Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1981
Title: ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจต่อธุรกิจโรงพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสามมิตร (สุขุมวิท)
Other Titles: Impact of the Economic Crisis to Hospital Industry : A Case Study of the Sammit Hospital (Sukumvit)
Authors: กุศยา ลีฬหาวงศ์
Kusaya Leerahawong
กัลยา บุญสนอง
Kalaya Boonsanong
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: โรงพยาบาลสามมิตร (สุขุมวิท)
Sammit Hospital (Sukumvit)
วิกฤตการณ์การเงิน -- ไทย
Financial crises -- Thailand
โรงพยาบาล -- การบริหาร
Hospitals -- Administration
การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
Economic impact analysis
Issue Date: 2002
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: ภาคนิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาถึงผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ที่มีต่อโรงพยาบาลสามมิตร (สุขุมวิท) ศึกษาแนวทางและกลยุทธ์ ที่โรงพยาบาลใช้ในการปรับตัวในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยศึกษาถึงผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจที่มีผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลสามมิตร (สุขุมวิท) ในช่วงระหว่างปี 2538-2544 โดยข้อมูลทุติยภูมิ ในปี 2540 ประเทศไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศลดลงอย่างมาก รัฐบาลประกาศเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศจากระบบผูกค่าเงินบาทกับตะกร้าเงินมาเป็นแบบลอยตัว ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนั้นโรงพยาบาลสามมิตร (สุขุมวิท) มีหนี้เงินกู้จากต่างประเทศจำนวน 57 ล้านเหรียญสหรัฐ ความผันผวนอย่างรุนแรงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้โรงพยาบาลมีหนี้เงินกู้ต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นจำนวนมาก พร้อมภาระดอกเบี้ยจ่ายก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาถึงสภาพแวดล้อมทั่วไป การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค การบริหารคุณภาพรวม ภาวะเศรษฐกิจและวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 โครงสร้างเงินทุนของโรงพยาบาล การวิเคราะห์ทางการเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ จากการศึกษาครั้งนี้โรงพยาบาลสามมิตร (สุขุมวิท) มีปัญหาหลัก 2 ประการ 1. ผลกระทบจากการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 2. ประสิทธิภาพการดำเนินงานลดลง ทำให้โรงพยาบาลต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โรงพยาบาลสามมิตร (สุขุมวิท) ได้แก้ปัญหาโดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพิ่มทุนจดทะเบียนและเรียกชำระ เพิ่มมาตรการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย กู้ยืมเงินจากธนาคารในประเทศเพื่อนำมาเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ปรับโครงสร้างเงินทุน ปรับปรุงห้องพักผู้ป่วย ซื้อเครื่องมือทางการแพทย์เพิ่มเติม ดังนั้น โรงพยาบาลสามมิตร (สุขุมวิท) ควรมีการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย การปรับปรุงคุณภาพของบริการและประสิทธิภาพในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และความยืดหยุ่นต่อสภาวะการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ฝ่ายบัญชีการเงินควรมีการตรวจสอบติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อลดความเสี่ยงทางการเงิน
Description: ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1981
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kunlaya-Boonsanong.pdf
  Restricted Access
7.17 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.