Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2037
Title: การสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเพชรสมุทรคีรี โครงการเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร “บ้านเพชรเพลินดิน”
Other Titles: Creating a Product Identity to Enhance the Community of Phet Samut Khiri Economic Community Project “Ban Phet Plen Din”
Authors: มรกต กำแพงเพชร
ระชานนท์ ทวีผล
ฐิติมา พูลเพชร
นิธิกร ม่วงศรเขียว
Morakhot Kamphaengphet
Rachanon Taweephol
Thitima Pulpetch
Nitikorn Muangsornkhiaw
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Silpakorn University, Phetchaburi. Faculty of Management Science. Department of Business Administration Program in Hotel Management
Silpakorn University, Phetchaburi. Faculty of Management Science. Department of Business Administration Program in Tourism Management
Lampang InterTech College, Bangkok. Business Administration Program in Human Resource Management
Keywords: ชื่อตราผลิตภัณฑ์
Brand name products
การรับรู้
Perception
การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์
Branding (Marketing)
อัตลักษณ์
Identity (Philosophical concept)
เพชรสมุทรคีรี
Phetchsamuthkhiri
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
Issue Date: 2019
Citation: วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 13,2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2562) : 136-153
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและทบทวนอัตลักษณ์ท้องถิ่นของกลุ่มจังหวัดเพชรสมุทรคีรีตามบริบทพื้นที่ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ตามแนวคิดทฤษฎี 4DNA และการสร้างสัญลักษณ์ของกลุ่มจังหวัดเพชรสมุทรคีรี และ 3) ศึกษาข้อจำกัดและอุปสรรคในการพัฒนาอัตลักษณ์ของกลุ่มจังหวัดเพชรสมุทรคีรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมโดยการวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงานของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ผู้วิจัยได้ระบุกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็น 3 กลุ่มตามกรอบระยะเวลาของการวิจัย ได้แก่ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวแทนสมาชิกวายอีซี จำนวน 12 คน และกลุ่มตัวแทนของปราชญ์ชุมชนในกลุ่มจังหวัดต่าง ๆ จำนวน 16 คน และระยะที่ 2 กลุ่มตัวแทนภาคประชาชนท้องถิ่นจาก 4 จังหวัด จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทรัพยากรท้องถิ่นสามารถพัฒนาเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัด โดยการประเมินจากมิติทางด้านวัฒนธรรมมีความเกี่ยวการประกอบอาชีพทั้งสิ้น รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมยาวนานในแต่ละยุคสมัย 2) วิวัฒนาการขององค์ประกอบตราสัญลักษณ์ของกลุ่มจังหวัดเพชรสมุทรคีรี เริ่มจากลายเส้นปากกาเคมีที่ผ่านฉันทามติของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นตัวแทนภาคประชาชนทั้ง 4 จังหวัด ร่วมกับวิทยากรผู้ดำเนินรายการและทีมนักออกแบบ จากนั้นนำรายละเอียดทั้งหมดไปพัฒนาด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมกับการนำโทนสี มาใช้ประกอบการออกแบบในแต่ละส่วนของรูปภาพ รวมทั้งยังเพิ่มเติมโทนสีเข้ม-อ่อนให้รูปภาพมีมิติที่คมชัดสวยงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งสัญลักษณ์ของกลุ่มจังหวัดเพชรสมุทรคีรีที่ผ่านกระบวนการวิจัยสามารถนำไปใช้ต่อยอดทางเศรษฐกิจให้กับกลุ่มผู้ประกอบการในแต่ละจังหวัดต่อไป 3) ปัญหาที่ค้นพบตามขอบเขตพื้นที่ดังนี้ 3.1) จังหวัดเพชรบุรี ชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งยังไม่ได้รับการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานของทางรัฐบาลในการปรับภูมิทัศน์และการเพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ยังคงไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ และ ค่านิยมของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรีประกอบอาชีพดั้งเดิมและขาดความรู้ในการต่อยอดสินค้าและบริการ 3.2) จังหวัดสมุทรสงคราม แหล่งท่องเที่ยวและศูนย์การเรียนรู้บางแห่งอาจไม่เหมาะสมในการรองรับกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงขาดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้คอยให้บริการในแต่ละพื้นที่ และการวางผังเมืองดั้งเดิมที่ยังคงเป็นปัญหาทางด้านการจราจรของกลุ่มผู้มาเยือน 3.3) จังหวัดสมุทรสาคร งานศิลปะหัตถกรรมที่เป็นสินค้าของฝาก ของที่ระลึกส่งออกบางรายการ ยังไม่สามารถผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดในปริมาณมาก และขาดการ เผยแพร่องค์ความรู้และภูมิปัญญาของท้องถิ่น และ 3.4) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขนาดความยาวของพื้นที่ ทำให้การกระจายได้และความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจยังไม่ครอบคลุมทุกอำเภอ รวมถึงระบบคมนาคมขนส่งที่ต้องอาศัยระยะเวลาอันยาวนานในการเดินทางระหว่างอำเภอหรือแหล่งท่องเที่ยวสำคัญภายในจังหวัด ขนาดความยาวของพื้นที่ ทำให้การกระจายได้และความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจยังไม่ครอบคลุมทุกอำเภอ รวมถึงระบบคมนาคมขนส่งที่ต้องใช้ระยะนาน ในการเดินทางระหว่างอำเภอหรือแหล่งท่องเที่ยวสำคัญภายในจังหวัด การเพิ่มขึ้นของสถานบันเทิงและกลุ่มธุรกิจสีเทายังคงกระจายตัวอย่างต่อเนื่อง และการเผชิญปัญหาการจราจรติดขัดของยานพาหนะบนท้องถนนในช่วงวันหยุดยาว
This research aims to 1) study and review local identities of Phet Samut Khiri in the context of the area,2) the development of the theoretical concept 4 DNA and the formation of the group of Phet Samut Khirian,and 3) limitations and obstacles to developmentof the identity of Phet Samut Khiri. This research is quality research. The researcher use methodology by PAR:Participatory Action Research. By analyzing the performance of the main group of key informant.The researcher identified 3majors informant groups based on time frame of research.Phase 1: YEC: (Young Entrepreneur Chamber of Commerce)12 people and representatives of 16 community members in provinces.And Phase 2: representatives from 400 localities from 4 provinces.The research found that 1) local resources can be developed as identities of each province by evaluating the cultural dimension, there are total employment 2) the evolution of the symbolic elements of Phet Samut Khiri province. It is the result of the consensus of key informants who represent the people in the four provinces together with their facilitators and designers.Then brought all the details to develop with the software program on the computer with the color scheme. The design of each part of the image. The darker color, more beautiful. The symbol of Phet Samut Khiri province, it can be used to balance the economy of each province 3) problemsfound in the area as follows: 3.1 Phetchabuiprovince, some communities and attractionshave not been coordinated by government to refine the landscape and add amenities that still do not cover all areas and people in Phetchaburi are traditional and lack knowledge in product and service. 3.2 Samut Songkhram province, some travel and learning centers may not be suitable for the elderly. The lack of facilities is available in each area and traditional urban planning is still a problem for the traffic of the visitors. 3.3 Samut Sakhon province, arts andcrafts as souvenirs, some souvenirs exported. It cannot be produced to meet the needs of the market in large quantities and the lack of dissemination of local knowledge and wisdom.3.4 Prachuap Khiri Khan province, length of space distribution and economic prosperity do not cover all districts. The transportation system requires a long period oftravel between the districtor major attractions within the province. Length of space, the distribution and economic prosperity are not covered at all.The districtalso has a long term transportation system. Traveling between districts or major attractions within the province. The rise of entertainment and gray business continues to spread and coping with traffic jams on the road during long holidays.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/154170/147247
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2037
ISSN: 1905-9647 (Print)
2985-1491 (Online)
Appears in Collections:Business Administration - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ban-Phet-Plen-Din.pdf113.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.