Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1692
Title: การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยว หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2556 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: Evaluation of Bachelor of Arts Program in Hospitality Industry for Tourism, Revised Edition 2013, Faculty of Liberal Arts Bachelor's Huachiew Chalermprakiet University
Authors: บงกช เดชมิตร
สริตา ศรีสุวรรณ
จิรชัย หมื่นฤทธิ์
รวินท์นิภา จุลกิตติพันธ์
ทิพาพรรณ ไชยวงศ์
Bongkot Detmit
Sarita Srisuwan
Jirachai Muenlit
Ravinnipha Junlakittiphun
Tipapan Chaiwong
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว -- การศึกษาและการสอน
Tourism -- Study and teaching
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว -- หลักสูตร
Tourism -- Curricula
อุตสาหกรรมบริการ -- การศึกษาและการสอน
Service industries -- Study and teaching
อุตสาหกรรมบริการ -- หลักสูตร
Service industries -- Curricula
การท่องเที่ยว -- หลักสูตร
Travel -- Curricula
การท่องเที่ยว -- การศึกษาและการสอน
Travel -- Study and teaching
Issue Date: 2013
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยว (หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2556) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หลักสูตรและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรในด้าน 1) บริบทของหลักสูตร 2) ปัจจัยนำเข้า 3) กระบวนการการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และ 4) ผลลัพธ์ของหลักสูตร โดยผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาปัจจุบันรุ่นปีการศึกษา 2556-2558 ผู้สำเร็จการศึกษา ผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร จำนวน 5 คน กลุ่มนักศึกษาปัจจุบันรุ่นปีการศึกษา 2556-2558 จำนวน 31 คน กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 19 คน กลุ่มผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 14 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 1 คน การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เอกสารเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แนวทางการวิเคราะห์หลักสูตรสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารหลักสูตร และ 3) แบบสอบถามนักศึกษาปัจจุบัน ผู้สำเร็จการศึกษา และผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา1) ผลการประเมินด้านบริบทแผนการดำเนินงานของหลักสูตร มีความเหมาะสมทั้ง 5 ข้อ โดยเฉพาะด้านการกำหนดอาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ตรงกับวิชาที่สอน มีความเหมาะสมในระดับสูงสุดด้านจุดแข็ง จุดอ่อนของหลักสูตร พบว่าทุกข้อมีจุดแข็งอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยฉพาะด้านคณาจารย์มีความเหมาะสมในระดับสูงสุด2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเช้า บัณฑิตประเมินคุณลักษณะด้านความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด ประเมินคุณลักษณะด้านความสามารถด้านการสอนของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด ประเมินคุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรม และประเมิการให้เวลาของอาจารย์ในการปรึกษาทางด้านวิชาการและด้านอื่นๆ แก่นักศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนนักศึกษาปัจจุบันประเมินคุณลักษณะด้านความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด ประเมินคุณลักษณะด้านความสามารถด้านการสอนของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด ประเมินคุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรม และประเมินการให้เวลาของอาจารย์ในการปรึกษาทางด้านวิชาการและด้านอื่นๆ แก่นักศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุดบัณฑิตประเมินปัจจัยนำเข้าด้านสภาพแวดล้อมกายภาพ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวย-ความสะดวกต่างๆ ว่าสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับอาจารย์และนักศึกษา (เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต เครื่องเสียง เครื่องฉาย ฯลฯ) มีความเพียงพออยู่ในระดับมากที่สุด หนังสือ ตำรา วารสาร บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในห้องสมุดมีเพียงพอ และทันสมัยอยู่ในระดับมากที่สุด ห้องคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง เพียงพอต่อการใช้งานอยู่ในมาก ห้องเรียน ห้องประชุม/สัมมนา สถานที่จัดกิจกรรม มีโต๊ะ เก้าอี้ เพียงพออยู่ในระดับมาก ห้องทำงาน สำหรับอาจารย์ที่เอื้อต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด สถานที่ทำงานสำหรับนักศึกษาเอื้อต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก นักศึกษาปัจจุบันประเมินปัจจัยนำเข้าด้านสภาพแวดล้อมภายภาพ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวย-ความสะดวกต่างๆ ว่าสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับอาจารย์และนักศึกษา (เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เนต เครื่องเสียง เครื่องฉาย ฯลฯ) มีความเพียงพออยู่ในระดับมาก หนังสือ ตำรา วารสาร บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในห้องสมุดมีเพียงพอ และทันสมัยอยู่ในระดับมาก ห้องคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง เพียงพอต่อการใช้งานอยู่ในระดับมาก ห้องเรียน ห้องประชุม/สัมมนา สถานที่จัดกิจกรรม มีโต๊ะ เก้าอี้ เพียงพออยู่ในระดับมาก ห้องทำงานสำหรับอาจารย์เอื้อต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก สถานที่ทำงานสำหรับนักศึกษาเอื้อต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก คณาจารย์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ว่า หนังสือ ตำรา บทความ ด้านอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรมที่พัก ตลอดจนธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ยังมีจำนวนจำกัด บางอย่างเป็นข้อมูลไม่ทันสมัย งานวิจัย วิทยานิพนธ์ จะไม่มี/มีน้อย เนื่องจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ไม่มีปริญญาโทด้านการท่องเที่ยว ห้องคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ยังมีไม่เพียงพอ เพราะเป็นการใช้งานร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย 13 คณะวิชา ห้องเรียน ห้องประชุม/สัมมนา สถานที่จัดกิจกรรม มีโต๊ะ เก้าอี้มีเพียงพอ สถานที่สำหรับนักศึกษา ในตึกที่ทำการคณะ ไม่มีสำหรับนักศึกษาในการพักผ่อนที่เอื้อต่อการเรียนการสอน และห้องทำงานของอาจารย์ก็ไม่มีความเหมาะสม ขาดความเป็นส่วนตัว3) ผลการประเมินด้านกระบวนการผลิตด้านการประเมินกระบวนการด้านพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของผู้สอน ภาพรวมความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาปัจจุบัน และบัณฑิต มีความเห็นตรงกันว่าพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของผู้สอน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้านการประเมินกระบวนการด้านพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน ภาพรวมความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาปัจจุบัน และบัณฑิต มีความเห็นตรงกันว่าพฤติกรรมของผู้เรียนมีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุดในทุกด้านการประเมินกระบวนการด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริการ (สหกิจศึกษา) ภาพรวมความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาปัจจุบัน และบัณฑิต มีความเห็นตรงกันว่ากระบวนการด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริการ (สหกิจศึกษา) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้านการประเมินกระบวนการด้านการจัดการเรียนการสอน ภาพรวมความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาปัจจุบัน และบัณฑิต มีความเห็นตรงกันว่ากระบวนการด้านการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้านการประเมินกระบวนการด้านการให้บริการและการสนับสนุน ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาปัจจุบันเห็นว่ากระบวนการด้านการให้บริการและการสนับสนุนมีความเหมาะสมในระดับมากและบัณฑิตมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด4) ผลการประเมินด้านผลผลิตของหลักสูตรด้านคุณลักษณะในการปฏิบัติงานหรือการศึกษาต่อของบัณฑิต โดยความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต เห็นว่าบัณฑิตหลักสูตรอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยว มีคุณลักษณะที่เหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุดในทุกด้านด้านผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตและความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต โดยความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต เห็นว่าบัณฑิตหลักสูตรอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยว มีผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสมในระดับมากที่สุดในทุกด้านข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเนื้อหาสาระและโครงสร้างของหลักสูตรควรปรับให้มีวิชาต่างๆ มีเนื้อหาที่ทันสมัยมากขึ้นดังนี้1. ควรเปลี่ยนชื่อหลักสูตรเดิมจากหลักสูตรอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยวให้เป็น ชื่อหลักสูตรการโรงแรม เพื่อความชัดเจน เข้าใจง่ายของนักศึกษา ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาทั่วไปที่มีความสนใจต้องการที่จะเลือกเรียน2. เพิ่มเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ความสำคัญของยุคดิจิตัล และการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 เน้นในเรื่องนวัตกรรม เทคโนโลยี ระบบสารสนเทศและการบริการ3. ควรมีการปรับเพิ่มในวิชาเอกเลือกให้มีความทันสมัย น่าสนใจ เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและให้ตรงกับสายวิชาชีพมากขึ้น เช่น วิชาการจัดการไวน์ วิชาโรงแรมสีเขียว วิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในโรงแรม วิชาอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ วิชาบาร์เทนเดอร์ วิชาบาริสต้า วิชาการออกแบบอาหาร เป็นต้น
The purpose of this research was to evaluate Huachiew Chalermprakiet University's Curriculum 2013 for Bachelor Degree in Liberal Arts, Hospitality Industry for Tourism Major. The study evaluated four aspects: (1) Curriculum context (2) Input factors (3) Process of curriculum administration and (4) Outcome. The samples applied in this study consisted of 5 instructors, 31 sophomore, hunior and senior Hospitality Industry for Tourism major student academic year 2017, 19 Hospitality Industry for Tourism graduates, 14 employers and one expert. The research tool for data collecting was group discussion and questionnaire. The statistics used for analyzing the data were frequency, percentage, and mean. The results of the research were as follows:(1) Curriculum context:The curriculum context in terms curriculum administration process were rated at the highest level in every aspects. Especially the ability and knowledge of instructors were rated as highest level. As well as curriculum's strengths and weaknesses were rated at the highest level in every aspects. Expecially the instructor's factor were rated as highest.(2) Input factors:Graduates and students agreed that the ability and knowledge of instructors were in the highest level. Graduates were rated the learning supporting factors in highest level while students rated in high level. In the opposite, the result from instructors found that learning supporting factors such as text book, journals were insufficient as well as the lack of privacy in working space.(3) Process of curriculum administration:Graduates and Students were rated the highest level in every factors which are the instructor's behavior, the learner's behavior, the procedure of co-operative internship and teaching's procedure by instructor.(4) Outcome:Employers rated graduates' qualifiactions in both characteristics and performance in the highest level.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1692
Appears in Collections:Liberal Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bongkot-Detmit.pdf11.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.