Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/158
Title: | การปรับตัวของสตรีต่อความรุนแรงในครอบครัวในชุมชนแออัด กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Women's Adjustment toward Domestic Violence in Bangkok Slum Areas |
Authors: | ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล Thipaporn Phothithawil ธัญญาลักษณ์ โกนกระโทก Thunyaluk Konkathok Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | ความรุนแรงในครอบครัว -- ไทย สตรีที่ถูกทารุณ การปรับตัว (จิตวิทยา) ชุมชนแออัด -- ไทย -- กรุงเทพฯ Family violence -- Thailand Abused women Adjustment (Psychology) Slums -- Thailand -- Bangkok |
Issue Date: | 2011 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง การปรับตัวของสตรีต่อความรุนแรงในครอบครัวในชุมชนแออัด กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและผลกระทบของความรุนแรงในครอบครัวต่อสตรีในชุมชนแออัด ทัศนคติเกี่ยวกับค่านิยมต่อบทบาทหญิงชายและบทบาทหญิงชายในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคมของสตรีในครอบครัว การปรับตัวของสตรีต่อความรุนแรงในครอบครัวและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของสตรีต่อความรุนแรงในครอบครัวโดยใช้เป็นแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 302 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างและใช้สถิติวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรเชิงกลุ่มแบบตารางไขว้ (Cross Tabulation) และทดสอบความเป็นอิสระของตัวแปรจากค่าไคสแควร์ (Chi-square)ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1. ลักษณะความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 1.95) โดยลักษณะความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัว ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ อยู่ในระดับน้อย ขณะที่ด้านร่างกายและด้านเพศอยู่ในระดับน้อยที่สุด ผลกระทบความรุนแรงในครอบครัวต่อสตรีอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.08) โดยผลกระทบต่อความรุนแรงในครอบครัวทุกด้าน (ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม) 2. ทัศนคติ ค่านิยมหญิงชายในครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.53) ส่วนบทบาทหญิงชายในครอบครัวอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.56)3. การสนับสนุนทางสังคมของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.37) โดยการสนับสนุนทางด้านจิตใจและอารมณ์ การสนับสนุนทางด้านข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับมาก ขณะที่การสนับสนุนทางด้านเงิน สิ่งของ และบริการ อยู่ในระดับปานกลาง 4. การปรับตัวของสตรีต่อความรุนแรงในครอบครัวของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าการปรับตัว ที่เหมาะอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.38) และการปรับตัวที่ไม่เหมาะสมอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.53)5. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของสตรีต่อความรุนแรงในครอบครัว พบว่า สถานภาพสมรส การมีบุตร ลักษณะความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัวด้านร่างกาย ผลกระทบ ของความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัว ทัศนคติค่านิยมหญิงชายในครอบครัวในสังคมไทย การสนับสนุนทางสังคมด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านเงิน สิ่งของและบริการ มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวที่เหมาะสมของสตรีต่อความรุนแรงในครอบครัวมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05, 0.01, 0.001, 0.001, 0.001, 0.001 และ 0.001 ตามลำดับ ส่วนอาชีพ ลักษณะความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัวทุกด้าน (ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านเพศ) ผลกระทบของความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัว ทัศนคติ ค่านิยมหญิงชายในสังคมไทย การสนับสนุนทางสังคม (ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านเงิน สิ่งของและบริการ) มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวที่ไม่เหมาะสมของสตรีต่อ ความรุนแรงในครอบครัวมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01, 0.001, 0.001, 0.001, 0.001 และ 0.001 ตามลำดับข้อเสนอแนะ ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย 1) รัฐบาลควรมีนโยบายที่ชัดเจนให้กระทรวง ต่าง ๆ ช่วยกันเกี่ยวกับการรณรงค์การลด เลิก ใช้ความรุนแรงในครอบครัว นอกเหนือจากที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงยุติธรรมดำเนินการอยู่แล้ว 2) รัฐบาลควรมีนโยบายประเมินผลของการใช้กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 เพื่อปรับปรุงกฎหมาย กลไกการช่วยเหลือด้านการลดความรุนแรงในครอบครัว 3) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควรประสานงานกับหน่วยงานระดับล่างเพื่อรายงานสถานการณ์ การติดตามผลการดำเนินงานด้านความรุนแรงในครอบครัวในแต่ละเดือน ตลอดจนรายงานผลกิจกรรมที่ส่งเสริมการลด เลิก การใช้ความรุนแรงในครอบครัว 4) เน้นการทำงานเป็นพหุภาคีและบูรณาการระหว่างทุกหน่วยงานในการดำเนินงานตามนโยบาย ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการรณรงค์การลด เลิก ใช้ความรุนแรงในครอบครัว 5) การประสานความร่วมมือกับการพัฒนาชุมชนหรือสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน การสร้างแกนนำในชุมชน เพื่อให้สอดส่องดูแลคนในชุมชน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการแจ้งเตือนหรือแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว The study of the women’s adjustment toward domestic violence in Bangkok Slum Areas. This research aims to study about the nature and impact of domestic violence against women in slum areas, attitudes, values about gender roles in the family, social support of women in the family, the women’s adjustment toward domestic violence and involved factors to the women’s adjustment toward domestic violence by questionnaires to collected data. The samples used for this investigation were 302 persons. Descriptive statistics were employed to present percentage, mean, standard deviation and inferential statistics with Cross tabulation and test the independence of the variables from the Chi-square. The results showed that :1. The nature of domestic violence against women, most of sampling group with a mean of 1.95 at a lower level, divided into three areas : emotional and psychological, social and economic at a low level but physical and sex at least. The impact of domestic violence against women with a mean of 2.08 at a low level, divided into three areas : physical, psychological and social at least.2. Attitudes, values about gender roles in the family, most of sampling group with a mean of 2.53 at a low level and gender in the family with a mean of 3.56 at a high level.3. The social support, most of sampling group with a mean of 3.37 at a moderate level, divided into three areas : psychological and emotional, information at a high level while financial, goods and services at a moderate level.4. The women’s adjustment toward domestic violence, divided into two areas : adaptation adjustment with a mean of 3.38 at a moderate level, adaptation that is not appropriate with a mean of 2.53 at a low level.5. The factors affecting the women’s adjustment toward domestic violence are the married status, have children, nature of domestic violence against women, impact of domestic violence against women, attitudes, values about gender roles in the family, the social (psychological and emotional, goods and services) relating to the appropriate adjustment that had statistically significant at a level of 0.05, 0.01, 0.001, 0.001, 0.001, 0.001 and 0.001.The employment and the nature of domestic violence against women in all aspects (physical, emotional and psychological, social, economic and gender) the impact of domestic violence against women, attitudes, values about gender roles in the family, the social support (psychological and emotional, goods and services) relating to the un appropriate adaptation that had statistically significant at a level of 0.01, 0.001, 0.001, 0.001, 0.001 and 0.001.The recommended suggestions for realizing this research finding should be : (1) the government should have a clear policy to ministry about helping out the campaign to reduce violence in the family (2) government policies should be evaluated law, Victims Protection Act of 2550 domestic violence to revise the law, support to reduce domestic violence (3) Ministry of Social Development and Human Security should coordinate with agencies to report the situation at the bottom, follow-up operations of domestic violence each month and reporting activities that promote the dissolution of reducing violence in family (4) work on a multilateral and integration between all the agencies in the implementation of the policy is clear about the campaign to reduce violence in the family dissolution (5) work collaboratively with community development organizations or community development institutions to monitor people in the community as well as participate in an alert or domestic violence problems. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/158 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 114.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
TableofContents.pdf | 109.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 127.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf | 394.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter3.pdf | 112.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter4.pdf | 433.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter5.pdf | 142.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
References.pdf | 315.46 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.