Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/193
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระตุ้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักศึกษาและการกำหนดนโยบายบูรณาการเชิงรุก
Other Titles: Factors Stimulating Student Alcoholic Drinking and the Integrated Pro-Active Policy Guildelines.
Authors: จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
Jaturong Boonyarattanasoontorn
นิศานาถ เลิศพฤกษา
Nisanat Lertpugsa
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: สุรา
นักศึกษา
Liquors
Students
พฤติกรรมการดื่ม
Drinking behavior
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
Alcoholic beverages
Issue Date: 2012
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระตุ้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักศึกษาและการกำหนดนโยบายบูรณาการเชิงรุก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายและมาตรการในการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปัจจุบัน เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและเพื่อน ความคิดเห็นที่มีต่อการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและโทษพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักศึกษา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความคิดเห็นที่มีต่อการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักศึกษา และเพื่อศึกษาแนวทางในการป้องกันหรือละลดเลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และนำเสนอแนวทางดังกล่าวต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทำการสุ่มตัวอย่างนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน และสัมภาษณ์ผู้ให้ช้อมูลเป็นหลักเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการป้องกันหรือละลดเลือกการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักศึกษา จำนวน 4 คน ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ประกอบการร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และตัวแทนคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า 1. นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ไม่ดื่มสุรา บรั่นดี วิสกี้ ไวน์ และเหล้าปั่น แต่จะดื่มเบียร์เฉพาะโอกาสพิเศษ/ตามเทศกาล ร่วมกับเพื่อนสนิทที่บ้านหรือที่พัก โดยส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการดื่มต่อเดือนประมาณ 500-1,000 บาท 2. ปัจจัยที่ส่งเสริมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแแนเฉลี่ยเท่ากับ 2.75 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักศึกษาลำดับแรกคือเพื่อน โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 รองลงมา คือ สื่อโทรทัศน์ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.44 และญาติพี่น้อง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.11 เป็นลำดับสุดท้าย 3. แนวทางป้องกันพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักศึกษา คือ สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์และผู้ประกอบการหอพักจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันโดยการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักศึกษาในการคบเพื่อนและไม่ตกเป็นเหยื่อของสื่อที่กระตุ้นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกฮอล์อย่างจริงจัง จากการศึกษาดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสนใจกับพฤติกรรมของกลุ่มนักศึกษา โดยมีนโยบายที่กำหนดให้มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันมากกว่าการปล่อยละเลายให้เกิดการมั่วสุมตลอดจนการสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความสนใจและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กับทั้้งตนเองและเพื่อน เช่น โทษภัยของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ความรุนแรง ความสูญเสียทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น 2. สถาบันการศึกษาควรกำหนดเป็นนโยบายอย่างชัดเจนในการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักศึกษา ทั้งในบริเวณสถาบันการศึกษา และบริเวณโดยรอบสถาบันการศึกษา โดยการให้ข้อมูล ตัวอย่าง และผลกระทบต่างๆ ที่สามารถเปลี่ยนทัศนคติในการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ให้น้อยลง และเลิกดื่มได้ในที่สุด 3. สถาบันการศึกษาควรมีนโยบายร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการให้ความรู้ด้านกฎหมายและมาตรการในการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตลอดจนควบคุมแหล่งซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สร้างทัศนคติที่ถูกต้อง จัดกิจกรรมส่งเสริมและให้ความรู้แก่นักศึกษาถึงโทษภัยจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฝึกทักษะการคบเพื่อน ส่งเสริมการอบรมเลี้ยงดู และการเป็นแบบอย่างที่ดีของคนในสังคม รวมทั้งการบังคับใช้กฎระเบียบหรือกฎหมายในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเคร่งครัด
The Study of Factors Stimulatiing Students' Alcoholic Beverage Drinking and the Integrated Proactive Policy Guidelines aims the following objectives; to study the current policy on and measures to control alcohol drinking; to examine personel factors, family environmental and peer group factors, attitudes towards alcohol drinking, perceptions of the policies and hazards of alcohol drinking, and the students' alcohol drinking behaviors; to look into the relationship betweeb the students' personal factors and their attitudes towards alcohol drinking; and to explore ways to prevent of abstain/reduce/stop alcohol drinking and have them proposed to concerned agencies. Through quantitative and qualitative research methodology, 420 students of state and private universities located in Bangkok were sampled and interviewed. Four key informants, who were involved in preventing or encourage the students to reduce/abstain/stopn drinking alcohol, included a university lecturer, a policeman, an owner of a shop selling alcohol drinks and a representative of the Bangkok Metropolitan Administration's Alcohol Drinking Control Committee. The study findings were as follows: 1. Most of the students of Bangkok's state and private universities did not drink spirits, brandies, whiskies, wines and frozen cocktails. Only on special occasions/seasons, they would drink beers with their close friends at home or domitories. Mostly, they spent about 500-1,000 baht a month for their drinking. 2. Overall, thw factors stimulating student alcohol driking produced a moderate average point of 2.75. Considering individual stimulating factors, peer group ranked first with an average of 3.94, followed by television (programmes/advertising) with 3.44 and relatives ranked last with 2.11. 3. Measures to prevent students from drinking alcohol must include the participation of educational and family institutions, state agencies, sellers of alcoholic beverages and dormitory operators by promoting the students' awareness of keeping good company and not being easy preys for media promoting alcohol drinking, as well as strictly enforcing alcoholic beverage control laws. Based on the study findings, the author has the following recommendations. 1. Family and educational institutions as well as concerned agencies should pay attention to student behaviors by adopting policies requiring students to engage in beneficial activities instead of letting them hanging around. The students shouls also be made well aware of alcohol drinking impacts so that they are adequtely informed to realize potential impacts of alcohol drinking - such as its harmfulness to body organs and economic and social loss and severity caused by alcohol drinking - on themselves and their friends. 2. Educational institutes should have a clear policy on the prevention of student alcohol drinking, both within and around their premises. The students should be provided with information and cases in point and informed of various impactes so that they can change their attitudes to drink less and finally stop drinking. 3. Educational institutes should cooperate with concerned agencies such as the Ministries of Public Health and Social Development and Human Security as well as National Police Bureau, in formulating policies concerning alcohol drinking. These include providing the information about alcohol drinking control laws and measures, restricting alcoholic beverage outlets, promotiong proper attitudes towards drinking, hosting activities and events to inform students of the risked of drinking, coaching them on how to keep good company, encouraging character building and being a role model to society, and strictly enforcing alcohol drinking control laws.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/193
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nisanat-Lertpugsa.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.