Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2009
Title: | ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี |
Other Titles: | People's Satisfaction to the Service of the Takhiantia Municipality's Officers Banglamung District |
Authors: | พวงชมพู โจนส์ Puangchompoo Jones กุลสญา สายสร้อย Kunsaya Saysroi Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ. Takhiantia Municipality -- User satisfaction ตะเคียนเตี้ย (ชลบุรี) Takhiantia (Cholburi) การปกครองท้องถิ่น -- ไทย -- ชลบุรี Local government -- Thailand -- Chon Buri. |
Issue Date: | 2009 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาเรื่องความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่เทศบาล ตำบลตะเคียนเตี้ยว อำเภอบางละมุง จังหวัดดชลบุรี เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านการใช้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย และเพื่อศึกษาถึงปัญหา และความต้องการของประชาชนในการใช้บริการเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย โดยการศึกษาเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในเขตเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย จำนวน 400 ชุด โดยการวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานข้อแรก ในส่วนของเพศของผู้มาใช้บริการใช้สถิติ Mann-Whitney Test ในการทดสอบสมมติฐานที่มีประชากร 2 กลุ่ม ได้แก่ ข้อมูลด้านเพศของกลุ่มตัวอย่าง และใช้สถิติ Kruskal-Wallis Test ในการทดสอบสมมติฐานที่มีประชากรมากกว่า 2 กลุ่ม ซึ่งการแจกแจงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างมีการสุ่มตัวอย่างมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติ ดังนั้น จึงใช้ค่าสถิติแบบไม่ใช้พารามิเตอร์ (Non Parametric Statistic) โดยกำหนดค่านัยสำคัญของการคำนวณเป็น 0.05 สรุปผลการศึกษาดังต่อไปนี้ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.8 มีช่วงอายุ 21-30 ปี ร้อยละ 35.8 มีสถานภาพสมรส คือ สมรสแล้ว ร้อยละ 49.0 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมหรือต่ำกว่า ร้อยละ 24.5 มีอาชีพ คือ พนักงานบริษัท/เอกชน ร้อยละ 33.2 ปัจจัยด้านการมาใช้บริการ พบว่ ประเภทของบริการที่มาใช้บ่อยที่สุด คือ การให้บริการด้านการจัดเก็บรายได้ อาทิ การยื่นเสียภาษีต่างๆ อาทิ ภาษีบำรุงพื้นที่ / ภาษีที่ดิน / ภาษีป้าย / ภาษีโรงเรือน ร้อยละ 30.8 โดยช่วงเวลาที่มาติดต่อขอรับบริการ พบว่า ส่วนใหญ่มาติดต่อขอรับบริการในช่วงเวลา 8.30-10.00 น. ร้อยละ 39.8 ซึ่งระยะเวลาในการใช้บริการนับตั้งแต่รับบัตรคิวจนเสร็จ พบว่าส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลา 16-30 นาที ร้อยละ 35.2 และวันที่มาติดต่อ พบว่า ส่วนใหญ่มาติดต่อในวันจันทร์ ร้อยละ 45.5 ความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ยว พบว่าด้านที่ประชาชนมีความพึงพอใจมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่หนึ่ง ด้านผู้บริหารเทศบาลมีระดับความพึงพอใจในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.86) อันดับที่สอง คือ ด้านบุคลากรซึ่งมีความพึงพอใจในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.80) และอันดับที่สาม ด้านการบริหารองค์การ โดยมีความพึงพอใจในระดับมากเช่นกัน (ค่าเฉลี่ย 3.74) ตามลำดับ สำหรับการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ยที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่เทศบาลของเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ยทั้งในภาพรวม และรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และประชาชนในเขตเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ยที่มีปัจจัยด้านการมารับบริการที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่เทศบาลของเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ยทั้งในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาโดยขอเสนอให้เทศบาลปรับปรุงพัฒนาในประเด็นที่ประชาชนมีความพึงพอใจในด้านต่างๆ นี้ เป็นลำดับสุดท้าย คือ เรื่องความโปร่งใส่ และตรวจสอบได้ของการทำงานของเทศบาล การให้บริการด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกัน การบริหารงานที่เน้นความซื่อสัตย์ สุจริตควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และแสดงให้สาธารณะชนสามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนส่งเสริมให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น มีการจัดการในด้านสถานที่สำหรับคอยรับบริการให้มีความเป็นสัดส่วนเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และการมีนโยบายด้านการจัดห้องสมุดชุมชน ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เทศบาลควรให้ความสำคัญ และควรจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการด้านการส่งเสริมความรู้ของประชาชน อาทิ จัดทำห้องสมุดชุมชน จัดห้องกิจกรรม / ลานแสดงผลงานสำหรับเด็ก ๆ ลานกีฬา ศูนย์การเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น อันเป็นการจัดพื้นที่ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น |
Description: | การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2009 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kulsaya-SaiSoy.pdf | 16.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.