Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1718
Title: การประเมินหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2543) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: The Evaluation of Pharmaceutical Sciences Curriculum : Bachelor's Degree Program (Revised, Academic Year 2000) Huachiew Chalermprakiet University
Authors: รัตนา อินทรานุปกรณ์
ศิรประภา ทับทิม
วิชาญ จันทร์วิทยานุชิต
ทิพย์ ทวีศรี
ศรัณย์ กอสนาน
ชวาลินี อัศวเหม
ธาริณี ตันตระกูล
Rattana Indranupakorn
Siraprapa Tubtim
Wicharn Janwitayanuchit
Thip Thaveesri
Sarun Gorsanan
Chawalinee Asawahame
Tarinee Tantarkul
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum -- Evaluation
เภสัชศาสตร์ -- หลักสูตร
Pharmacy -- Curricula
เภสัชศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Pharmacy -- Study and teaching
Issue Date: 2005
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินหลักสูตรเภสัชกรรมบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2543) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Evaluation Model) โดยประเมินหลักสูตรใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ได้แก่ โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตรรวมทั้งวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ด้านปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่ คุณลักษณะของผู้สอนรวมถึงความพร้อมและศักยภาพ คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา อุปกรณ์การเรียนการสอน ตำราเรียนและสถานที่เรียน ด้านกระบวนการ ได้แก่ กิจกรรการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียน การบริหารหลักสูตร และรายวิชา ด้านผลผลิต ได้แก่ คุณลักษณะและประสิทธิภาพของบัณฑิต ความรู้ ความเข้าใจทักษะในการปฏิบัติงาน รวมถึงการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตต่อเนื้อหาวิชาของการเรียนเภสัชศาสตร์ นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังได้ทำการสำรวจความคิดเห็นนักศึกษา เกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชศาสตร์และการจัดการศึกษาเป็นระบบสายวิชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมินได้แก่ นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 5 จำนวน 129 คน อาจารย์ จำนวน 46 คน บัณฑิต จำนวน 136 คน และผู้บังคับบัญชาบัณฑิต จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าการเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยตั้งเกณฑ์ค่าเฉลี่ยความเหมาะสม คือ 2.50-3.50 กลุ่มตัวอย่างนักศึกษา อาจารย์ และบัณฑิต มีความเห็นว่า ด้านบริบท (โครงสร้าง เนื้อหา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (คุณลักษณะผู้สอน คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา อุปกรณ์การเรียนการสอน ตำราเรียน สถานที่เรียน) และด้านกระบวนการ (กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล) ของหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2543) มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตเภสัชศาสตร์ มีความเห็นว่าด้านผลผลิต (คุณลักษณะและประสิทธิภาพของบัณฑิต ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน) มีความรู้ ความสามารถเพียงพอต่อการทำงาานและส่วนใหญ่มีความเห็นว่า เนื้อหาวิชาหรือความรู้ในด้านต่างๆ มีความจำเป็นต่องาน สำหรับความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชศาสตร์และการจัดการศึกษาเป็นระบบสายวิชา มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับปานกลาง นักศึกษา อาจารย์ และบัณฑิตมีข้อเสนอแนะต่อหลักสูตรว่า ควรปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและจัดการเรียนการสอนเป็นแบบบูรณาการเพื่อสามารถนำไปใช้ในการทำงานต่อไปได้อย่างเหมาะสม
The purpose of this research was to evaluate the Bachelor of Pharmaceutical Sciences curriculum (Revised, Academic Year 2000) at Huachiew Chalermprakiet University, by using CIPP Evaluation Model in four aspects; context, input, process and product. The subjects consisted of 129 fifth-yeaar Pharmaceutical Science students, 46 instructors, 137 Pharmeceutical Sciences graduates and 116 graduates' users. Five-rating scale questionnaires were administered. Data were analyzed by percentage, mean and standard deviation. The results of this research was as follows: It was found that students, instructors and graduates thought that context (the objectives and contents of the curriculum), the input (the learning resources), and the process (the instructional process and measurement, evaluation processes and the curriculum management) were at a moderate level. The graduates' users thought the graaduates were socially accepted on knowledge, skill, attitude and performance at a moderate level. For the professional training and track curriculum, students thought that they were at a moderate level. The students, instructors and graduates also suggested that the curriculum content should be updated and integrated, which will be useful for working.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1718
Appears in Collections:Pharmaceutical Sciences - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana-Intranupakorn.pdf7.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.