Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/175
Title: กิจกรรมเสริมคุณค่าและความสุขให้ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ
Other Titles: Activities Reinforcing Value and Happiness of Elderly in Elderly Schools
Authors: ขัตติยา กรรณสูต
Kattiya Kannasut
วิลาสินี โยธิการ
Wilasinee Yothikan
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: โรงเรียนผู้สูงอายุ
ความสุข
Happiness
การนับถือตนเองในผู้สูงอายุ
Self-esteem in old age
ผู้สูงอายุ
Older people
Issue Date: 2020
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเรื่อง "กิจกรรมเสริมคุณค่าและความสุขให้ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ" มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ และ 3) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุที่ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจัดขึ้น 5 แห่ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่ใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์กลุ่มบุคลากรโรงเรียนผู้สูงอายุที่ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่ใช้การสนทนากลุ่ม และ 3) แบบสอบถามกลุ่มผู้สูงอายุ โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้วิธีการแบบจำเพาะเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนผู้สูงอายุมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน คือ การจัดทำหลักสูตรการเรียน การคัดเลือกผู้สอน การดำเนินการสอน และการประเมินผล ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของโรงเรียนมาจาก 3 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยจากผู้สูงอายุ ได้แก่ ความพร้อมของผู้สูงอายุด้านร่างกายและจิตใจ การเดินทาง การติดภารกิจส่วนตัว การสื่อสารและการปรับตัวของผู้สูงอายุ 2) ปัจจัยจากโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้แก่ งบประมาณ สถานที่ตั้ง ความพร้อมของอาคารเรียนและอุปกรณ์การเรียน การประชาสัมพันธ์และบุคลากรที่ไม่เพียงพอในการขับเคลื่อนงาน และ 3) ปัจจัยจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ ข้อจำกัดทางศาสนา การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่และชุมชนในการจัดกิจกรรมทั้งการตัดสินใจ การดำเนินงาน และการประเมินผลของโรงเรียนผู้สูงอายุ หลังจากผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุแล้ว มีผลเปลี่ยนแปลงให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าตนเองในระดับมาก และมีความสุขโดยรวมทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญาในระดับมากเช่นกัน จากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คือ 1) ควรมีนโยบายในการระดมทุนเพื่อกิจการด้านผู้สูงอายุ เพื่อให้มีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ 2) ควรร่วมมือกับกระทรวงการคลังในการกำหนดนโยบายด้านสิทธิพิเศษทางภาษีให้กับบุคคล/หน่วยงานที่เข้าร่วมจัดกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมและให้ความสำคัญกับงานด้านผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น และ 3) ควรร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยในการขยายผลการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในทุกตำบล เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมได้มากขึ้น
The research on "Activities Reinforcing Value and Happiness of the Elderly in Elderly Schools" has 3 objectives: 1) to study the organizing process of activities for the elderly in elderly schools. 2) to study the particiation in organizing activities for the elderly. 3) to study the changes that occured to the elderly after participating in school activities. Five elderly schools under the Social Welfare Developlent Center for Older Persons are selected. The mixed methods research is used with 3 research tools: 1) the semi-structured interview for the elderly school's personnel using the in-depth interview. 2) the semi-structured interview for the participants in organizing activities using group conference 3) questionnaire for the selected elderly. All are selected by using purposive sampling. The study found that there are 4 steps to organize activities for the elderly schools which are; creating a curriculum, selceting instruction, managing education, and evaluation. The operational obstacles are based on 3 factors: 1) the factors from the elderly, i.e., their physical and mental readiness, traveling facilities, personal duties, communication, and self-adaption 2) the factors from the elderly schools, i.e., budget, location, the readiness of school buildings and learning equipment, public relations, and insufficiency of personnel to perform the activities 3) environmental factor that is a religion, which restrict the female elderly to participate in school activities. After the elderly have participated in educational activities in the elderly schools, there are changes at a high level of their self-esteem recognition as well as their overall physical, mental, social, and intellectual happiness. Suggestions from the study findings to the Ministry of Social Development and Human Security: 1) there should be a policy to raise funds for the elderly in order to create a budget to support the operation of the elderly. 2) there should be a cooperation with the Ministry of Finance to set a tax preferential policy for the persons/organizations participating in the activities for the elderly schools to encourage all sectors to pay more attention to the work for the elderly. 3) there should be a cooperation with the Ministry of Interior to expand the establishment of elderly schools in every sub-district to encourage elderly participation.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2563
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/175
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WILASINEE-YOTHIKAN.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.