Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1989
Title: การปรัปรุงกระบวนการผลิตด้วยวิธีการผลิตแบบทันเวลา : กรณีศึกษา บริษัท ไทยซัมมิทโอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด
Other Titles: Production Process Improvement by Using Just - In -Time : A Case Study of Thai Summit Autoparts Industry Co., Ltd.
Authors: พรไพบูลย์ ปุษปาคม
Pornpaiboon Pushpakom
กาญจนภัทร ศรีภูมิ
Kanjanapattara Sriphoom
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: การควบคุมกระบวนการผลิต
Process control
การวางแผนการผลิต
Production planning
ระบบการผลิตแบบทันเวลา
Just-in-time systems
Issue Date: 2008
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษากระบวนการผลิตที่เกี่ยวกับการผลิตแบบทันเวลาพอดีโดยใช้ระบบ Kanban เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบการผลิตบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ผู้ดำเนินโครงการจึงได้ศึกษาวิเคราะห์ส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบการผลิตบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ผู้ดำเนินโครงการจึงได้ศึกษาวิเคราะห์และสรุปผลที่ได้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ระบบ Kanban ในอุตสาหกรรมจริง การศึกษาการปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยวิธีการแบบระบบคัมบัง กรณีศึกษา การผลิตงานในกระบวนการประกอบของบริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด วัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาแนวคิดของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี พร้อมทั้งเพื่อศึกษาถึงวิธีการผลิตและแบบทันเวลาพอดีของกรณีศึกษาบริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด โดยมีระบบคัมบัง (Pull System) ช่วยควบคุมการผลิต ซึ่งการศึกษานี้ได้เลือกอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีการผลิตแบบผสม สามารถใช้เครื่องมือการผลิตแบบระบบคัมบัง ของระบบการผลิตแบบ JIT (Just-In-Time Production) คือ แผนภูมิแผนภาพ MIFC (Material and Information Flow Chart) สถานการณ์ปัจจุบันช่วยจำแนกคุณค่าของกระบวนการผลิต ใช้วิเคราะห์ทางเลือก ประเมิน โดยใช้สายการผลิตตัวอย่างวิเคราะห์ปัจจัยทั้งหมด 3 ปัจจัย ได้แก่ การปรับเรียบการผลิต (Smoothing of Production) การวางผังติดตั้งเครื่องจักร (Design of Machine Layout) และการกำหนดมาตรฐานงาน (Standardization of Job) จากผลการศึกษาจำลองขจัดความสูญเปล่าสามารถลดระยะ Lead Time เวลาการผลิตรวมจาก Target 55,154.70 วินาที มาเป็น 28,856.26 วินาที หรือคิดเป็นร้อยละ 74 และสามารถเพิ่ม Productivity ในสายการผลิตถึงร้อยละ 50 จากนั้นจึงนำมาสร้างแผนภูมิแผนภาพ MIFC (Material and Information Flow Chart) สถานการณ์อนาคตใหม่ ซึ่งการศึกษานี้ได้ทำให้เกิดความเข้าใจถึงกระบวนการผลิตและโมเดลที่ใช้ระบบ Kanban สามารถใช้หาผลเฉลี่ยที่เหมาะสมที่สุดได้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นในโอกาสต่อไป
Description: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1989
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanchanapat-Sripoom.pdf
  Restricted Access
8.64 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.