Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2007
Title: | ความพึงพอใจด้านค่าตอบแทนสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานในระบบการจ้างงานผ่านบริษัทรับจ้างเหมาแรงงาน : กรณีศึกษาพนักงานกลุ่มบริษัท เคที ซัพคอนแทรค จำกัด |
Other Titles: | The Satisfaction on Compensation, Welfare and Fringe Benefit of the Labors Employed by Subcontract System Company : A Case Study of KT. Subconrtact Company Limited |
Authors: | พวงชมพู โจนส์ Puangchompoo Jones ขวัญชัย ทองพลี Khwanchai Tongplee Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | สวัสดิการในโรงงาน Industrial welfare สวัสดิการลูกจ้าง Employee fringe benefits ความพอใจในการทำงาน Job satisfaction |
Issue Date: | 2011 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจในด้านค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานในระบบการจ้างงานผ่านบริษัทรับจ้างเหมาแรงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความต้องการและความเหมาะสม ด้านค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานที่จ้างผ่านบริษัทรับจ้างเหมาแรงงาน ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและอาจเป็นสาเหตุการเปลี่ยนงานของพนักงานในอนาคต อีกทั้ง เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านการจัดสวัสดิการของผู้ใช้แรงงานที่จ้างผ่านบริษัทรับจ้างเหมางานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป ซึ่งการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเลือกพนักงานในกลุ่มบริษท เคที ซัพคอนแทรค จำกัด เป็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้นจำนวน 850 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจับ ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 300 ชุด โดยได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ค่าสถิติ คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ รวมทั้งทดสอบสมมติฐานในการศึกษาโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) ได้แก่ แมนวิทนีย์ (Mann-Whitney Test) ในการทดสอบคำถามลักษณะบุคคลในด้านเพศ และลักษณะงานที่ทำของกลุ่มตัวอย่างและสถิติ คลัสคลอ วัลลิส (Kruskal-Wallis Tests) โดยกำหนดค่านัยสำคัญของการคำนวณเป็น 0.05 ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอย่ในช่วง 21-30 ปี มีสถานภาพโสดและยังไม่มีบุตร การศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 56.3 ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายวัน มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 5,000-10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 70.1 ทำงานมาเป็นระยะเวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 52.1 และส่วนใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานการผลิต ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 59.1 ทั้งนี้ ผลจากการสำรวจความคิดเห็นด้าน ความพึงพอใจเกี่ยวกับสวัสดิการแรงงานของกลุ่มตัวอย่างพบว่า สวัสดิการแรงงานที่กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ สวัสดิการแรงงานเกี่ยวกับนโยบายด้านการจ่ายเงินพิเศษ หรือค่าทำงานล่วงเวลาในอัตราที่เหมาะสม และเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้าง รองลงมาได้แก่ บริษัทมีการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ ค่าล่วงเวลา และค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุด เช่น วันหยุดตามประเพณีนิยมในอัตราที่เป็นธรรม อีกทั้ง นโยบายในการบริการรถรับ-ส่งระหว่างที่พักและที่ทำงานแก่ลูกจ้างอย่างเพียงพอ และผลจากการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ พบว่า สิทธิประโยชน์แรงงานที่กลุ่มตัวอ่างมีความต้องการมากที่สุด ได้แก่ สิทธิประโยชน์ในการจัดการฝึกอบรม เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครืองจักร แก่ลูกจ้าง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รองลงมาได้แก่ นโยบายในการให้ใบประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัลสำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะประจำปี และนโยบายในการคืนสิทธิการลาพักผ่อนประจำปีเป็นเงินให้แก่ลูกจ้างในทุกๆ สิ้นปี อีกทั้งนโยบายในการช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาลให้แก่ลูกจ้างในกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับความพึงพอใจด้านค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานในระบบการจ้างงานผ่านบริษัทรับจ้างเหมาแรงงาน กล่าวคือ บริษัทผู้ว่าจ้างและบริษัทผู้รับจ้างควรจัดให้มีนโยบายด้านสวัสดิการแรงงาน โดยการจ่ายเงินพิเศษหรือค่าทำงานล่วงเวลาในอัตราที่เหมาะสม และให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้าง อีกทั้งควรจัดให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ในด้านการได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แก่ลูกจ้างอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ส่วนสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ในด้านอื่นๆ ของพนักงานบริษัทผู้ว่าจ้าง และบริษัทผู้รับจ้างควรรักษาไว้และร่วมกันพิจารณาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของลูกจ้าง |
Description: | การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2007 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kwanchai-Thongplee.pdf Restricted Access | 15.88 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.