Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1480
Title: บทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามความคาดหวังของผู้บริหาร
Other Titles: The Roles of Human Resources Development on the Expectation of Executive
Authors: ชรินพร งามกมล
Charinporn Gjamkamon
สันติทัต ไพใหม่
Santitad Paimai
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
Human resources development
การบริหารงานบุคคล
Personnel management
นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
Human resource officer
Issue Date: 2009
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาอิสระเรื่อง บทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามความคาดหวังของผู้บริหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อให้นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เข้าใจบทบาทการปฏิบัติงานให้ตรงตามความคาดหวังของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาบทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บทบาทใดที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรและบุคลากร 3) เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มบทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับทิศทางและวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงใช้เป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติงานทั้งนี้ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 ตัวอย่าง โดยการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In–Depth Interview) ข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล อาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Sampling)โดยยึดหลักเกณฑ์การพิจารณาและคัดเลือกของสถาบันบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเครื่องมือผู้ศึกษาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องบทบาทนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการเทียบเคียงข้อมูลแล้วนำมาจัดเป็นหมวดหมู่ในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งนี้และนำเสนอเป็นแบบพรรณนาดังนั้น จึงสามารถสรุปผลการศึกษาได้ว่า บทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามความคาดหวังของผู้บริหารจากผลการศึกษา พบว่า ความคาดหวังของผู้บริหาร ระดับมาก ในระดับความถี่ความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์ที่สอดคล้องกัน จำนวนความเห็น 5-6 ครั้ง ได้แก่ การเป็นผู้มีอำนาจในการชักจูง (Influencer) จะต้องเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อความคิด การริเริ่มในการเปลี่ยนแปลง และเป็นผู้ที่มีคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงเหมาะสมในการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของสมาชิกแต่ละคนในองค์การ และอีกบทบาทสำคัญหนึ่งคือ การเป็นคู่คิดทางกลยุทธ์ (Strategic Partner) จะต้องเป็นผู้ที่เข้าถึงปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันขององค์การ รวมทั้งจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในกานสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับทราบถึงผลประโยชน์ของกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้จัดเตรียมนวัตกรรมต่าง ๆ และบทบาทสุดท้ายคือ การเป็นนักกลยุทธ์ (Strategist) จะต้องเป็นผู้ที่เข้าถึงความต้องการขององค์การโดยการพัฒนาความคิดริเริ่มเกี่ยวกับธุรกิจขององค์การ รวมทั้งต้องประเมินผลของผลการปฏิบัติงานที่เพิ่มขึ้นด้วยบทบาทที่สำคัญของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อการพัฒนาองค์กรและบุคลากรผลการศึกษาพบว่า บทบาทที่สำคัญของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อการพัฒนาองค์กรและบุคลากร ระดับมากในระดับความถี่ความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวนความเห็น 6 ครั้ง คือ การเป็นผู้นำที่คอยช่วยเหลือ (Scout) ผู้บริหารที่ให้สัมภาษณ์ได้กล่าวในทำนองเดียวกันว่านักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์กรและบุคลากรโดยบทบาทที่จะสนับสนุนการทำงานของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น คือ การเป็นผู้นำที่คอยช่วยเหลือ (Scout) ซึ่งก็หมายถึง การที่นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นผู้ที่นำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาเพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากร โดยสรุป คือ ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อคอยช่วยเหลือสมาชิกขององค์การในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน กำหนดความสำคัญของกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการนำสิ่งเหล่านี้ไปสู่แผนการปฏิบัติงานด้วย ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าบทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กรและบุคลากรสำหรับแนวโน้มทิศทางและการเปลี่ยนแปลงในบทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคตนั้นคือความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน คือ การเปลี่ยนแปลงจากเดิมนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) เป็นเพียงแค่นักจัดฝึกอบรม (Training) เท่านั้นแต่นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีบทบาทในการเข้ามามีส่วนในการเปลี่ยนแปลง การวางกลยุทธ์ และบริหารจัดการองค์กรรวมไปถึงบุคลากรมากขึ้นการบูรณาการเพื่อนำไปสู่หนทางแห่งการพัฒนาอย่างต่อเนื่องแนวโน้มทิศทางการเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อาจจะเป็นหน่วยงานหนึ่งที่แยกตัวออกมาจาก ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นในส่วนของ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลหรือฝ่ายวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นั่นหมายความว่า นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรมากขึ้นผลการศึกษา มีข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหารที่ให้สัมภาษณ์ได้เสนอแนวทางเพื่อให้นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใช้เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนแนวคิดและบทบาทเพื่อการเป็นนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ผู้ศึกษารวบรวมสรุปความคิดเห็นว่านักพัฒนาทรัพยกรมนุษย์ต้องกลับมาทบทวนในบทบาทของตัวเองที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน ตรงตามความคาดหวังของผู้บริหารข้างต้นหรือไม่ การเป็นเพียงแค่บทบาทนักจัดฝึกอบรมในปัจจุบันคงไม่เพียงพอสำหรับการจะประสบความสำเร็จในการเป็นนักพัฒนาทรัพยากรมืออาชีพ และสิ่งสำคัญคงจะไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้บริหารที่มีต่อนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ทำงานเชิงรุกมากขึ้น ศึกษาเรียนรู้เครื่องมือในการบริหารงานเพิ่มขึ้น เพราะในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปเครื่องมือต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย รู้จักประยุกต์ใช้ทฤษฎีที่เรียนมานำมาปฏิบัติแบบบูรณาการให้เหมาะสมกับองค์กรเพื่อให้เกิดการพัฒนา เพราะ HRD ปัจจุบัน รู้เยอะ รู้มาก แต่ไม่ทำ หรือทำไม่ได้ HRD ต้องทบทวนหน้าที่บทบาทของตัวเองว่ามีความเข้าใจในบทบาทนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากแค่ไหนและได้ปฏิบัติครบถ้วนทุกกระบวนการหรือยัง การปรับเปลี่ยนผู้ศึกษาคิดว่าไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทั้งองค์กร แต่เพียงแค่การริเริ่มทำการปรับเปลี่ยนจากหน่วยงานย่อย ๆ ในองค์กรแล้วค่อยขยับไปสู่ทั่วองค์กร ดังนั้น HRD จะต้องคิดเชิงบวกกับองค์กรก่อนและกล้าที่จะนำเสนอความคิดและวิธีการใหม่ ๆ ที่จะนำการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อองค์กร ทำให้นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริหารและสามารถพัฒนาองค์กรรวมถึงบุคลากรเพื่อสร้างผลผลิตให้กับองค์กรอย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น จากข้อเสนอแนะดังกล่าวมาข้างต้นจึงถือเป็นแนวทางที่สำคัญในการที่จะทำให้นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ทบทวนบทบาทของตัวเองและเริ่มปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานให้เป็นไปตามความคาดหวังของผู้บริหาร
Description: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1480
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suntitat-Paimai.pdf
  Restricted Access
1.18 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.