยไข่มุก ซื้อจากร้านค้าทั่วไปในตลาด โดยมีต้นทุนอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาทต่อปี เกษตรกรซื้อเมล็ดพันธุ์มาจากตลาด โดยมีต้นทุนอยู่ในช่วง 1,001-3,000 บาทต่อปี ค่าจ้างทางด้านการหยอดเมล็ดและใส่ปุ๋ยค่าจ้างแรงงานรายวันอยู่ที่ 130 บาทต่อคนต่อวัน ใช้แรงงาน 80 คนต่อไร่ ต้นทุนอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาทต่อปี ค่าจ้างในการหักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประมาณ 200 บาทต่อคนต่อวัน ใช้แรงงานมากกว่า 80 คน ต้นทุนในการหัก ข้าวโพดอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาทต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่จะนำผลผลิตไปจำหน่ายเองที่ตลาด เพราะเป็นแหล่งที่ให้ราคาที่ดีที่สุดจากการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาเรื่อง เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยและค่าเช่าพื้นที่มีราคาแพง ขาดแรงงาน ผลผลิตแต่ละปีผลิตได้น้อย เนื่องจากเกิดภัยธรรมชาติ เช่นฝนทิ้งช่วง หรือฝนแล้งทางด้านการตลาด ผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดราคาในการรับซื้อโดยใช้เกณฑ์การวัดความชื้นของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นตัวกำหนดราคา แต่ผู้ขายไม่สามารถกำหนดราคาได้ เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องเกณฑ์การวัดความชื้นของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และหากนำไปขายแล้วไม่พอใจกับราคาที่ผู้รับซื้อกำหนด ผู้ขายต้องยอมรับราคาที่ได้รับ เนื่องจากหากขนกลับมาจะไม่คุ้มกับค่าขนส่งth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขข การตลาดth
dc.subjectMaize crops -- Marketingth
dc.subjectเกษตรกร -- ไทย -- นครราชสีมาth
dc.subjectFarmers -- Thailand -- Nakhon Ratchasima.th
dc.titleปัญหาด้านการตลาดของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาth
dc.title.alternativeMarketing Problems of Maize Crops at Tumbol Moosee, Amphoe Pak Chong, Changwat Nakhon Ratchasimath
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจth
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kiitiyaporn-Kamkaisri.pdf
  Restricted Access
2.14 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.