Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2236
Title: การวิเคราะห์และประเมินความคุ้มค่าทางธุรกิจในการเปลี่ยนรูปแบบพลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลเป็นพลังงานทดแทนจากก๊าชธรรมชาติ NGV ในภาคการขนส่งขององค์กร : กรณีศึกษาบริษัท บอรอลคอนกรีตและหินทราย จำกัด
Other Titles: Economic Analysis and Addessment for Changing from Gasoline to Renewable Energy (NGV) in Transportation Sector : A Case Study of Boral Concrete & Quarry Company Limited.
Authors: บรรเจิดศักดิ์ สัณหภักดี
Benjertsak Sannhapuckdee
จิราวัฒน์ เพ็ชรวงศ์
Jirawat Petchwong
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: ก๊าซธรรมชาติ
Natural gas
ยานพาหนะก๊าซธรรมชาติ
Natural gas vehicles
น้ำมันดีเซล
Diesel fuels
พลังงานทดแทน
Renewable energy sources
การศึกษาความเป็นไปได้
Feasibility studies
การวิเคราะห์คุณค่า (การควบคุมต้นทุน)
Value analysis (Cost control)
บริษัท บอรอลคอนกรีตและหินทราย จำกัด
Issue Date: 2012
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาอิสระเรื่องการวิเคราะห์และประเมินความคุ้มค่าทางธุรกิจในการเปลี่ยนรูปแบบพลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลเป็นพลังงานทดแทนจากก๊าซธรรมชาติ NGV ในภาคการขนส่งขององค์กร กรณีศึกษา บริษัท บอรอลคอกรีตและหินทราย จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยการวิเคราะห์และประเมินความคุ้มค่าทางธุรกิจในการนำพลังงานทดแทนจากก๊าซธรรมชาติ NGV มาใช้แทนพลังงานเชื้อเพลิงดีเซล ในภาคการขนส่งขององค์กรกับรถประเภทต่างๆ เช่น รถโม่ รถ Cement Tanker และรถ Tipper ผลการศึกษาพบว่าราคาน้ำมันดีเซล มีความสัมพันธ์แบบผกผันกับความคุ้มค่าทางการเงิน เช่น เมื่อราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นระยะเวลาคืนทุนจะน้อยลง ในทางตรงกันข้ามเมื่อราคาน้ำมันดีเซลลดลงระยะเวลาคืนทุนจะเพิ่มขึ้นและความคุ้มค่าจะเกิดขึ้นสูงสุดเมื่อราคาน้ำมันดีเซลและราคาก๊าซธรรมชาติ NGV มีค่าต่างกันมากที่สุด โดยราคาน้ำมันดีเซลต้องสูงกว่าราคาก๊าซธรรมชาติ NGV และไม่ว่าราคาน้ำมันดีเซลและราคาก๊าซธรรมชาติ NGV จะเพิ่มหรือลดลง ความคุ้มค้าทางการเงินของระบบ Dedicated จะมีมากกว่า ระบบ DDF เสมอในเงื่อนไขการใช้งานขององค์กร และทุกเงื่อนไขการคำนวณข้างต้นชี้ให้เห็นว่าค่า NPV มีค่าเป็นบวก และค่า IRR มีค่ามากกว่าอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย MLR และ MRR ที่ 8..3139% รวมถึงเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบว่าหากไม่นำเงินไปลงทุนโครงการแต่นำเงินลงทุนนั้นไปฝากธนาคาร ด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 0.75 เปอร์เซ็นต์ต่อปี (อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับนิติบุคคลธนาคารกสิกรไทยและธนาคารกรุงเทพ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554) ในกรณีที่เงินลงทุนมาจากผลกำไรขององค์กรจะได้ดอกเบี้ยเท่ากับ 31,973.31, 38,425.98, 38,425.98 บาท ตามลำดับ ซึ่งน้อยกว่า NPV มาก ผลการวิเคราะห์จึงแสดงให้เห็นว่าทุกเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นสามารถลงทุนโครงการได้
Description: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2236
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirawat-Petwong.pdf
  Restricted Access
19.92 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.