Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1927
Title: ดัชนีวัดระดับความสุขในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ : กรณีศึกษากลุ่มบริษัทในเครือ BDI Group
Other Titles: Happiness Index for the Employees Working in the Motorcycles Components Industrial : A Case Study of Affiliates BDI Group
Authors: ชรินพร งามกมล
กฤตนันท์ ประทุมเนตร
Keywords: ความสุข
Happiness
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- ลูกจ้าง
Automobile supplies industry -- Employees.
ความพอใจในการทำงาน
Job satisfaction
Issue Date: 2010
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาเรื่อง ดัชนีวัดระดับความสุขในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ : กรณีศึกษา กลุ่มบริษัทในเครือ BDI GROIP มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาระดับความสุขในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม 7 ด้าน คือ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสวัสดิการที่บริษัทจัดให้ ด้านค่าจ้างเงินเดือนและค่าตอบแทน ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมภายในหน่วยงาน ด้านโอกาสในความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านสภาพแวดล้อมและสภาพการทำงาน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ด้านอื่นๆ เพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบในการทำงานที่มีผลต่อระดับความสุขในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา รายได้ สังกัดบริษัท ส่วนงานที่ปฏิบัติ ระดับตำแหน่ง อายุงาน กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นพนักงานกลุ่มบริษัทในเครือ BDI GROUP ได้แก่ 1. บริษัท กรุงเทพไดอ์แคสซ์ติ้ง แอนด์ อินแจ๊กชั่น จำกัด 2. บริษัท บีดีไอ อัลลอย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 3. บริษัท บีดีไอ ทูลส์ แอนด์ โมลด์ จำกัด จำนวน 842 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า f-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อระดับความสุขในการทำงานด้านความสัมพันธ์ทางสังคมภายในหน่วยงานอยู่ในระดับมาก โดยภาพรวมพนักงานส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสุขในการทำงานด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสวัสดิการ ด้านโอกาสในความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านสภาพแวดล้อมและสภาพการทำงาน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตด้านอื่นๆ อยู่ในระดับปานกลาง และมีความคิดเห็นต่อระดับความสุขในการทำงานด้านค่าจ้างเงินเดือนและค่าตอบแทนอยู่ในระดับน้อย ส่วนจากผลจากการทดสอบ สมมติฐานพนักงานที่มี เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา รายได้ สังกัดบริษัท ส่วนงานที่ปฏิบัติ ระดับตำแหน่ง อายุงาน มีผลให้ระดับความสุข ในการทำงานที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ
Description: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2553
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1927
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krittanun-Prathumnet.pdf15.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.