Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1923
Title: | การศึกษาพฤติกรรมวัยรุ่นต่อการซื้อ เทปและซีดี เพลงไทยสากลศึกษากรณี : นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | A Study of Teenage Behavior in Buying Thai Music Cassete Tapes and Compact Disks : A Case Study of University Students in the Bangkok Metropolitan Area |
Authors: | ยุทธนา ธรรมเจริญ Yuthana Thamcharoen กฤษณะ เถลิงเกียรติ Krissana Taleaongkieate Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | เพลงไทยสากล Music, Thai พฤติกรรมผู้บริโภค Consumer behavior นักศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ Students -- Thailand -- Bangkok. เทปเพลง ซีดีเพลง |
Issue Date: | 1999 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบส่วนผสมทางการตลาด เทปและซีดี เพลงไทยสากลในธุรกิจที่มีคู่แข่งมากรายและหลายระดับ 2. เพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของวัยรุ่นการตัดสินใจซื้อ เทปและซีดีเพลงไทยสากลของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 3. เพื่อศึกษาถึงระดับความน่าเชื่อถือในครั้งนี้เป็นการเชิงสำรวจแบบเจาะจงเพื่อศึกษาพฤติกรรมวัยรุ่นและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเทปและซีดีเพลงไทยสากล ศึกษากรณีนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครภาคปกติ จำนวน 320 คน ใน 10 คณะวิชาและแบ่งเป็นนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงเท่าๆ กัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Chi-Square ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ชอบฟังเพลงพ็อพ ที่ระดับมาก คิดเป็น ร้อยละ 43.1 ซึ่งถ้าแบ่งเป็นนักศึกษาชาย และนักศึกษาหญิงจะชอบฟังเพลงพ็อพ ที่ระดับมาก คิดเป็น ร้อยละ 42.5 และ 43.8 ตามลำดับ หากจะทำการวิเคราะห์ ไปถึงคณะวิชาที่ศึกษาแล้วพบว่า นักศึกษา คณะเกษตร คณะนิติศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ และคณะเศรษฐศาสตร์ จะชอบฟังเพลงพ็อพที่ระดับมาก คือ ประมาณ ร้อยละ 46.9 ถึง ร้อยละ 62.5 โดยนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 40.6 จะชอบฟังเพลงพ็อพที่ระดับมากที่สุดส่วนนักศึกษา คณะวิศวกรรมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชอบฟังเพลงร็อคที่ระดับมากถึง ร้อยละ 59.4 และ 46.9 โดยที่นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จะชอบฟังเพลงร็อคมากที่สุดถึงร้อยละ 34.4 และนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ ชอบฟังเพลงแจ็ซซ์ ที่ระดับมาก คือ ร้อยละ 34.4 นักศึกษาส่วนใหญ่จะมีทัศนคติเกี่ยวกับเพลงไทยสากล ที่มีเนื้อหาและความไพเราะชองบทเพลงเป็นที่ถูกใจโดยส่วนตัวของผู้ฟัง และมิได้คำนึงถึงค่ายเทปหรือรูปร่างหน้าตาของศิลปินมากนัก เพราะวัตถุประสงค์ในการฟังเพลงของและนักศึกษาส่วนใหญ่ใช้การฟังเพลงเพื่อการพักผ่อนสมอง จากการศึกษาและวิจัยครั้งนี้ นักการตลาด ผู้บริหารค่ายเทป และศิลปินนักร้องนักดนตรี เพลงไทยสากล ควรที่จะนำผลการศึกษาไปทำกลยุทธ์ทางการตลาดของผลงานเพลงไทยสากล โดยเน้นที่คุณภาพของผลงาน ที่ต้องมีความไพเราะ เนื้อหาของบทเพลงที่ถูกใจกับพฤติกรรมการฟังเพลงของกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งต้องเน้นรูปแบบเพลงพ็อพ หรือเพลงร็อค เป็นหลัก ในการผลิตผลงานออกมาวางจำหน่าย แต่ในบางกรณีอาจจะมีแนวเพลงหลายประเภทรวมกันอยู่ในหนึ่งอัลบั้มของศิลปินคนเดียวก็ได้ โดยที่ไม่ต้องเจาะจงว่าเป็นศิลปินแนวพ็อพ หรือศิลปินแนวร็อค ก็ได้ ในการหาสถานที่การจัดจำหน่ายนั้น จากผลการวิจัยพบว่า สถานที่การจัดจำหน่าย มิได้มีความสำคัญมากนัก เพราะผู้บริโภคจะคำนึงถึงเพียงแค่ ผลงานเพลงไทยสากล ในรูปแบบเทปและซีดี ของศิลปินนักร้องนักดนตรีที่ชื่นชอบ ว่ามีขายหรือไม่ แค่นั้นเอง สถานที่จำหน่ายจึงไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญมากนัก กลยุทธ์ในการส่งเสริมการขาย ผลงานของศิลปินนักร้องนักดนตรี จะต้องทำแผนโฆษณา ที่ต้องใช้เงินทุนมากในช่วงระยะเวลาแรกของการนำเสนอผลงาน จะต้องทำการเผยแพร่ทางรายการเพลงตามสถานีวิทยุ และโทรทัศน์เป็นหลัก เพราะสินค้า ประเภทนี้จะต้องสื่อกับกลุ่มผู้บริโภค ที่ต้องใช้ตัวกระตุ้นที่เห็นสื่อได้ชัดโดยการรับฟังเสียงและชมภาพ เท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นการส่งเสริมที่ถูกต้องและเป็นการตัดสินใจซื้อจากกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเป้ามหายหลักได้ง่ายขึ้น |
Description: | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2542 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1923 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Krisana-Taleungkiet.pdf Restricted Access | 12.21 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.