Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1724
Title: การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ฉบับปี พุทธศักราช 2550) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: An Evaluation of the Bachelor of Arts Program in English ( Revised Curriculum Academic year 2007) Huachiew Chalermprakiet University
Authors: สมศรี จันทร์สม
ขวัญชนก สืบสุข
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะศิลปศาสตร์
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
ภาษาอังกฤษ -- หลักสูตร
English language -- Curricula
ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน
English language -- Study and teaching
Issue Date: 2012
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบการสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ฉบับปี พ.ศ. 2550 ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ครอบคลุมการประเมินใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างจำนวนรวม 209 คน ประกอบด้วย นักศึกษาปัจจุบันคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปี 4 จำนวน 66 คน อาจารย์ผู้สอนจำนวน 30 คน บัณฑิตจำนวน 55 คน ผู้ใช้บัณฑิตจำนวน 55 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกสถาบันจำนวน 3 คน ซึ่งผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามกลับคืนเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 144 ชุด คิดเป็นอัตราตอบกลับแบบสอบถามร้อยละ 68.90 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรวัด 5 ระดับ จำนวน 3 ชุด ชุด ก. ใช้เก็บข้อมูลกับนักศึกษาปัจจุบัน อาจารย์ และบัณฑิต ชุด ข. ใช้เก็บข้อมูลกับผู้ใช้บัณฑิต และชุด ค. ใช้เก็บข้อมูลกับผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ยเลขคณิต และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ ด้านบริบท พบว่า วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฯ ทุกข้อมีความเหมาะสมระดับมาก โดยข้อที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ข้อที่ 4 "เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการนำความรู้ภาษาอังกฤษไปใช้ประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ" และข้อที่ 1 "เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการใช้ทักษะทางภาษาทั้ง 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับสถานการณ์" ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่าโครงสร้างหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร และจำนวนหน่วยกิตในทุกหมวดวิชามีความเหมาะสมมาก ส่วนเรื่องเนื้อหาวิชาในหลักสูตรพบว่ารายวิชาส่วนใหญ่มีควาเหมาะสมในระดับมาก ยกเว้นรายวิชาในกลุ่มวรรณคดีทุกรายวิชาจะมีค่าคะแนนต่ำกว่ารายวิชาอื่นๆ ส่วนใหญ่ผลการประเมินรายวิชาในกลุ่มวรรณคดีจะมีคะแนนอยู่ระดับปานกลาง นอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอแนะให้ปรับลดจำนวนรายวิชา/หน่วยกิจของวิชาในกลุ่มวรรณคดีลงจากหมวดวิชาเอกเลือกและเสนอให้เพิ่มรายวิชา/หน่วยกิตของกลุ่มการฟัง-การพูดแทน และเสนอให้เพิ่มอาจารย์เจ้าของภาษาอังกฤษและรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวต่างชาติ เพื่อเพิ่มโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทั้งในและนอกห้องเรียน นอกจากนั้นยังพบว่าตำราเรียนและเอกสารประกอบการสอน อาจารย์ผู้สอน และห้องสมุดมีความเหมาะสมมาก ส่วนเรื่องห้องเรียนและสื่ออุปกรณ์มีความเหมาะสมระดับปานกลาง เนื่องจากอุปกรณ์ในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการทางภาษาชำรุด ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน ด้านกระบวนการ พบว่ากระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้นักศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษามีความเหมาะสมมาก มีข้อเสนอแนะจากนักศึกษาให้เปิดรายวิชาให้เลือกลงทะเบียนมากขึ้นในแต่ละภาคการศึกษาและให้ปรับปรุงระบบการลงทะเบียนให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ทั้งนักศึกษาและอาจารย์เห็นสอดคล้องกันว่าควรลดจำนวนนักศึกษาในแต่ละตอนเรียนลง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ด้านผลผลิต ผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าผลผลิตของหลักสูตรในภาพรวมมีความน่าพึงพอใจมาก โดยเฉพาะเรื่องความซื่อสัตย์และการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ได้รับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด สิ่งที่ควรเสริมสร้างเพิ่มเติม ได้แก่ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ การแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเอง ภาวะผู้นำ การวางแผนและบริการภาระงาน ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่หลากหลายและความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
The current study is a quantitative survey research. The purpose of this study was to evaluate the Bachelor of Arts Program in English (revised curriculum, academic year 2007) of Huachiew Chalermprakiet University. The total samples size was 209. The sample consisted of 66 fourth-year current students, 30 lecturers, 55 graduates, 55 employers of the graduates and 3 eduational experts. One hundred and forty-four questionnaires (68.90% reponse rate) were returned to the researchers. The data were gathered by using questionnaires designed by the researchers based on the CIPP evaluation model. Descriptive statistics were used for analysis. The findings of this research werr as follows: The Context evaluation indicated that all objectives of the curriculum were evaluated at high level for appropriateness. The highest average scores went to the fourth objective "to produce graduates who can effectively apply their English language knowledge and skills to their jobs" and the first objective "to produce graduates who can use the four English language skills--listening, speaking, reading, and writing -- appropriately in different situations". The Input evaluation showed that the structurs of curriculum, the number of the total credits and the number of credits in each subject area were highly appropriate. The sample indicated that most courses offered in the program were very useful. However, it was found that most literature courses were rate relatively low compared to other courses. Also, the sample suggested the reduction of credits of literature courses in the core course category and the increase of credits of listening and speaking courses instead. It was also suggested that the program should create more English speaking environment so that the students have more opportunities to use the language both in and outside class. Results also showed that textbooks, teachers, and library were evaluated at high level. However, it was found that classrooms and language laboratories were rated at moderate level as the computers and other lab/classroom facilities needed proper maintenance. With regard to Process evaluation, all topics including instructional process, testing and evaluation, extra-curricular activities, and student support system were evaluated at high level. Students suggested more courses offered in each semester and the improvement of registratin system. Both lecturers and students agreed that the class size was rather big and suggested that smaller class size will result in better learning outcomes. For the Product evaluation, employers of the graduates pointed out that the overall quality of the graduates was highly satisfied especially in the topics of honesty and discipline. The employers advised that the following qualities were important for future graduates: creativity, knowledge-seeking and self-development skills, leadership, planning skills, knowledge about cross-cultural communication, and analytical thinking and problem-solving skills.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1724
Appears in Collections:Liberal Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsri-Chansom.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.