Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1514
Title: การศึกษาทัศนคติของประชากรผู้สูบบุหรี่ที่มีต่อผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทน ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Study of Smoker's Attitudes toward the Nicotine Substitution Product in Bangkok
Authors: พวงชมพู โจนส์
Puangchompoo Jones
อรุณี ผลบุญ
Arunee Phonbun
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: การเลิกบุหรี่
Smoking cessation
การติดนิโคติน
Nicotine addiction
พฤติกรรมผู้บริโภค
Consumer behavior
Issue Date: 2007
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: บุหรี่ เป็นภัยต่อชีวิตของมนุษย์ ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยหลายรายเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากพิษร้ายของบุหรี่ ทำให้หลายหน่วยงานพยายามคิดค้นผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทนออกมาจำหน่าย ส่วนในประเทศไทยล่าสุดได้คิดค้นแผ่นฟิล์มนิโคติน เพื่อช่วยให้ผู้สูบบุหรี่มีทางเลือกมากขึ้นในการหาวิธีสำหรับการเลิกสูบบุหรี่ ผลงานวิจัยแผ่นฟิล์มนิโคตินของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ว่า ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาแผ่นฟิล์มนิโคติน ที่มีประสิทธิภาพในการปลดปล่อยสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกายได้ดี แต่ งานวิจัยดังกล่าวยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของผลิตภัณฑ์ แต่ด้วยต้นทุนการผลิตเพียงแผ่นละ1 บาท ทำให้สามารถนำไปพัฒนาได้ ในเชิงพาณิชย์ จากการเห็นโอกาสในเชิงพาณิชย์ของแผ่นฟิล์มนิโคตินนี้เอง ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาทัศนคติที่มีต่อผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทน ของผู้สูบบุหรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมุ่งศึกษาเฉพาะเขตมีนบุรีและเขตลาดกระบัง เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้ในการพัฒนารูปแบบกลยุทธ์ทางการตลาด โดยการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทน และศึกษาปัจจัยทางการตลาดของแผ่นฟิล์มนิโคติน ในความต้องการของผู้สูบบุหรี่ จากการวิเคราะห์ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทน พบว่า กลุ่มตัวอย่างของผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่มีทัศนคติเห็นด้วยกับ ผลิตภัณฑ์ที่ดีควรหาซื้อได้ง่าย มาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาอันดับสอง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ดีควรมีราคาไม่แพง อันดับสาม ควรมีการแจกผลิตภัณฑ์ทดลองใช้ นอกจากนี้มีทัศนคติเห็นด้วยกับ ผลิตภัณฑ์สามารถบรรเทาอาการอยากสูบบุหรี่มาเป็นอันดับที่สี่ ส่วนอันดับห้า ผลิตภัณฑ์สามารถช่วยเลิกสูบบุหรี่ได้ อันดับหก ควรมีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ส่วนชื่อเสียงของผู้ผลิตเป็นสิ่งสำคัญนั่นอยู่อันดับเจ็ด ในการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุ อาชีพ ระดับ การศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และข้อมูลพฤติกรรมสูบบุหรี่ ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ ต่อผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทนทั้งสิ้น และผลจากการวิจัยนั้น ทำให้ได้ข้อมูล เพื่อใช้สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับทัศนคติของผู้สูบบุหรี่ เพราะโดยทั่วไป การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับทัศนคติทำได้ง่ายกว่าการเปลี่ยนแปลงทัศนคติจากผลการวิเคราะห์ปัจจัยทางการตลาดของแผ่นฟิล์มนิโคตินในความต้องการของผู้สูบบุหรี่ พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลต่อความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง โดยส่วนใหญ่ มีความต้องการปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ มาเป็นอันดับหนึ่ง เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ต้องไม่เกิดผลข้างเคียง มีการรับรองทางการแพทย์และกระทรวงสาธารณสุข ผลิตภัณฑ์สามารถช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ได้ วิธีการใช้ไม่ยุ่งยาก ชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จัก อันดับ 2 คือ ปัจจัยด้านช่องทางจัดจำหน่าย ได้แก่ หาซื้อได้ง่าย อันดับ 3 คือ ปัจจัยทางด้านราคา ราคาที่เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพ มีป้ายบอกราคาชัดเจน และอันดับ 4 คือ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การส่งเสริมการขายโดยแจกสินค้าทดลองใช้ มีแพทย์ เภสัชกร แนะนำการใช้ โดยการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กัน และมีอิทธิผลต่อความต้องการในผลิตภัณฑ์ ซึ่งจากการศึกษาปัจจัยทางการตลาด นั้น ทำให้ได้ข้อมูล เพื่อใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มนิโคติน ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
Description: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1514
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arunee-Polboon.pdf
  Restricted Access
1.19 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.