Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1526
Title: การออกแบบองค์กร กรณีศึกษา : โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ในเครือแอคมิ
Other Titles: Organization Design a Case Study : Wood Furniture Manufacturings in Acme Group
Authors: สถาพร ปิ่นเจริญ
ขวัญเอก ศรีวรรณนุสรณ์
Keywords: การบริหารธุรกิจ
Associations, institutions, etc.
การจัดการธุรกิจ
Industrial management
Issue Date: 2007
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาอิสระฉบับนี้เป็นการศึกษารูปแบบโครงสร้างองค์กร ของ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ในเครือแอคมิ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด สภาพปัญหา ข้อจำกัด แนวโน้มด้านอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ในปัจจุบัน และการจัดโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ โดยปัญหาที่พบในปัจจุบันจากข้อมูลในเบื้องต้น จะเห็นว่าอัตราส่วนจำนวนพนักงานแผนกผลิตต่อจำนวนพนักงานสนับสนุนในแต่ละโรงงานในเครือแอคมิมีอัตราส่วนที่แตกต่างกันมาก ซึ่งคาดว่ามีผลมาจากการจัดวางโครงสร้างองค์กรที่แตกต่างกัน และส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรซึ่งแสดงออกในรูปแบบของอัตราส่วนยอดการผลิตต่อจำนวนพนักงานที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งที่เป็นโรงงานในเครือบริษัทเดียวกัน และมีการผลิตสินค้าที่คล้ายคลึงกัน จากการเก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสัมภาษณ์บุคคลเชิงลึก (In – Depth Interview) กลุ่มประชากรคือผู้บริหารระดับสูงของโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ ในเครือแอคมิ จำนวน 5 ท่าน ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของแต่ละองค์กร และมีอำนาจตัดสินใจในการวางผังองค์กร และปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร นำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยการทำ Case by Case Analysis โดยการถอดเทปที่ได้จากการสัมภาษณ์ และการทำ Cross Case Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลเชิงลึก โดยใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์การออกแบบองค์ (Organization Design Analysis) การวิเคราะห์คู่แข่ง (Five Force Analysis) การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และประเมินผล โดยผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างองค์กรมีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรมากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่เป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพขององค์กร โดยโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ในเครือแอคมิ ส่วนใหญ่ยังมีโครงสร้างองค์กรที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น ความไม่ชัดเจนของนโยบายจากส่วนกลาง สภาวะเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ยังผันผวน รวมไปถึงศักยภาพของบุคลากรในองค์กรที่ยังต่ำกว่ามาตรฐาน และขาดการอบรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละปัจจัยส่งผลต่อข้อจำกัดในการวางโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม จึงควรมีการวางโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสม โดยการใช้ศักยภาพของเครืออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ในหลายจุด ทั้งในด้านทรัพยากรบุคคล เครื่องจักรอุปกรณ์ รวมไปถึงการถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญ และเทคนิคในด้านการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ระหว่างองค์กร โดยการจัดตั้งแผนกซึ่งเป็นศูนย์กลาง เช่น แผนกจัดซื้อ แผนกทรัพยากรบุคคล แผนกวิจัยและพัฒนา เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการลดค่าใช้จ่ายคงที่ซึ่งเกิดจากการจ้างพนักงานของแต่ละโรงงานมาทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกัน และควรมีการวางโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต รองรับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในอุตสาหกรรมฯ การวางโครงสร้างองค์กรเพื่อเสริมจุดแข็ง และโอกาส รวมไปถึงการลด และกำจัดจุดอ่อน และอุปสรรคที่มีต่อไปในอนาคต เพื่อการสร้างความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวต่อไป
Description: การศึกษาอิสระ (บธ. ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1526
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kwaneak-Sriwannusorn.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.