Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2239
Title: คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในองค์การเอกชนแห่งหนึ่ง
Other Titles: Quality of Work Life of Employees in a Private Organization
Authors: เสนาะ ติเยาว์
Sanoh Tiyao
จิรากร ยิ้มเนียม
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: คุณภาพชีวิตการทำงาน
Quality of work life
ความพอใจในการทำงาน
Job satisfaction
Issue Date: 1999
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีความสำคัญต่อการบริหารของทุกองค์การไม่ว่าจะเป็นองค์การของภาครัฐ หรือเอกชนก็ตาม ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่จะทำให้คนมีความพึงพอใจในการทำงาน และองค์การสามารถจะนำคนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ องค์การจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของคนหรือผู้ที่ปฎิบัติงานให้แก่องค์การให้มากที่สุด และจากแนวคิดนี้ทำให้การศึกษาเรื่องคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การถือว่าเป็นแนวคิดทางด้านการบริหาร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ที่องค์การต่างๆ ได้ให้ความสนใจและให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคคล ทั้งนี้ เพราะบุคคลถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีส่วนในการเสริมสร้างความเจริญเติบโตและความสำเร็จขององค์การ และด้วยปัจจุบันองค์การโดยเฉพาะองค์การมหาชน กำลังเผชิญกับภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงที่นอกจากจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการแล้ว ยังต้องมุ่งเน้นที่การพัฒนาคุณภาพของคนภายในองค์การด้วย ดังนั้น บุคลากรผู้ปฎิบัติงานในองค์การเอกชนจึงควรที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องคุณภาพชีวิตในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น การศึกษาวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นการศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในองค์การเอกชน ซึ่งเป็นการศึกษาในเชิงปริมาณ ที่ได้ทำการเลือกกลุ่มประชากรที่เป็นพนักงานขององค์การเอกชนแห่งหนึ่งมาทำการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในองค์การแห่งนี้ และ 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลบางประการ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อายุงาน และระดับตำแหน่งงาน เพื่อดูผลความเหมือนหรือความแตกต่างกันของคุณภาพชีวิตในการทำงาน ซึ่งผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานของการวิจัยไว้ว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อายุงานและระดับตำแหน่งงาน ที่แตกต่างกันของพนักงาน มีผลทำให้คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมีความแตกต่างกัน ส่วนองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตในการทำงาน ผู้วิจัยได้นำตัวแปรองค์ประกอบตามแนวคิดของฮิวส์ และ คัมมิงส์ (Huse and Commings) ซึ่งได้แก่ รายได้และผลประโยชน์ตอบแทนที่ยุติธรรม และพอเพียง สภาพที่ทำงานที่ถูกสุขลักษณะ และปลอดภัย โอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน ความก้าวหน้าในการทำงาน ความสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน การบริหารงานที่เป็นธรรมและเสมอภาค ความสมดุลของช่วงเวลาที่ใช้ในการทำงานและช่วงเวลาที่ได้พักผ่อนมีความเป็นส่วนตัว และความภูมิใจในองค์การ วิธีการศึกษาวิจัย เป็นการศึกษาเชิงพรรณา โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 192 ตัวอย่างซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยอาศัยระดับตำแหน่งงานเป็นเกณฑ์ การสร้างแบบสอบถามสร้างขึ้นตามมาตรวัดของ Likert Scale ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทดสอบสมมติฐานต่างๆ ผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การหาค่าความถี่ การหาค่าคะแนนเฉลี่ย วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (F-Test) และทดสอบหาคู่แตกต่างด้วยวิธีของเชฟเฟ่ โดยการทดสอบสมมติฐานถือเอาระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เป็นเกณฑ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พนักงานในองค์การเอกชนแห่งนี้ มีคุณภาพชีวิตในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง 2. การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความแตกต่างในเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อายุงาน และระดับตำแหน่งงานของพนักงานในองค์การเอกชนแห่งนี้ ไม่ได้มีผลทำให้คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมีความแตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% 3. เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตในการทำงานแต่ละด้าน และทดสอบหาคู่แตกต่างพบว่า เพศหญิงมีคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานสูงกว่าเพศชาย พนักงานที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จะมีคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความก้าวหน้าในการทำงานสูงกว่าพนักงานที่มีอายุระหว่าง 25-30 ปี ในขณะที่จะมีคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานต่ำกว่าพนักงานในระดับอายุอื่นๆ และพนักงานที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี และอยู่ในระดับบริหาร จะมีคุณภาพชีวิตในการาทำงานด้านโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี และที่ทำงานอยู่ในระดับปฏิบัติการ
Description: ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2542
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2239
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirakorn-Yimnean.pdf
  Restricted Access
9.72 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.