Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1713
Title: รายงานการวิจัย การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2547 และฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2549 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: The Evaluation of Nursing Curriculum in Bachelor's Degree Program, Academic Year 2004, and 2006, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University
การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2547 และฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2549 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Authors: วิชุดา กิจธรธรรม
สุจิตรา ชัยกิตติศิลป์
ฉวีวรรณ ตั้งอมตะกุล
วิไลวรรณ ตรีถิ่น
ทิพยา พันธุมกาญน์
สิรินดา ศรีจงใจ
โรจนินทร์ ปรานต์วรพัฒน์
พรทิพย์ ลิ้มธีระยศ
ปริศนา อัตรธนพล
Wichuda Kijtorntham
Suchitra Chaikittisilp
Chaveewan Tangamatakul
Wilaiwan Treetin
Tippaya Phunthumkan
Sirinda Srichongchai
Porntip Limteerayos
Prisana Akaratanapol
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
พยาบาลศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Nursing -- Study and teaching
พยาบาลศาสตร์ -- หลักสูตร
Nursing -- Curricula
Issue Date: 2006
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2547 และฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2549 ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) เพื่อประเมินหลักสูตร 4 ด้านคือ (1) ด้านบริบท ได้แก่ วัตถุประสงค์ โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร (2) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน และสื่อการเรียนการสอน (3) ด้านกระบวนการ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียน การบริหารหลักสูตร และ (4) ด้านผลผลิต ได้แก่คุณภาพบัณฑิต ประชากรที่ศึกษามี 4 กลุ่มคือ (1) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 150 คน (2) อาจารย์ผู้สอน จำนวน 45 คน (3) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 115 คน และ (4) ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้ประกอบด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 4 ฉบับ สำหรับตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ด้านบริบทของหลักสูตรพบว่า วัตถุประสงค์มีความชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของสังคม สามารถพัฒนาผู้เรียน สอดคล้องกับเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ และนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.01 ด้านโครงสร้างพบว่า จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร หมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ หมวดวิชาเลือกเสรีมีความเหมาะสมในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.17 และเนื้อหาสาระของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกกลุ่มวิชา มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.99 ถึง 4.21 ด้านปัจจัยป้อนเข้าด้านอาจารย์มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 ด้านที่มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คือ มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ด้านนักศึกษามีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 ด้านที่มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คือ มีความซื่อสัตย์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ด้านประเมินปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนมีความเพียงพอ มีคุณภาพ มีความทันสมัย และสะดวกในการใช้บริการ ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.59, 3.71, 3.79 และ 3.74 ตามลำดับ ด้านกระบวนการของหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก 4.04 โดยด้านการจัดการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และด้านการบริหารและการบริการหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ด้านผลผลิตของหลักสูตรพบว่า คุณลักษณะทั่วไปและด้านความรู้เชิงทฤษฎีและการปฏิบัติตามหลักวิชาชีพของบัณฑิตมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.26 และ 3.28
The research aimed to evaluate the nursing curriculum in bachalor's degree program, academi year 2004 and 2006, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University. The CIPP Model was applied as the evaluate model composed 4 dimensions; 1) the curriculum context which were objectives, structure, and contents; 2) the curriculum input which were students, teachers, and medias; 3) the curriculum process which were learning activities, measurement and evaluation, and administration; and 4) the curriculum output which was the quality of the graduate nurses. The 4 groups of samples were 150 of forth year students, 45 of teachers, 115 of graduate, and 83 of employees. The research instruments consisted of 4 questionnaires for 4 groups of samples. The data were analyzed by using percentage, arithmetic means and standard deviation. The research results revealed as follows: The context evaluation indicated that the curriculum objectives were clearly stated, and be able to guide learning experience, and also corresponded to the soical needs and having highly uniqueness to the practice of nursing in high level (x̄ = 4.01). The curriculum structure and the curriculum contents were found to be highly appropriated (x̄ = 4.17, 3.99-4.21) Input evaluation related to nursing instructions showed that it was substantially appropriated (x̄ = 4.19). The teachers' were found to be high responsiveness (x̄ = 4.39). The students' were found to be high honesty (x̄ = 4.11). Instructional aids were sufficiency; quality, modern, and facility in service in high level (x̄ = 3.59, 3.71, 3.79 and 3.74, respectively). In process evaluation, it was found that the administrative and instructional process was appropraited in high level (x̄ = 4.05 and 4.00) In productive evaluation, the graduate nurses had general and specific qualifications according to the objectives of the curriculum in the middle level (x̄ = 3.26 and 3.28).
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1713
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichuda-Kittorntham.pdf9.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.