Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/154
Title: การศึกษาสวัสดิการสังคมที่ได้รับกับการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: A Study on the Social Welfare Received and the Self-Care of the Elderly in Poochaosamingprai Municipality Area Phrapradaeng Distric Samutprakarn Province
Authors: กฤตวรรณ สาหร่าย
Kittawan Sarai
บวรเดช อนุชา
Broworndat Anucha
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: ผู้สูงอายุ -- นโยบายของรัฐ -- ไทย
Older people -- Government policy -- Thailand
การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ
Old age assistance
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
Old age pensions
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาสวัสดิการสังคมที่ได้รับกับการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสวัสดิการที่ได้รับการดูแลตนเองและความต้องการสวัสดิการสังคมเพิ่มเติมของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ จำนวน 389 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.9 และเพศชาย ร้อยละ 41.1 มีอายุ 70-75 ปี ร้อยละ 32.9 รองลงมา 66-69 ปี ร้อยละ 28.0 สำเร็จระดับประถมศึกษา ร้อยละ 52.7 นับถือศาสนาพุทธทั้งหมด ร้อยละ 100.0 สถานภาพสมรส ร้อยละ 54.0 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 50.9 สำหรับจำนวนสมาชิกในครอบครัว 1-3 คน ร้อยละ 45.5 บุคคลที่ดูแลผู้สูงอายุเป็นสมาชิกในครอบครัวมากถึง ร้อยละ 71.0 นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน น้อยกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 32.6 รองลงมา มีรายได้ 5,000-10,000 ร้อยละ 26.0 ในภาพรวมผู้สูงอายุได้รับสวัสดิการสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.73 เมื่อพิจารณาสวัสดิการสังคมที่ได้รับเป็นรายด้านเรียงตามลำดับ ได้แก่ 1) ด้านสุขภาพ ค่าเฉลี่ย 3.58 และ 2) ด้านความมั่นคงทางสังคม ค่าเฉลี่ย 3.57 อยู่ในระดับมาก 3) สวัสดิการด้านการศึกษา ค่าเฉลี่ย 3.14 4) ด้านที่อยู่อาศัย ค่าเฉลี่ย 2.78 5) ด้านนันทนาการ ค่าเฉลี่ย 2.75 6) ด้านบริการทางสังคม ค่าเฉลี่ย 2.66 ทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลาง และ 7) ด้านรายได้และการมีงานทำ ค่าเฉลี่ย 2.59 อยู่ในระดับน้อย ด้านข้อมูลการดูแลตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.16 เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงตามลำดับ ได้แก่ 1) ด้านร่างกาย อยู่ในระดับมาก 2) เศรษฐกิจ 3) ด้านจิตใจ และ 4) ด้านสังคม ทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลาง ด้านข้อมูลความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.82ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยของครอบครัว และช่วงเวลาในการได้รับการดูแลต่างกัน ทำให้สวัสดิการสังคมที่ได้รับแตกต่างกัน 2) ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยของครอบครัว และช่วงเวลาในการได้รับการดูแลต่างกัน ทำให้การดูแลตนเองด้านร่างกาย จิตใจ และเศรษฐกิจแตกต่างกัน และ 2) การศึกษาและรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่างกันทำให้ความต้องการสวัสดิการสังคมเพิ่มเติมแตกต่างกัน
A Study on the Social Welfare Received and the Self-care of the Elderly in Poochaosamingprai Municipality Area, Phrapradaeng District, Samutprakarn Province aims to study the welfare received, self-care and additional social welfare needs of the elderly, which is quantitative research. The sample consisted of 389 elderly people using questionnaires as a research tool. Data were analyzed with descriptive and inferential statistics.The results showed that the sample group were female, 58.9% and male, 41.1%, aged 70-75 years, 32.9%, followed by 66-69 years, 28.0% completed primary school, 52.7% were all Buddhist, 100.0%, marital status. 54.0%, they had a congenital disease, 50.9%, number of family members 1-3 people, 45.5%, people caring for the elderly were family members up to 71.0%. In addition, the sample group had average family income per month less than 5,000 baht 32.6%, followed by income of 5,000-10,000 baht 26.0%. In overall, the elderly received social welfare at a moderate level (mean 2.73). When considering the social welfare received by each aspect, respectively, as follows : 1) Health (mean 3.58) and 2) Social security (mean 3.57) in high levels 3) Educational (mean 3.14) 4) Housing (mean 2.78) 5) Recreation (mean 2.75) 6) Social services (mean 2.66), all at moderate levels and 7) Income and employment (mean 2.59) at low levels. Overall self-care information was at a moderate level (mean 2.16) considering each aspect, respectively, 1) physical aspect at high level 2) economic 3) psychological aspect and 4) social aspect, all at moderate level. In terms of information on welfare needs of the elderly, the overall level was moderate (mean 2.82).The hypothesis testing revealed that 1) gender, age, educational level, average family income and period of care were different, resulting in different social welfare received ; 2) educational level, average family income and period of care were different, resulting in different physical, mental, and economic self-care and 3) educational level and average family income and period of care were different, resulting in different social welfare needs.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2564
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/154
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
BROWORNDAT-ANUCHA.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.