Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1753
Title: พฤติกรรมในการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ครัวเรือนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Consumer Behavior in Selecting Home Furniture in Bangkok and Perimeter
Authors: พรรณราย แสงวิเชียร
วัลลีย์ แซ่หวัง
Keywords: การซื้อสินค้า
Shopping
พฤติกรรมผู้บริโภค
Consumer behavior
เครื่องเรือน
Furniture
อุตสาหกรรมเครื่องเรือน
Furniture industry and trade
Issue Date: 2006
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ครัวเรือนมีโอกาสเติบโตสูง เนื่องจากการฟื้นตัวของอสังหาริมทรัพย์ที่มียอดการซื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่พักอาศัยระดับราคาปานกลางมีค่อนข้างสูง ทำให้เกิดความต้องการเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านคุณภาพดีมากขึ้น สำหรับเฟอร์นิเจอร์ครัวเรือน นับเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกบ้านเรือนต่างมีความต้องการที่จะมีไว้เป็นเจ้าของ เพื่อมีไว้ใช้งานในชีวิตประจำวัน การพยายามศึกษาถึงพฤติกรรมในการเลือกใช้และซื้อของผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความได้เปรียบทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างสูงสุด ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ครัวเรือนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจำแนกตามลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส และลักษณะที่อยู่อาศัย รวมถึงปัจจัยทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มประชากรตัวอย่างคามความสะดวก จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลทำการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยส่วนใหญ่มีอายุ 30-39 ปี และ 20-29 ปี ตามลำดับ มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มากที่สุด โดยมีรายได้ต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นโสด และมีลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นทาวน์เฮาส์ รองลงมาเป็นบ้านเดี่ยว ผู้ตอบแบบสอบถามมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อเมื่อพิจารณาจากลักษณะการซื้อ คือ แบบแยกซื้อเป็นชิ้นตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากชนิดไม้ที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้ประดู่ และไม้แผ่นเรียบ เช่น ไม้อัด ไม้วีเนีย ตามลำดับ สถานที่เลือกซื้อ คือ โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ของแต่ละบริษัท รองลงมาคือ ร้านที่มีเฟอร์นิเจอร์ให้เลือกหลายยี่ห้อ โฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มตัวอย่าง คือ โฆษณาในนิตยสาร เช่น บ้านและสวน รองลงมาคือแจกใบปลิว ผู้ที่มีส่วนในการตัดสินใจส่วนใหญ่เป็นบุคคลในครอบครัว เช่น สามีหรือภรรยา รองลงมาคือ ญาติพี่น้อง อีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนทางการตลาดที่มีต่อการเลือกซื้อในระดับมากถึงมากที่สุด โดยพิจารณาด้านผลิตภัณฑ์ให้ความสำคัญกับความแข็งแรงทนทานของสินค้าและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากที่สุด ด้านราคาให้ความสำคัญระดับมากที่สุดกับสินค้ามีราคาที่เหมาะสม ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายให้ความสำคัญระดับมากกับการที่มีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ส่วนด้านการส่งเสริมการตลาดให้ความสำคัญระดับมากกับร้านค้าที่มีพนักงานที่มีความรู้ให้คำแนะนำได้ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ครัวเรือน โดยพิจารณาจากลักษณะการซื้อ ระดับการศึกษา รายได้ สถุานภาพสมรส มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ครัวเรือนโดยพิจารณาจากชนิดไม้ที่ซื้อ อายุ รายได้ สถานภาพสมรส ลักษณะที่อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ครัวเรือนโดยพิจารณาจากช่วงเวลาที่ซื้อ รายได้ สถานภาพสมรส ลักษณะที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ครัวเรือน โดยพิจารณาจากสถานที่ซื้อ เฟอร์นิเจอร์ครัวเรือนที่ทำมาจากไม้ชนิดต่างๆ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อด้านลักษณะการซื้อ ช่วงเวลาที่ซื้อและสถานที่ซื้อ ปัจจัยทางการตลาดด้านราคา เช่น ราคาที่เหมาะสม การมีส่วนลด มีระบบเงินผ่อน และการมีระบบชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อในส่วนของลักษณะการซื้อแต่่จะมีความสัมพันธ์กับชนิดไม้ที่ซื้อ ปัจจัยทางการตลาดด้านราคาในเรื่องราคาที่เหมาะสม ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อในส่วนของช่วงเวลาที่ซื้อและสถานที่ซื้อ ปัจจัยทางการตลาดด้านราคาในเรือง การมีส่วนลด มีระบบเงินผ่อน และการมีระบบชำระเงินผ่านบัตรเครดิตมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อในส่วนของช่วงเวลาที่ซื้อและสถานที่ซื้อ
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1753
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wallee-Saewang.pdf27.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.