Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1678
Title: ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเพื่อป้องกันการกำเริบของภาวะหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน
Other Titles: Effects of Pulmonary Rehabilitation Program To Prevent Exacerbation in Patient With Chronic Obstructive Pulmonary Disease In Community
Authors: ประเสริฐ ศรีนวล
จริยาวัตร คมพยัคฆ์
หทัยชนก บัวเจริญ
Prasert Srinual
Jariyawat Kompayak
Hathaichanok Buajaroen
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: Lungs -- Diseases, Obstructive
ปอดอุดกั้น
Pulmonary disease, chronic obstructive
การฟื้นฟูสมรรถภาพ
Rehabilitation
การหายใจลำบาก
Dyspnea
Issue Date: 2019
Citation: วารสารพยาบาลทหารบก 20,2 (พ.ค.-ส.ค. 2019) : 351-359
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 30 คน คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปิดฯ 15 คน และกลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับการดูแลปกติ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ลักษณะส่วนบุคคล ภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและภาวะเสี่ยงที่ทำให้เกิดการกำเริบของภาวะหายใจลำบาก แบบประเมินภาวะสุขภาพและแบบประเมินภาวะหายใจลำบากซึ่งประกอบด้วย DVAS FEV1 PEF และการเป่า-ดูดขวดน้ำ เครื่องมือดำเนินการวิจัยคือ โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดฯ ในระยะเวลา 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Mann-Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยการหายใจลำบากจากการประเมิน DVAS = 24 (S.D. = 9.10) จาก FEV1 = 1.72 (S.D. = 0.32) จาก PEF = 3.73 (S.D = 54.05) และจากการเป่า-ดูดน้ำ = 8.78 (S.D. = 0.74) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบมีคะแนนเฉลี่ยการหายใจลำบากจากการประเมิน DVAS = 26 (SD =1.17) เมื่อเปรียบเทียบภาวะหายใจลำบากจากการประเมินแต่ละวิธี ด้วยสถิติ Mann-Whitney U test พบว่า ภาวะหายใจลำบากของกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อประเมินด้วย DVAS, FEV1 และ PEF แต่จากการประเมินด้วยการเป่า-ดูดขวดน้ำ พบว่า กลุ่มเปรียบเทียบมีภาวะหายใจลำบากน้อยกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p=.002)
This Quasi-experimental research aim to assess the effects of pulmonary rehabilitation program among chronic obstructive pulmonary disease(COPD) patients in community. 30 COPD patients who met the criteria were recruited in the study, The sample were split into 2 groups, 15 of them were experimental group who received pulmonary rehabilitation program the others 15 were comparative group who received normal care. Data gathering tools were personal interview form of COPD and risk factors of exacerbation, health assessment form, and evaluation of dyspnea were include DVAS, FEV1, PEF and blowing-sucking water bottom. The period of the study were 12 weeks. Data were analyzed by mean, standard deviation and use Mann- whitney U test The results revealed that the experimental group had an average of dyspnea score; from evaluation as following ; DVAS = 24 (S.D = 9.10) , FEV1 = 1.72 (S.D = 0.32) , PEF = 3.73 (S.D = 54.05) and blowing-sucking water bottom = 8.78 (S.D = 0.74). The comparative group had an average score of dyspnea from evaluation as following ; DVAS = 26 (S.D = 9.85), FEV1 = 1.69 (S.D = 0.32),PEF = 3.95 (S.D = 42.13) and blowing-sucking water bottom = 7.39 (S.D = 1.17). When compared dyspnea by Mann- whitney U test. Experimental group and comparative group was non-significant difference at .05 when assessment of DVAS, FEV1 and PEF but assessment of blowing-sucking water bottom found comparison group have dyspnea less than experimental group was statistical significant difference at .01 (p-value =.002)
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/210483/145675
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1678
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pulmonary-Rehabilitation-Program .pdf101.76 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.