Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1477
Title: การศึกษาลักษณะทางจริยธรรมของพนักงานบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด
Other Titles: Ethical Characteristics of Workers in Mitsubishi Electric Consumer Products (Thailand)
Authors: ณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
Nuttsa Sanitvong Na Ayuttaya
วิริญา มาลานิยม
Wiriya Malaniyom
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: จริยธรรมในการทำงาน
Work ethic
ความผูกพันต่อองค์การ
Employee loyalty
บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด -- พนักงาน
Mitsubishi Electric Consumer Products (Thailand) -- Employees
Issue Date: 2005
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาด้วยตนเอง เรื่อง การศึกษาลักษณะทางจริยธรรมของพนักงานบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางจริยธรรมของพนักงาน บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูมเมอร์โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ผู้วิจัยทำงานอยู่ในปัจจุบัน ทั้งพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราว ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะความแตกต่างทางจริยธรรมระหว่างพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราว ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะทางจิตและความผูกพันต่อองค์กรกับลักษณะทางจริยธรรมของพนักงาน รวมทั้งศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านลักษณะทางจิตและความผูกพันต่อองค์กรต่อลักษณะทางจริยธรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 315 คน เป็นพนักงานประจำ 180 คน และพนักงานชั่วคราว 135 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวพ์เตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 26-30 ปี สถานภาพสมรส โสด มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และมีรายได้ 10,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพนักงานประจำ มีประสบการณ์ทำงาน 10 ปีขึ้นไป ผลการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะความแตกต่างของลักษณะทางจิต ความผูกพันต่อองค์กรและลักษณะทางจริยธรรม พบว่าลักษณะทางจิตซึ่งได้แก่ ทัศนคติต่อการทำงาน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทั้งพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราวไม่แตกต่างกัน ความผูกพันต่อองค์กรพบว่า พนักงานประจำมีความผูกพันต่อองค์กรสูงกว่าพนักงานชั่วคราว ส่วนลักษณะทางจริยธรรมซึ่ง ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความขยันหมั่นเพียร และความอดทน ผลการศึกษาพบว่าทั้งพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราวมีความรับผิดชอบและความขยันหมั่นเพียรไม่แตกต่างกัน แต่ด้านความอดทนพบว่าพนักงานชั่วคราวมีความอดทนสูงกว่าพนักงานประจำ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางจิต ความผูกพันต่อองค์กรกับลักษณะทาง จริยธรรม พบว่าลักษณะทางจิตทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ทัศนคติต่อการทำงานและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความผูกพันต่อองค์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับลักษณะทางจริยธรรมทุกลักษณะ ผลการศึกษาปัจจัยด้านลักษณะทางจิตและความผูกพันต่อองค์กร ที่มีอิทธิพลต่อลักษณะทางจริยธรรม พบว่าทัศนคติต่อการทำงานและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบ ความขยันหมั่นเพียร และความอดทน ส่วนความผูกพันต่อองค์กรมีอิทธิพลต่อความขยันหมั่นเพียรและความอดทน กล่าวโดยสรุป คือ ลักษณะทางจิตและความผูกพันต่อองค์กรมีทั้งความสัมพันธ์ และมี อิทธิพลต่อลักษณะทางจริยธรรมของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยลักษณะทางจริยธรรมด้านความอดทนเป็นลักษณะเดียวที่พนักงานประจำ และพนักงานชั่วคราวมีไม่เท่ากัน ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้เข้าใจว่าลักษณะทางจริยธรรมไม่ได้เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้พนักงานชั่วคราวขาดงานหรือมีอัตราการเข้า-ออกสูง น่าจะเป็นเพราะสาเหตุอื่น เช่น ความต้องการความ มั่นคงในการทำงาน ความต้องการมีรายได้ที่แน่นอน เป็นต้น ซึ่งผู้วิจัยเสนอแนวทางการบริหารบุคคล เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร คือการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน สร้างแรงจูงใจให้เกิดกับพนักงานด้วยการสร้างความมั่นใจให้กับพนักงาน ได้แก่ การให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในระดับต่าง ๆ เปิดโอกาสให้พนักงานชั่วคราวได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทเพื่อสร้างความรู้สึกผูกพันต่อองค์กร การฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การสร้างความเสมอภาคให้กับพนักงาน เป็นต้น ผู้ศึกษาคาดว่าผลการวิจัยในครั้งนี้จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงและ พัฒนา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในองค์กรต่อไป
Description: การศึกษาด้วยตนเอง (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมเกียรติ, 2548
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1477
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiriya-Malaniyom.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.