Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2071
Title: การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัทรินทร์
Other Titles: Human Resources Management to Increase the Efficiency of Employees' Performances : A Case Study of Rattarin Hospital
Authors: มณฑล สรไกรกิติกูล
Monthon Sorakraikitikul
Jariyaporn Innum
จริยาภรณ์ อินนุ่ม
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: โรงพยาบาล -- การบริหาร
Hospitals -- Administration
การบริหารองค์การ
Organization -- Management
โรงพยาบาลรัทรินทร์ -- การบริหารงานบุคคล.
Rattarin Hospital -- Personal development
การพัฒนาบุคลากร
Personal development
Issue Date: 2009
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาเรื่อง “การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัทรินทร์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงพยาบาลรัทรินทร์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโรงพยาบาล และเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ในการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มประชากรเป็นพนักงานประจำโรงพยาบาลรัทรินทร์ จำนวน 205 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อแสดงผลการศึกษาในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งการทดสอบสมมติฐานในการวิจัย ด้วยวิธี Spearman Rank Correlation ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 72.2 เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 52.2 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 39.5 มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 54.1 ระยะเวลาในการทำงานอยู่ระหว่าง 1-4 ปี ร้อยละ 41.5 และเป็นพนักงาน/เจ้าหน้าที่ ร้อยละ 74.6 ส่วนด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ สรรหาและคัดเลือก ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้านผลตอนแทนและสิ่งจูงใจ พนักงานส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในระดับปานกลาง ยกเว้นในเรื่องตำแหน่งานที่ปฏิบัติ มีความเหมาะสมกับคุณวุฒิตรงกับความรู้ความสามารถของพนักงาน การสรรหาบุคลากรเข้ามาปฏิบัติงานในองค์กรที่เปิดโอกาสให้คนจากภายนอกและภายใน และความพร้อมที่จะพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานเมื่อผลการประเมินการปฏิบัติงานออกมาต่ำกว่าที่คาดหวังไว้ ที่พบว่าพนักงานมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมาก ส่วนปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านต้นทุน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการและด้านการเรียนรู้และพัฒนา พบว่าโดยรวมพนักงานมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานหรือให้บริการกับลูกค้าอย่างเต็มความสามารถมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานพบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ สรรหาและคัดเลือกกับด้านประเมินผลการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ด้านการเรียนรู้และพัฒนาในเรื่องการนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมมาประยุกต์ใช้ในการทำงานโดยมีความสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน พบว่ามีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการเรียนรู้และพัฒนาเรื่องการใช้ความรู้ที่มีอยู่ปฏิบัติงาน ได้อย่างเต็มที่กับการนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน และด้านผลตอบแทนและสิ่งจูงใจมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านกระบวนการในเรื่องความเหมาะสมของเครื่องมือที่ให้บริการลูกค้า โดยมีความสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำและเป็นไปในทิศทางเดียวกันเช่นกัน ดังนั้น การที่พนักงานจะมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานมากขึ้นนั้น องค์กรต้องให้ความสำคัญกับพนักงานผู้ปฏิบัติงาน มีหลักในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้งด้านการวางแงผนทรัพยากรมนุษย์ สรรหาและคัดเลือก ด้านการฝึกอบรมและพัฒนา ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานและด้านผลตอบแทนและสิ่งจูงใจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการและการปฏิบัติงานของพนักงาน
Description: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2071
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jariyaporn-Innoom.pdf
  Restricted Access
20.43 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.