Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2218
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี |
Other Titles: | Factors Related to Health Promoting Behaviors for Cardiovascular Disease Prevention among Diabetes with Hypertensive Patients in a High Risk Level in Muang District Phetchaburi Province |
Authors: | วิโลวรรณ คมขำ กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม นพนัฐ จำปาเทศ Wilaiwan Komkhum Kamonthip Khungtumneum Nopphanath Chumpathat Huachiew Chalermprakiet University. Master of Nursing Science Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
Keywords: | เบาหวาน -- ผู้ป่วย Diabetes น้ำตาลในเลือด -- การควบคุม Blood glucose -- Control ระบบหัวใจและหลอดเลือด -- โรค Cardiovascular system -- Diseases ความดันเลือดสูง -- การป้องกัน Hypertension -- Prevention การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง Self-care, Health |
Issue Date: | 2022 |
Citation: | วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 5,2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2565) : 44-56 |
Abstract: | การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ระดับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูงและ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูงกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลในเขตอําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จํานวน 130 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูงและแบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งมีค่าค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .82 และ .76ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง(M=2.75, SD=.35) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคล และอิทธิพลด้านสถานการณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05(rs= .55, .50,.63, .43) ตามลําดับ ส่วนปัจจัยการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (rs= -.53) ผลการวิจัยนี้ สามารถนําไปพัฒนาระบบการติดตามประเมินความเสี่ยงสําหรับการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดระดับความเสี่ยงในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด This cross-sectional descriptive research aims to study 1) health-promoting behaviors for cardiovascular disease prevention among high-risk diabetes patients with hypertension, and 2) factors relating to health-promoting behaviors for cardiovascular disease (CVD) prevention among high-risk diabetes patients with hypertension. The samples were selected by a two-stage random sampling technique of 130 high-risk diabetes patients with hypertension who were the clients of Tamb on Health Promoting Hospital in Muang District, Phetchaburi Province. A set of questionnaires includes1) Personal and health data, 2) a questionnaire with a reliability of .82 of health-promoting behaviors for CVD prevention among high-risk diabetes patients with hypertension,and3) a questionnaire with a reliability of .76 of the factors related to health-promoting behaviors for CVD prevention among high-risk diabetes patients with hypertension. Data were analyzed by descriptive statistics and Spearman’s Rho correlation. The results reveal that the rate of health-promoting behaviors for CVD prevention among the sample is at a moderate level (M= 2.75, SD= .35).The factors of realization of benefits, self-care capacity, interpersonal influences, and situational necessity have positive statistical relations with CVD prevention behaviors at .05 (rs= .55, .50, .63, .43, respectively) whereas the realization of behavioral barriers has a negative statistical relation with CVD prevention behaviors at.05 (rs= -.53).Based on these results, it is necessary to provides stematic risk monitoring for high-risk diabetes patients with hypertension in order to reduce CVD risk among them. |
Description: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/257031/174348 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2218 |
ISSN: | 2985-0150 (Online) |
Appears in Collections: | Nursing - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Cardiovascular-system-Diseases.pdf | 95.42 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.