Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1977
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชุติระ ระบอบ | - |
dc.contributor.advisor | Chutira Rabob | - |
dc.contributor.author | กาญจนา แสงสุดสี | - |
dc.contributor.author | Kanchana Sangsudsee | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.date.accessioned | 2024-03-31T01:14:07Z | - |
dc.date.available | 2024-03-31T01:14:07Z | - |
dc.date.issued | 2012 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1977 | - |
dc.description | การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาอิสระเรื่อง การวิเคราะห์ต้นทุนคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษาโรงงานบรรจุภัณฑ์กระดาษ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงองค์ประกอบของต้นทุนคุณภาพของการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษ และศึกษาปัญหาคุณภาพ โดยการวิเคระห์จากต้นทุนคุณภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพขององค์กร จากการศึกษาสภาพปัจจุบันของโรงงาน โดยเฉพาะกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษ พบว่า โรงงานประสบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพสินค้าค่อนข้างมาก เช่น มีของเสียในกระบวนการผลิต ซึ่งมีสาเหตุมาจากสินค้าด้อยคุณภาพ มีการซ่อมแซมงานและนำงานกลับมาทำใหม่ในกระบวนการผลิต ลูกค้าร้องเรียนเรื่องคุณภาพของสินค้า เป็นต้น ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายเนื่องจากคุณภาพสินค้าสูง ดังนั้น ทางโรงงานจึงต้องการข้อมูลที่ใช้ในการวัดผลในรูปของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากคุณภาพของสินค้า โดยต้นทุนคุณภาพเป็นตัววัดผลทางการเงินตัวหนึ่งที่ใช้ในการบ่งชี้และช่วยให้พนักงานคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นเนื่องจากคุณภาพสินค้า ผู้ศึกษาจึงได้มีการแยกประเภทของต้นทุนคุณภาพโดยใช้ข้อมูลของเสีย ข้อมูลการจัดการงานที่ถูกกักกันด้านคุณภาพ และกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพในปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2554 โดยเริ่มจากการวิเคราะห์กิจกรรมและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น การคำนวณค่าใช้จ่ายแล้วแยกประเภทค่าใช้จ่ายนำไปสู่การวิเคราะห์ต้นทุนคุณภาพแต่ละประเภท ผลการวิเคราะห์ข้อมุลทำให้ทราบองค์ประกอบของต้นทุนคุณภาพของการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษ โดยเรียงลำดับของต้นทุนคุณภาพได้ดังนี้ 1) ต้นทุนคุณภาพด้านความผิดพลาดภายในมีสัดส่วน ร้อยละ 2.3 2) ต้นทุนคุณภาพด้านการประเมิน มีสัดส่วน ร้อยละ 0.33 3) ต้นทุนคุณภาพด้านการป้องกัน มีสัดส่วน ร้อยละ 0.14 และ 4) ต้นทุนคุณภาพด้านความผิดพลาดภายนอก มีสัดส่วนร้อยละ 0.05 ตามลำดับ ทำให้ทางโรงงานสามารถมองเห็นปัญหาคุณภาพได้อย่างชัดเจนและเป็นแนวทางในการหาวิธีลดต้นทุนอันเนื่องมาจากปัญหาด้านคุณภาพได้ ตลอดจนเป็นแนวทางในการศึกษาสำหรับหาวิธีการลดต้นทุนคุณภาพของอุตสาหกรรมเดียวกันได้ | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.rights | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | ต้นทุนทางอุตสหากรรม | th |
dc.subject | Costs, Industrial | th |
dc.subject | การวิเคราะห์คุณค่า (การควบคุมต้นทุน) | th |
dc.subject | Value analysis (Cost control) | th |
dc.subject | การควบคุมต้นทุน | th |
dc.subject | Cost control | th |
dc.title | การวิเคราะห์ต้นทุนคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรม : กรณีศึกษา โรงงานบรรจุภัณฑ์กระดาษ | th |
dc.title.alternative | Quality Cost Analysis of Industrial Plant : A Case Study of the Paper Packaging Factory | th |
dc.type | Independent Studies | th |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การจัดการอุตสาหกรรม | th |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanchana-Sangsudsri.pdf Restricted Access | 34.43 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.