Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1716
Title: การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม (หลักสูตร 4 ปี) ปี พ.ศ.2547 และหลักสูตรต่อเนื่อง ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ.2550 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: An Evaluation of the Bachelor of Business Administration in Industrial Management Degree's Curriculum of 4-Year Program in 2004 and 2-Year Program (Revised Program) in 2007 Huachiew Chalermprakiet University
Authors: มาริสสา ทรงพระ
วิชุตา อยู่ยงค์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจ
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
การจัดการอุตสาหกรรม -- หลักสูตร
Industrial management -- Curricula
การจัดการอุตสาหกรรม -- การศึกษาและการสอน
Industrial management -- Study and teaching
Issue Date: 2009
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: งานวิจัยสำหรับประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดทำตามนโยบายของการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้ต้องมีการดำเนินการตามหลักการประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพที่ดีต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น การเรียนการสอน การประเมินผลการเรียนและผู้สอน เป็นต้น ทำให้การจัดทำงานวิจัยต้องทำการศึกษาทัศนคติของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ได้แก่ นักศึกษาปัจจุบัน อาจารย์ผู้สอน บัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิต เพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาวางแผนและพัฒนาประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ทราบว่าหลักสูตรนั้นๆ ได้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และต้องการปรับปรุงในส่วนใดและต้องปรับปรุงอย่างไร การทำวิจัยนี้มีประชากร 4 กลุ่ม คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจหลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรมทั้งหลักสูตร 4 ปีและหลักสูตรต่อเนื่อง อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม บัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และผู้ใช้บัณฑิต เนื่องจากกลุ่มประชากรมีไม่มาก จึงกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างคือประชากรทั้งหมด โดยใช้สถานภาพของประชากรเป็นตัวแปรอิสระและความคิดเห็นของประชากรในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต หลักสูตรเป็นตัวแปรตาม แบบสอบถามจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรสาขาวิาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ และจากการเก็บข้อมูลมีอัตราการตอบกลับมาค่อนข้างต่ำ จึงใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) โดยใช้อัตราร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 10 ชุดและได้รับการตอบกลับมา 5 ชุด คิดเป็นร้อยละ 50 โดยอาจารย์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การบริหารและการจัดการหลักสูตร โดยรวมมีความสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย เนื้อหาวิชามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โดยรวมของหลักสูตร รวมถึงการใช้สื่อการสอนมีความสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา และเห็นด้วยกับการบริหารหลักสูตรในรูปแบบของคณะกรรมการ ผลการศึกษาข้อมูลจากบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 63 ชุด และได้รับตอบกลับมา 23 ชุด คิดเป็นร้อยละ 36.51โดยบัณฑิตเห็นว่า จำนวนหน่วยกิตในปัจจุบันทั้งกลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาเฉพาะ และกลุ่มวิชาเลือกเสรีมีความเหมาะสม บัณฑิตมีความเห็นต่อความรู้ในเชิงทฤษฎีและทักษะในการปฏิบัติงานของตนเองว่า มีความรู้ทางด้านการตลาดมากแต่มีความรู้ทางด้านธุรกิจระหว่างประเทศน้อย และพบว่า บัณฑิตประเมินคุณลักษณะของตนเอง โดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 63 ชุด ได้รับตอบกลับมา 5 ชุด คิดเป็นร้อยละ 7.94 โดยผู้ใช้บัณฑิตส่วนใหญ่มีความเห็นว่า บัณฑิตจากสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมมีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก ผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าคุณลักษณะที่เสริมการปฏิบัติงานของบัณฑิตคือการมีมนุษยสัมพันธ์ และความสามารถในการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมมงาน เมื่อเปรียบเทียบความสามารถของบัณฑิตกับบัณฑิตจากสถาบันอื่น ผู้ใช้บัณฑิตส่วนใหญ่มีความเห็นว่าเท่ากับความสามารถของบัณฑิตจากสถาบันอื่น ในขณะที่บัณฑิตมีความกล้าแสดงความคิดเห็น มีการอุทิศเวลาให้กับงาน มีความมานะอดทนสู้งาน มากกว่าบัณฑิตจากสถาบันอื่น และมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษน้อยกว่าบัณฑิตจากสถาบันอื่น ผลการศึกษาข้อมูลจากนักศึกษา คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 55 ชุด ได้รับตอบกลับมาจำนวน 49 ชุด คิดเป็นร้อยละ 89.09 โดยนักศึกษามีความเห็นโดยรวมต่อเนื้อหาวิชา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่น และความทันสมัยของรายวิชาอยู่ในระดับปานกลางถึงดี ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะกลุ่มวิชาแกน กลุ่มวิชาเอกเลือกและกลุ่มวิชาเลือกเสรี
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1716
Appears in Collections:Business Administration - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Marissa-Songpra.pdf5.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.