Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1886
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างความเข้มแข็งทางใจที่เน้นการฝึกสติ และการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแนวไทเก๊กต่อความเครียดใน นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2
Other Titles: The Effectiveness of Resilience Enhancing Program with Mindfulness based on Stress Reduction and Tai Chi Muscle Relaxation Among Second Year Nursing Students
Authors: ทวีวรรณ บุปผาถา
ชนิกา เจริญจิตต์กุล
ทวีศักดิ์ กสิผล
ศิริยุพา นันสุนานนท์
สภาการชาดไทย. สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะพยาบาลศาสตร์
Keywords: ความเครียด (จิตวิทยา)
Stress (Psychology)
การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
Resilience (Personality trait)
ความสามารถในการฟื้นพลัง
ไทเก๊ก
Tai chi
สมาธิ
Meditation
การบริหารความเครียด
Stress management
นักศึกษาพยาบาล
Nursing students
Issue Date: 2022
Citation: วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 15,2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2565) : 161-173
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความเครียดของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสร้างความเข้มแข็งทางใจที่เน้นการฝึกสติและการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแนวไทเก๊ก 2) ความเครียดของนักศึกษาพยาบาลระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ กับกลุ่มที่ดำาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีคะแนนความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรง จำนวน 46 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย โปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจที่เน้นการฝึกสติและการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแนวไทเก๊ก แบบประเมินความเครียดของสวนปรุง กรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองนักศึกษาในกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และมีคะแนนเฉลี่ยความเครียดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) สรุปโปรแกรมสร้างความเข้มแข็งทางใจที่เน้นการฝึกสติและการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแนวไทเก๊กเป็นทางเลือกของการบำบัดวิธีหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ผ่อนคลายความเครียดของนักศึกษาพยาบาลได้ด้วยการมีสติ ตระหนักรู้ และสร้างความเข้มแข็งทางใจ เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ความเครียดในปัจจุบัน
The quasi-experimental research aimed to compare 1) stress in students before and after receiving the resilience-enhancing program with mindfulness based on stress reduction and Tai Chi muscle relaxation 2) stress in nursing students who received the resilience-enhancing program with mindfulness based on stress reduction and Tai Chi muscle relaxation, and those who participated in routine university activities. The subjects were 46 second year university nursing students who met the inclusion criteria and who were randomly assigned to the experiment group and control group. Research instruments consisted of the resilience quotient-enhancing program with mindfulness based on stress reduction and Tai Chi muscle relaxation and the Suanprung Stress Test-20. Data were analyzed by descriptive statistics and inferential statistics. The major finding were as follows: 1) Stress in the experiment group was significantly lower, at the .01 level after receiving the resilience enhancing program with mindfulness based on stress reduction and Tai Chi muscle relaxation, 2) Stress in experiment group was significantly lower than the control group at the .01 level. Conclusion: The resilience-enhancing program with mindfulness based on stress reduction and Tai Chi muscle relaxation is the one choice of alternative therapies. It could be used to reduce nursing students’ stress levels by increasing meditation and self-awareness and strengthen the mind to face modern stressors.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/view/250284/177676
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1886
ISSN: 1906-7925 (Print)
3027-6489 (Online)
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Stress.pdf88.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.