Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/222
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกเมื่อเห็นภาพข่าวอาชญากรรมบนหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ของนักศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Factors Influencing Feeling after Seeing Crimes Pictures on the First Page of Newspaper : A Study of University Students in Bangkok and Boundary
Authors: เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย
แอนนา สายลัดดา
Keywords: นักศึกษา -- ทัศนคติ
Undergraduates -- Attitudes
ความรุนแรงในหนังสือพิมพ์
Violence in newspapers
Newspapers -- Thailand
การเปิดรับสื่อมวลชน
Issue Date: 2003
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกเมื่อเห็นภาพข่าวอาชญากรรมบนหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ของนักศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล เพศ สถานภาพครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของนักศึกษาลักษณะการเสนอภาพข่าวของหนังสือพิมพ์ การปกปิดอำพรางข่าว ระยะของภาพข่าวมีผลต่อความรู้สึกด้านอารมณ์ต่อการเห็นภาพข่าวของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้คือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจากสถาบันของรัฐและเอกชนในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย จำนวน 330 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิงอายุ 18-25 ปี เป็นเพศชายจำนวน 200 คน คิดเป็นร้อยละ 60.0 เป็นเพศหญิง 130 คน คิดเป็นร้อยละ 39.4 อายุเฉลี่ยของนักศึกษาส่วนใหญ่อายุ 20-21 ปี คิดเป็นร้อยละ 58.1 นักศึกษาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดี่ยวมีเฉพาะพ่อแม่ลูก คิดเป็นร้อยละ 60.9 สถานภาพบิดามารดาของนักศึกษาส่วนใหญ่บิดามารดาอยู่ร่วมกัน คิดเป็นร้อยละ 74.3 การอบรมเลี้ยงดูและสัมพันธภาพภายในครอบครัว จากการศึกษาพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีการอบรมเลี้ยงดูและสัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยได้รับความรักจากบิดามารดาคิดเป็นร้อยละ 55.0 การได้รับความห่วงในดูแลจากครอบครัวคิดเป็นร้อยละ 65.7 หนังสือพิมพ์ที่เลือกใช้ในการศึกษาเป็นประเภทหนังสือพิมพ์ประชานิยม (Popular Newspaper) 4 ฉบับได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด คมชัดลึก ข้อค้นพบจากการศึกษาผลการวิเคราะห์เนื้อหาของลักษณะภาพข่าวอาชญากรรมจากเดือนกันยายน ถึง ธันวาคม 2545 ปรากฏว่าหนังสือพิมพ์ทั้ง 4 ฉบับ ที่มีลักษณะข่าวอาชญากรรมดังนี้คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ส่วนใหญ่ใช้ขนาดกรอบภาพ 5 x 4 ถึง 5 x 3 นิ้ว จำนวน 52 ภาพ ใช้ลักษณะการปกปิดอำพรางภาพน้อยในการตีพิมพ์ภาพ รองลงมาใช้การปกปิดขนาดปานกลางมีการตีพิมพ์ภาพข่าวอาชญากรรมมากที่สุดจากจำนวน 4 ชื่อฉบับ รองลงมาหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ส่วนใหญ่ใช้ขนาดกรอบภาพ ภาพ 5 x 4 ถึง 5 x 3 นิ้ว จำนวน 33 ภาพ การใช้ลักษณะการปกปิดอำพรางภาพขนาดปานกลางและการปกปิดอำพรางภาพน้อยมีสัดส่วนเท่ากัน หนังสือพิมพ์ข่าวสด ส่วนใหญ่เลือกใช้ขนาดกรอบภาพ 5 x 4 ถึง 5 x 3 นิ้ว จำนวน 22 ภาพ ส่วนใหญ่เลือกใช้ลักษณะที่มีการปกปิดอำพรางภาพน้อย หนังสือพิมพ์คมชัดลึก พบว่าการเลือกใช้ลักษณะภาพและการปกปิดอำพรางภาพและระยะของการถ่ายภาพในสัดส่วนที่เท่ากัน และพบว่าหนังสือพิมพ์คมชัดลึกตีพิมพ์ข่าวอาชญากรรมในปริมาณที่น้อยถึงน้อยมาก พฤติกรรมการเปิดรับหนังสือพิมพ์ของนักศึกษาโดยจะจัดระดับการอ่านหนังสือพิมพ์พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เลือกอ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ จำนวน 182 คน คิดเป็นร้อยละ 71.9 นักศึกษาส่วนใหญ่เลือกรับสื่อที่อยู่ในความนิยมได้โดยสะดวกโดยไม่มีการกลั่นกรองข่าวสารที่ได้รับเพื่อความเหมาะสมตามวัยเท่าที่ควร ด้านความคิดเห็นที่เกี่ยวกับลักษณะที่เป็นอยู่ต่อการเสนอภาพข่าวอาชญากรรมบนหน้าหนังสือพิมพ์ จากการศึกษาพบว่า หนังสือพิมพ์ให้ความสำคัญกับภาพข่าวที่สะเทือนอารมณ์หรือเป็นภาพที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความรู้สึกด้านอารมณ์ การเสนอภาพที่ทำให้รู้สึกว่าเป็นภัยใกล้ตัว การปกปิดอำพรางภาพข่าวอาชญากรรมน้อย ซึ่งมีผลต่อการเห็นภาพมาก ค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดของนักศึกษาเมื่อเห็นภาพข่าวอาชญากรรมบนหน้าแรกบนหน้าหนังสือพิมพ์ ได้แก่อารมณ์เศร้า จำนวน 132 คน คิดเป็นร้อยละ 41.9 รองลงมาอารมณ์กลัว จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 31.0 อารมณ์คาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จำนวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 33.9 จึงกล่าวได้ว่าภาพข่าวอาชญากรรมมีผลกระทบต่อการเห็นภาพข่าวของนักศึกษาทั้งโดยรู้ตัวแลพะไม่รู้ตัว จากผลการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Multiple Regression) พบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม จำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ 1.เพศ 2. ตัวแปรด้านพฤติกรรมของนักศึกษาที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ 3. ตัวแปรด้านการปกปิดอำพรางภาพข่าวอาชญากรรม ผลการทดสอบความสัมพันธ์พบว่า เพศ มีความสัมพันธ์กับการเห็นภาพข่าวอาชญากรรมบนหน้าหนังสือพิมพ์อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .001 แสดงว่านักศึกษาในกรุงเทพมหานครมีความรู้สึกด้านอารมณ์ต่อการเห็นภาพข่าวอาชญากรรมแตกต่างกันตามเพศ พฤติกรรมของนักศึกษาที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้สึกต่อการเห็นภาพข่าวอาชญากรรมของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แสดงว่านักศึกษามีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์มากเท่าไรก็จะมีความรู้สึกอ่อนไหวต่อการเห็นภาพอาชญากรรมมากขึ้นตามจำนวนการอ่าน ลักษณะการปกปิดอำพรางภาพข่าวอาชญากรรมมีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการเห็นภาพข่าวของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แสดงว่าการปกปิดอำพรางภาพข่าวอาชญากรรมน้อยมีผลต่อความรู้สึกด้านอารมณ์ของนักศึกษามาก ผลการทดสอบสมมติฐาน สมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 นักศึกษาในกรุงเทพมหานคร ที่มีปัจจัยภูมิหลังต่างกัน มีผลต่อการรับรู้และการเห็นข่าวอาชญากรรมไม่แตกต่างกัน ผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างปัจจัยภูมิหลัง เพศ อายุ สถานภาพครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู พบว่า เพศ มีผลต่อความรู้สึกด้านอารมณ์เมื่อเห็นภาพข่าวอาชญากรรม ดังนั้นจึงยอมรับสมมติฐานข้อที่ 1 บางส่วน แสดงว่า ปัจจัยภูมิหลังบางส่วนมีผลต่อการเห็นภาพข่าวไปในทิศทางที่แตกต่างกัน สมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 พฤติกรรมของนักศึกษาที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์มีผลต่อการเห็นภาพข่าวอาชญากรรมของนักศึก แสดงว่านักศึกษาในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์มากเท่าไรก็จะเห็นภาพข่าวอาชญากรรมมากขึ้นตามจำนวนการอ่าน เมื่อมีการเห็นภาพข่าวซ้ำ ๆ กันจะมีผลกระทบด้านอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ดังนั้นจึงยอมรับสมมติฐานข้อที่ 2 สมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3 นักศึกษาที่มีการรับลักษณะภาพข่าวอาชญากรรมต่างกันจะมีผลต่อความรู้สึกด้านอารมณ์อ่อนไหว เมื่อเห็นลักษณะภาพข่าวอาชญากรรมที่ต่างกัน ดังนั้นจึงยอมรับสมมติฐานบางส่วน กล่าวคือ ภาพข่าวอาชญากรรมที่มีการปกปิดอำพรางภาพน้อย จะมีผลต่อความรู้สึกด้านอารมณ์มากกว่าภาพข่าวอาชญากรรมที่มีการปกปิดอำพรางภาพมาก ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับอาชญากรรมในลักษณะต่าง ๆ และศึกษาทัศนะและความรู้สึกของผู้ใกล้ชิดที่เคยตกอยู่ในภาพข่าวอาชญากรรม สัมภาษณ์หรือใช้แบบคำถามปลายเปิดให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ได้รับคำตอบที่ลึกและชัดเจนยิ่งขึ้น
The study of the factors influencing the feeling after seeing crimes pictures on the first page of newspaper of the students in Bangkok and boundary. The purpose of this study is to analize the individual factors among sex, family status, the way of nurture and sitting, approaching of public news and informations of the students, the character of the publication of the mass medias, such as the concealing of the news and information, the image size of publication presented. All these shall result and reflect the feeling of the students. The sample being surveyed is the university students in Bangkok metropolitan area and boundary from both the state and private universities Samples were 330 students, comprising of 60% of male 40% of female. The average age is in between 20-21 years old which is 58.1%. Most of the students which is 74.3 % dwell in nuclear family whore parents living together. According to the survey, is was found that most of them had a good relationship. 55% were taken good care from their parents and 65.7% obtained good family nurture and sitting from the parent. In this study, 4 popular newspapers were selected to be analysed namely Thairaht, Daily News, Khomchadluck, Khaosod. According to the survey, during September through December 2545, it was found that Thairaht most of published most crimes pictures with number of 52 and with the size of 5 x 4 and 5 x 3 inches. These pictures were less concealed. Secondly, Daily News published 33 crimes pictures are in 5 x 4 and 5 x 3 inches. Thirdly Khaosod newspaper published 22 pictures, most of these pictures were medium and less conceded. Lastly Khomchudluck newspaper published less criminal news. The finding indicated that most student (182 students which was 71.9%) read Thairath It was found that generally the students just read the newspapers by neglecting of its worthiness. They do not justify the news suitable to their ages. In term of crimes pictures presented, according to the study, it was found that the newspapers presented crimes pictures which might influence the feelings more than ordinary news. This type of presentation effective the feelings of viewers, 132 students felt (41.9%) felt sad, 110 students (31%) felt fear and 111 students (33.9%) wished to see improvement of news presentations. Better amendment. This feeling might occur in their consciousness or subconscious. Throught the multiple regression analysis, the finding indicated that independent variables which were sex, approaching to the public news information of the students and the concealiong of the crimes pictures were related dependent variable. Through this study is was found that see had statistical significant effected to feeling of student at .001 level which meant male and female students had different feeling after after seeing crimes pictures on first page of newspapers. The approaching public news behavior of students had positive relationship with feeling of students with statistical significant effect at .05 level.That meant that, the more students approached to news the more they would be sensitive to crime pictures. Lastly, concealing of crimes pictures had negative relationship with feeling of students and statistical significant had effect at .05 level. Crimes pictures with less concealing would effect more to feeling of students. Hypotheses 1st Hypothesis : Students with different background were not different in feeling after seeing crimes pictures. The finding indicated that sex had statistical significant relationship with feeling. Therefor this hypothesis was accepted in same part. 2 nd Hypothesis : Behavior on approaching to public news of students effected feeling after seeing crimes picture of students. Students Students who approached more to public news would be more sensitive to crimes pictures. Therefor the second hypothesis was accepted. 3 rd Hypothesis : Students received different characteristics of crime pictures had different degree of feeling towards crimes pictures. The third hypothesis was partly accepted. The less concealing of crimes picture effected more to feeling of student. Suggestion : As for the next study, the content of crime, attitude and feeling of people who were in crimes pictures should be studied on. Interview and open end questionnaire should be applied in the research method to obtain deeper and cleared data.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/222
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
tableofcontents.pdf771.5 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf10.66 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf824.04 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf6.75 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open
references.pdf4.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.