Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2242
Title: ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและแนวทางการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากภาคขนส่งหนักทางบก
Other Titles: Greenhouse Gas (GHG) Emissions and Approach to Reduce GHG Emission from Inland Heavy Transport Sector
Authors: วิมล ปิ่นประดับ
เทอดพงศ์ ศรีสุขพันธุ์
Wimon Pinpradab
Thirdpong Srisukphun
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
Keywords: ก๊าซเรือนกระจก
Greenhouse gases
การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก
Greenhouse gas mitigation
การขนส่งทางบก
Transportation, Automotive
ก๊าซธรรมชาติอัด
Compressed natural gas
รถบรรทุก
Trucks
Issue Date: 2017
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเสนอแนะแนวทางลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกภาคการขนส่งหนักทางบก โดยใช้วิธีการคำนวณระดับที่ 1 (Tier 1) และทำการเปรียบเทียบข้อมูลจากรถบรรทุกลากจูงจำนวน 62 คันของบริษัทขนส่งหนักทางบก พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ชนิดของเชื้อเพลิง ปริมาณเชื้อเพลิง ภาระบรรทุก กำลังแรงม้าของเครื่องยนต์ จากการวิจัย พบว่า ในปี 2553-2558 รถบรรทุกลากจูงมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกท้้งสิ้น 12,070,937.72 kgCO2 เป็นรถบรรทุกลากจูงที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง 11,688,540.17 kgCO2 และรถบรรทุกใช้ก๊าซซีเอ็นจี (CNG) เป็นเชื้อเพลิง 382,397.52 kgCO2 ซึ่งพบว่าระยะทางการเดินรถและภาระบรรทุกมีความสัมพันธ์เชิงเส้นต่อการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งกรณีที่้ใช้น้ำมันดีเซลและก๊าซซีเอ็นจีเป็นเชื้อเพลิง ส่วนอัตราการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำเพาะรถบรรทุกลากจูงหางเทรลเลอร์ชนิด 2 เพลา และ 3 เพลา ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงมีอัตราการปล่อยต่ำสุดที่ 3.9 kgCO2/km%load ส่วนรถบรรทุกลากจูงหางเทรลเลอร์ชนิด 3 เพลา ที่ใช้ CNG เป็นเชื้อเพลิง และหางไฮโดรลิคมีอัตราการปลดปล่อยที่ 4.0 และ 4.7 kgCO2/km-%load ตามลำดับ จากผลการศึกษา พบว่า แนวทางในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ 1) ควรวางแผนการเดินทางเพื่อให้ได้ระยะทางที่สั้นที่สุด และ 2) ควรเลือกใช้รถบรรทุกลากจูงหางเทรลเลอร์ชนิด 2 เพลาหรือ 3 เพลา ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง
This research aims to study of the greenhouse gas (GHG) emissions and suggest the approach to reduce GHG emissions from inland heavy transport using Tier 1 calculation method. The activity data (types of fuel, quantity of fuel, loading and horse power of engine) collected from 62 tow-trucks of inland heavy transport company located in Samutprakarn Province were compared in this research. In 2010-2015, the total tow-trucks released GHG emissions of 12,070,937.72 kgCO2. The total GHG emissions consisted of emissions from diesel tow-trucks of 11,688,540.17 kgCO2 and emission from the compressed natural gas (CNG) tow-trucks of 382,397.52 kgCO2. In both cases of fuels, it was found that, the relationship between distances and GHG emissions were linear equation. Moreover, the specific greenhouse gas emission *SGE) were lowest (3.9 kgCO2/km-%load) in the case of diesel truck towing double-shaft trailer and diesel truck towing three-shaft trailer. The SGE of CNG truck towing three-shaft trailer and diesel truck towing hydraulic trailer were 4.0 and 4.7 kgCO2/km-%load, respectively. According to the results, the approach to reduce GHG emissions were 1) Planning the traveled distance to get the shortest distance and 2) Choose to use the diesel truck towing double-shaft trailer and three-shaft trailer.
Description: Proceedings of the 5th National and International Conference on "Research to Serve Society", 26th May 2017 at Huachiew Chalermprakiet University, Bangphli District, Samutprakarn, Thailand. p. 775-785.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2242
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Proceeding Document

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
HS-209-Greenhouse-Gas.pdf439.19 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.