Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2074
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของคนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors Effecting the Decisions to Buy Cars of People in Bangkok
Authors: วิรัตน์ ทองรอด
จรัสศรี ภัทรจารี
Keywords: รถยนต์ -- การจัดซื้อ
Automobiles -- Purchasing
การตัดสินใจ
Decision making
พฤติกรรมผู้บริโภค
Consumer behavior
Issue Date: 2006
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของคนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง คือ เฉพาะผู้บริโภคที่มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น และทำการแจกสอบถามจำนวน 400 ชุด แล้วนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ (Statistic Package for Social Sciences หรือ SPSS) เพื่อแสดงการศึกษาในรูปแบบของร้อยละ ค่าเฉลี่ย รวมทั้งการทดสอบสมมติฐานในการวิจัยโดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ ของ Pearson Chi-square ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-35 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว โดยมีรายได้อยู่ระหว่าง 15,001-25,000 บาท และมีจำนวนคนในครัวเรือน 3-5 คน นอกจากนี้พบว่ายี่ห้อรถที่ซื้อคันล่าสุด ได้แก่ ฮอนด้า โดยขนาดเครื่องยนต์ที่บริโภคส่วนใหญ่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่ซื้อคันล่าสุดคือ 1,600-1,800 ซีซี จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบว่าผู้บริโภคมีความเห็นต่อปัจจัยทางการตลาดว่ามีความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของคนในเขตกรุงเทพมหานครโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก และเมื่อพิจารณารายด้านและรายช้อ คือ ด้านผลิตภัณฑืพบว่าผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่ามีความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยรวม และรายข้ออยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้านราคาพบว่าผู้บริโภรคมีความคิดเห็นว่ามีความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากและเมื่อพิจารณารายข้อพบว่ารายข้อที่ว่าเงินดาวน์น้อยและค่างวดที่ต้องชำระผู้บริโภคมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง ส่วนรายช้ออื่นๆ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายพบว่าผู้บริโภรคมีความคิดเห็นว่ามีความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยรวมและรายช้ออยู่ในระดับเหมาะสมมาก และด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่ามีความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากและเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า สื่อการโฆษณาที่เป็นแผ่นพับและอินเตอร์เน็ตมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง ส่วนรายข้ออื่นๆ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมาก การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกรารตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของคนในเขตกรุงเทพมหานคราพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อรถยนต์ราคา 650,000-1,300,000 บาท และผู้บริโภคส่วนใหญ่มีจำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในครัวเรือน 1 คัน ด้านบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของคนในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อรถยนต์ด้วยตนเอง รองลงมา คือ บุคคลในครอบครัว เพื่อน ช่างผู้ชำนาญ พนักงานขาย และผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์รถยนต์ ตามลำดับ การหาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุดที่ได้รับ อาชีพ รายได้ต่อเดือน จำนวนคนในครัวเรือน และปัจจัยทางการตลาดกับการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของคนในเขตกรุงเทพมหานครพบว่า เพศ : มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของคนในเขตกรุงเทพนหานครในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจำนวนรถยนต์นังส่วนบุคคลในครอบครัว ส่วนด้านราคารถยนต์ไม่พบความสัมพันธ์ อายุ : ผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด และปัจจัยทางการตลาด มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของคนในเขตกรุงเททมหานครในส่วนที่เกี่ยวข้องกับราคารถยนต์และจำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในครอบครัวอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อาชีพและรายได้ : มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของคนในเขตกรุงเทพมหานครในส่วนที่เกี่ยวข้องกับราคารถยนต์และจำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในครอบครัว ราคา : มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของคนในเขตกรุงเทพมหานครในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าเท่ากับ .113 และเป็นความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ส่วนด้านราคารถยนต์มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Description: ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2074
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charassri-Patarajaree.pdf11.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.