Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2005
Title: | ความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์การ : กรณีศึกษาบริษัท เอ ซี เอ เครื่องมืออุตสาหกรรม จำกัด |
Other Titles: | The Loyalty of Employee to Organization : A Case Study of A C A Industrial Tools Company Ltd. |
Authors: | ชุติระ ระบอบ Chutira Rabob ขวัญจิต ประไกรวัน Khwanjit Prakaiwan Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | ความผูกพันต่อองค์การ Organizational commitment ความพอใจในการทำงาน Job satisfaction ความภักดีของลูกจ้าง Employee loyalty บริษัท เอ ซี เอ เครื่องมืออุตสาหกรรม จำกัด |
Issue Date: | 2009 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง ความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์การ กรณีศึกษา : บริษัท เอ ซี เอ เครื่องมืออุตสาหกรรม จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจระดับความจงรักภักดีต่อองค์การ ของพนักงานทั่วไปของบริษัท เพื่อสำรวจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานบริษัท เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานบริษัท การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีกรอบแนวคิดในการวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การ 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยจูงใจในการทำงาน ปัจจัยสุขอนามัย และความต้องการของบุคลากรในการทำงาน โดยมีตัวแปรอิสระประกอบด้วย ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส อายุ ระยะเวลาในการทำงาน ระดับการศึกษา อัตราเงินเดือน จากพนักงานกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 120 คน และวิเคราะห์ค่าสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่า F-test ลักษณะทั่วไปของประชาการกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 68.3 มีอายุไม่เกิน 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 35.8 มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 60.0 มีการศึกษาในระดับ ปวส./ปวช. คิดเป็นร้อยละ 59.2 มีระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.2 อัตราเงินเดือน ต่ำกว่า 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 47.5 เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานบริษัท พบว่าปัจจัยมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ปัจจัยจูงใจ (x̄ = 3.270 S.D. = 0.431) รองลงมา คือ ปัจจัยสุขอนามัย (x̄ = 3.179 S.D. = 0.423) ความต้องการของบุคคลในการทำงาน (x̄ = 3.149 S.D. = 0.610) ผลจากการทดสอบสมมติฐาน เมื่อพิจารณาความจงรักภักดีในภาพรวม จะพบว่าพนักงานมีความจงรักภักดีต่อบริษัทอยู่ในระดับปานกลาง พนักงานบริษัทที่มีระดับการศึกษาและระยะเวลาในการทำงานต่างกันมีความจงรักภักดีต่อองค์การไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาพบว่าพนักงานที่มีระดับการศึกษา ปวส./ปวช. มัธยมศึกษา และปริญญาตรี มีความจงรักภักดีต่อองค์การอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 3 กลุ่ม เช่นเดียวกับพนักงานที่มีระยะเวลาในการทำงานน้อยกว่า 1 ปี 1-2 ปี 3-4 ปี และมากกว่า 4 ปี พนักงานบริษัทที่มีอัตราเงินเดือน ต่างกันมีความจงรักภักดีต่อองค์การโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นปัจจัยจูงใจไม่แตกต่างกัน จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า พนักงานที่อัตราเงินเดือนสูงกว่า มีความจงรักภักดีต่อองค์การสูงกว่าพนักงานที่มีเงินเดือนต่ำกว่า |
Description: | การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2005 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kwanchit-Prakaiwan.pdf Restricted Access | 13.67 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.