Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/202
Title: การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลศรีธัญญา
Other Titles: Family Social Support for Mental Disorder Patients in Srithanya Hospital.
Authors: ภุชงค์ เสนานุช
Puchong Senanuch
พงษ์อรุณ สมบัติรักษ์
Pongaroon Sombutruk
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: ผู้ป่วยจิตเวช
การสนับสนุนทางสังคม
Family nursing
การพยาบาลครอบครัว
Psychotherapy patients
Social support
Issue Date: 2009
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเรื่อง "การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลศรีธัญญา" ในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้มุ่งที่จะศึกษาถึงการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวผู้ป่วยจิตเวช ที่มาพบนักสังคมสงเคราะห์ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีธัญญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางจิตเวชของครอบครัวผู้ป่วยจิตเวข ศึกษาถึงทัศนคติของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวช ศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของครอบครัวผู้ป่วยจิตเวช ศึกษาถึงทัศนคติของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวช ศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของครอบครัวต่อการดูแลผู่ป่วยจิตเวช และศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และบทบาทต่อหน้าที่ของครอบครัวในการดูแลกับการสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ป่วยจิตเวช โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ประกอบการสัมภาษณ์ซึ่งเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 234 ราย จากการเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ ระหว่าง 41-50 ปี โดยมีสถานภาพสมรส ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี โดยมีรายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีสถานภาพความสัมพันธ์เป็นบิดา/มารดาของผู้ป่วย และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการป่วยน้อยกว่า 5 ปี สำหรับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเวช พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของการเจ็บป่วย อาการ และวิธีการรักษาทางจิตเวชในระดับมากทุกด้าน ส่วนด้านทัศนคติผู้ป่วยจิตเวช พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อผู้ป่วยจิตเวชไปในเชิงบวก โดยกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อผู้ป่วยจิตเวชในระดับมาก สำหรับด้านบทบาทของครอบครัวต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวช พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีบทบาทหน้าที่ทางด้านครอบครัวต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในระดับมาก ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างมีการสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ป่วยจิตเวช ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านสิ่งของและกายภาพ ด้านการสนับสนุนทางสังคม และด้านข้อมูลข่าวสารในระดับมากอีกด้วย จากการทดสอบสมมติฐานในการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพสมรสแบบมีคู่สมรส มีการสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ป่วยจิตเวชน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่าง ที่มีสถานภาพสมรสที่เป็นหม้าย กลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษามีการสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ป่วยจิตเวชน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่งที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเวช ทัศนคติของครอบครัวต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และการแสดงบทบาทหน้าที่ของครอบครัวต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ต่างกันมีการสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ป่วยจิตเวชแตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชต่างกัน มีการสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ป่วยจิตเวชไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ได้แก่ ผู้ป่วยไม่ยอมรับการเจ็บป่วย ขาดการรักษาต่อเนื่อง ญาติไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วย ญาติขาดความรู้ความเข้าใจด้านจิตเวช และไม่สะดวกในการเดินทางมาพบแพทย์ และส่วนที่เป็นข้อเสนอแนะ ได้แก่ ญาติควรมีเวลาดูแลผู้ป่วย ไม่ควรทิ้งให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง ญาติควรมีทักษะในการสื่อสารกับผู้ป่วย สังคมควรเปิดกว้าง มีการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ ความเข้าใจกับโรคจิตเวช และควรมีสถานที่ให้ผู้ป่วยได้มีอาชีพ และมีศักยภาพในการดำเนินชีวิต ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ในระดับนโยบายและการปฏิบัติงาน ผู้วิจัยเห็นว่า ควรผลักดันให้เกิดนโยบายในระดับกรมสุขภาพจิต ในเรื่องการให้ความรู้ ความเข้าใจ การสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวชให้กับครอบครัว ส่วนในระดับโรงพยาบาลจิตเวชควรสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมโดยให้เกิดการปฏิบัติงานกับครอบครัว ชุมชน และสังคม เช่น การสนับสนุนกิจกรรมชมรมญาติผู้ป่วยจิตเวช การประชาสัมพันธ์เรื่องโรคทางจิตเวช ศักยภาพของผู้ป่วยจิตเวชตามสื่อต่างๆ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน เช่น ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการดูแลสุขภาพใจ ฯลฯ และควรสนับสนุนให้เกิดการสื่อสารในระดับทีมสหวิชาชีพเพื่อความสอดคล้องในการให้บริการกับผู้ป่วยและครอบครัวตามบทบาทของแต่ละวิชาชีพ นอกจากนี้ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้ที่มีประสบการณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชมีช่องทางหรือเครือข่าย เพื่อสรุปบทเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวช สำหรับข้อเสนอแนะต่อผู้ป่วยและครอบครัว เห็นว่า ครอบครัวควรให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานทางด้านจิตเวชเพื่อเพิ่มระดับความรู้ และเกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันหรือเกิดกลุ่มในการช่วยเหลือประคับประคองกัน ซึ่งจะทำให้ครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างยั่งยืนต่อไป
This study aimed to measure knowledge, understanding of mental disorders patients' families on psychosis, to study attitude of patient's families toward mental disorders, to study roles of families in providibg care to mental disorders and to study correlation between knowledge, understanding, attitudes and roles of family in helping and social supporting to mental disorder persons. The research methodology was quantitative research by using questionnaire to collecting data total 234 cases. Findings are as follows: The majority of family members involved in providing care to patients have been female with an age range of 41-50 years. Most are marries and the families' avarage income is between 10,001-20,000 Baht. The majority of patients were father and mothers of these family members. From the sampke group, patients in relation to these females have been disgnosed with illness for less than 5 years. It was concluded that this group had a good understanding of the root cause of the illness and had a good understanding of how to provide proper care towards patients. Their attitudes were generally positive and had close affection towards the patients. They also took on a proactive role in providing care and support to patients in the areas of providing emotional support, physical sustanance, social awareness, and general information. During our studies we found that individuals in the sample group that were married received less help from social welfare than those that were widowed. Those with an elementary level education received less help than those with a bachelor's degree. There is evidence that shows that these differences led to a different type or relationship with the patients. There was also a different level of knowledge and understanding of necessary actions to help better treat patients in conjunction with social support. In addition to these findings it was found that social support offered and provided equal care regardless of the sample group's sex, age, monthly income, and time with the patients. Moreover, the sample groups provided information in regards to the problems, issues, and recommendations in regards to patients' families. They voiced that problems with patients were generally around patients' denial, incomplete treatment, relatives lacking time to look after patient, relatives lacking an understanding of psychology, and difficulty in traveling to meet doctors. They suggested that the patient's relatives should making more time for patients, not leaving patients alone, relatives should properly communicating with patients, the involving agency should increase awareness around psychology issues to public, providing work for patients, and promoting better quality of life. The research recommended that, at the policy level the Mental Health Depertment should educate and create a good attitude on mental disorders to family and public, at practice level, the mental hospital should provide variety activities to support the patient's family and advocate families and communities through difference media. Theu should work as an interdisciplinary team in helping the patients and families. The families should also cooperate with the team to providing care for the patients. The further research should be compare with another mental hospital and should focus on the process of the treatment include; before treatment, between and after treatment to know what are the support and knowledge in providing properly care for those who suffer from psychosis.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/202
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf5.89 MBAdobe PDFView/Open
TableofContents.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf10.2 MBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf84.04 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf6.46 MBAdobe PDFView/Open
Chaptre4.pdf36.15 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf12.37 MBAdobe PDFView/Open
References.pdf15.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.