Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1808
Title: รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดร้อยปี บ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา
Other Titles: Sustainable Cultural Tourism Management Model : A Case Study of Cultural Tourism Destination "Banmai One-Hundred Years Market" in Chachoengsao Province
Authors: ศิริรักษ์ บุญพร้อมรักษา
Sirirak Boonpromraksa
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
Heritage tourism -- Thailand -- Chachoengsao
ตลาดร้อยปีบ้านใหม่ (ฉะเชิงเทรา)
Banmai One-Hundred Years Market (Chachoengsao)
Issue Date: 2013
Citation: วารสารธุรกิจปริทัศน์ 5,1 (มกราคม-มิถุนายน 2556) : 79-96
Abstract: การศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา การท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมตลาดร้อยปีบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรม และกระบวนการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดร้อยปีบ้านใหม่ ศึกษา ลักษณะการบริหารตลาดร้อยปีบ้านใหม่ในปัจจุบัน และศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมอย่างยั่งยืนเพื่อการจัดการท่องเที่ยวตลาดร้อยปีบ้านใหม่ การศึกษานี้เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการใช้แบบสอบถาม (Questionaire) กับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมายังตลาดร้อยปี บ้านใหม่ จำนวน 400 ตัวอย่าง และใช้การสัมภาษณ์ (Interview) กับคณะกรรมการบริหาร และ ตัวแทนชาวชุมชนตลาดร้อยปีบ้านใหม่ จำนวน 14 ตัวอย่าง ผลการศึกษาทางด้านลักษณะพฤติกรรม และกระบวนการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีอายุ 21-30 ปี อาชีพ นักเรียน/นักศึกษา มีรายได้ไม่เกิน 7,000 บาท เหตุผลในการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ต้องการท่องเที่ยว/พักผ่อน จับจ่ายซื้อสินค้าทางวัฒนธรรม สำหรับการบริหารจัดการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน ทำโดยให้ชาวชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ ตลาดท่องเที่ยว ที่ควรได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง การจัดการทางการเงิน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมุ่งเน้นด้านการจัดการผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย สำหรับด้าน การจัดการสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก ชาวชุมชนมีการบริหารจัดการ มูลฝอยด้วยตัวเอง แต่ทั้งนี้ทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานยังต้องมีการพัฒนาเป็นอย่าง มากในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว
Sustainable Management of Cultural Tourism Case study of Cultural tourism Ban Mai 100 year Market in Chachoengsao Province. The purpose of this research is to study the behavior and the decision-making process of tourists visiting Ban Mai 100 year market, and current administration system of the market and to propose a plausible management model of sustainable cultural tourism management for Ban Mai 100 year Market. The data collected techniques of this study are questionnaire, interview and observation. The questionnaire which were constructed with 400 Thai tourists who visited the Ban Mai 100 year Market. The researcher conducted interview of 14 managerial team member of the market and the community representatives, and observed several activities of market and managing activities. The study showed that the most visitors were aged 21-30 years old, college students, who earn up to 7,000 baht per month, and the main reasons to visit were for pleasure, leisure and shopping cultural stuff. The study explained that the community aimed to participate and manage its own tourism to be sustainable with the public relation. However, The community should receive some supports from the government and private sectors continuously. In terms of financial management, the market has efficient and effective system, and focuses on stakeholders management. For environmental management, the community has managed waste by their own. However, the basic facilities still need to be developed for sustainable cultural tourism.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bahcuojs/article/view/156661/113665
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1808
Appears in Collections:Business Administration - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Heritage-tourism.pdf81.83 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.