Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/234
Title: | ปัญหาหนี้สินเกษตรกรรายย่อย : ศึกษากรณีเกษตรกรหมู่บ้านสมานมิตร ตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | Small Farmers’ Debt Problems : A Case Study of Farmers from Samarnmit Village, Donsila Sub-District, Wiengchai District, Chiangrai Province. |
Authors: | จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร Jaturong Boonyarattanasoontorn ปาริชาติ รัตนกิจ Parichart Rattanakij Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | หมู่บ้านสมานมิตร (เชียงราย) เกษตรกร -- ไทย -- เชียงราย สินเชื่อเกษตร -- ไทย -- เชียงราย หนี้ Debt Agricultural credit |
Issue Date: | 2006 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง ปัญหาหนี้สินเกษตรกรรายย่อย : กรณีศึกษาหมู่บ้านสมานมิตร ตำบล ดอนศิลา อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรรายย่อยในหมู่บ้านสมานมิตรเป็นหนี้สิน กระบวนการที่ทำให้เกษตรกรรายย่อยมีหนี้สิน วิธีการในการจัดการปัญหาหนี้สินและทางเลือกในการจัดการปัญหาทั้งในระดับปัจเจกและระดับกลุ่ม ผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคล 10 ราย และการสัมภาษณ์กลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ ผู้นำชุมชนอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แกนนำชุมชน ผู้สูงอายุ และกลุ่มสตรีในหมู่บ้าน และการสังเกตในขณะที่ผู้ศึกษาอยู่ในชุมชน ลักษณะเนื้อหาในการศึกษาเป็นเรื่องเกี่ยวกับสาเหตุที่ชาวบ้านอพยพโยกย้ายถิ่นจากภาคอีสาน มาตั้งรกรากทางภาคเหนือ ประวัติความเป็นมา พัฒนาการของหมู่บ้าน สาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดหนี้สินของเกษตรกรรายย่อย ทางเลือกในการบรรเทาภาระหนี้สินโดยใช้ทุนทางสังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแก้ปัญหาหนี้สินทั้งในระดับปัจเจกและระดับกลุ่มผลการศึกษา พบว่า สาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเป็นหนี้สินของเกษตรกรรายย่อย คือ1. เกษตรกรเริ่มมีหนี้สินตอนที่ย้ายเข้ามาบ้านสมานมิตร เนื่องจากไม่มีที่ดินทำกินต้องซื้อที่ดินเพื่อทำการเกษตร และลงทุนซื้อเครื่องจักรกลทางการเกษตร บางรายมีที่ดินทำกินจำนวนจำกัดจึงต้องเช่าที่นาเพิ่ม และการทำการผลิตแบบสมัยใหม่มีต้นทุนการผลิตสูง เช่น มีการลงทุนซื้อรถไถ เสียค่าเช่านา ค่าเช่าเครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว ค่าซื้อปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืช และการจ้างแรงงานรับจ้าง 2. เกษตรกรต้องพึ่งแหล่งน้ำจากธรรมชาติ บางปีน้ำท่วม ขาดทุน และเป็นหนี้เงินกู้ทั้งในระบบและนอกระบบ โดยเฉพาะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบแพงมาก บางรายต้องขายที่นาตัวเองเพื่อปลดหนี้ และกลายเป็นแรงงานรับจ้างภาคเกษตร บางครอบครัวขายที่ดินทั้งหมดช่วงที่ดินราคาดี และย้ายออกไปอยู่จังหวัดอื่นแต่ไม่ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ จึงย้ายกลับมาใหม่ ไม่มีที่ดินทำกินและเป็นแรงงานรับจ้างภาคเกษตร 3. การบริโภคนิยม การสร้างบ้านใหม่ การซื้อเครื่องอำนวยความสะดวกเข้าบ้าน เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ วีดีโอ พัดลม รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ทั้งเงินสดและเงินผ่อน 4. การลงทุนเรื่องการศึกษาลูกในระดับสูงขึ้นในระดับอนุปริญญา หรือปริญญา เกษตรกรจึงส่งลูกไปเรียนในตัวเมือง ทำให้มีค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเพิ่มขึ้น เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของลูก ค่าซื้อรถจักรยานยนต์ให้ลูก ค่าโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ 5. การจัดงานศพตามประเพณีอีสาน ซึ่งจัดงานที่บ้านเป็นเวลาสามวันสามคืน มีการนิมนต์พระมาสวดที่บ้าน และเลี้ยงอาหารแขกที่มางานทำให้ต้องกู้เงินจากเพื่อนบ้าน6. ความชราภาพ ความเจ็บป่วย และขาดแรงงานในครัวเรือน เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรมีหนี้สินสะสม เพราะต้องดูแลหลานที่อยู่ในวัยเรียนทำให้มีรายจ่ายในครัวเรือนสูง ในขณะที่รายได้ต่ำการศึกษา พบว่า เกษตรกรทุกรายมีหนี้สินสะสมอยู่ระหว่าง 12,000-400,000 บาท แหล่งเงินกู้ที่สำคัญ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ สหกรณ์การเกษตร เงินกู้นอกระบบ กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ ร้านค้าชุมชน ฯลฯ หนี้สินผูกพันระยะยาวแบบใหม่คือการลงทุนเรื่องการศึกษาลูกการแก้ปัญหาหนี้สินในระดับปัจเจก คือ การกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ทั้งในระบบและนอกระบบ และการหารายได้เสริมจากอาชีพประมง ซึ่งชาวบ้านสามารถนำทุนทางสังคมในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ (ปลา กุ้ง พืชผักและสัตว์จากป่าชุมชน) และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำประมง และการผลิตอุปกรณ์การจับปลา และการแปรรูปอาหารแบบอีสาน คือ การทำปลาร้า ปลาส้ม ฯลฯ ไว้บริโภคในครัวเรือนและขาย ส่วนการแก้ปัญหาหนี้สินระดับกลุ่ม ชาวบ้านสามารถนำบทเรียนในการรวมกลุ่มที่หลากหลายมาวิเคราะห์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และดึงทุนทางสังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับปัจเจกมาต่อยอดและขยายผลให้เกิดการรวมกลุ่มทำกิจกรรม เพื่อประโยชน์ของชุมชน ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแปรรูปอาหาร กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า ธนาคารข้าว ร้านค้าชุมชน ฯลฯ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้เป็นแหล่งสวัสดิการทางสังคมที่แท้จริงของชุมชนและคนยากจน มีความเข้มแข็งและยั่งยืน เนื่องจากชาวบ้านมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน มีการพึ่งพาอาศัยกันในชุมชน อย่างไรก็ตามการรวมกลุ่มอาชีพสามารถช่วยลดปัญหาหนี้สินเกษตรกรได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ยังไม่สามารถช่วยปลดหนี้สินได้ เนื่องจากปัญหาหนี้สินเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เรื้อรังสะสมมาเป็นเวลานานส่วนบทบาทหญิงชายในการแก้ปัญหาหนี้สิน พบว่า ผู้หญิงมีความสามารถในการทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้านพอกับผู้ชาย ดังนั้น ผู้นำชุมชนและผู้ชายควรให้โอกาสผู้หญิง เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนมากขึ้น เพื่อเป็นการยกระดับและส่งเสริมสถานภาพสตรีให้เป็นที่ยอมรับของคนทั้งในชุมชนและนอกชุมชน ประเด็นบทบาทหญิงชายเป็นประเด็นสำคัญที่ชุมชนควรตระหนักและเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างยั่งยืนในชุมชนข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รัฐบาลควรกำหนดให้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร เป็นวาระแห่งชาติที่จำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา โดยต้องมองว่าปัญหานี้เป็นปัญหาเชิงนโยบายไม่ใช่ปัญหาของเกษตรกรแต่เพียงฝ่ายเดียว และควรยกเลิกหนี้สินเกษตรกรที่เกิดขึ้นจากโครงการส่งเสริมการเกษตรจากภาครัฐแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ รัฐบาลควรเร่งดำเนินนโยบายการปฎิรูปที่ดินและการเวนคืนที่ดินเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 2518 รัฐบาลควรมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนที่ล้มเหลว นอกจากนี้รัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมค่านิยมของคนในสังคม ให้ตระหนักถึงแบบแผนการบริโภคที่เรียบง่ายและพอเพียง และส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงต่อเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีงบประมาณสนับสนุนในการทำเกษตรกรรมทางเลือก ส่วนข้อเสนอแนะเชิงปฎิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สิน เกษตรกรเองควรมีความรู้จักพอเพียง และต้องพยายามปรับเปลี่ยนการบริโภคในครัวเรือน และควรสร้างวินัยในการใช้จ่ายในครัวเรือน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต และควรปรับเปลี่ยนการทำเกษตรเชิงเดี่ยวมาทำเกษตรกรรมทางเลือก นอกจากนี้คนในชุมชนทั้งหญิงและชายควรมีการร่วมกันวางแผนแม่บทชุมชน โดยการสร้างความเชื่อมโยงของกลุ่มต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วในชุมชน และนำทุนทางสังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ และเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดและพึ่งตนเองได้ ชุมชนควรมีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และควรชักจูงให้เยาวชนให้อยู่ในท้องถิ่น นอกจากนี้โรงเรียนควรมีการสอดแทรกความรู้เรื่องวัฒนธรรมชุมชน ทุนทางสังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เยาวชนได้เห็นคุณค่าและไม่ดูถูกดูแคลนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ และชุมชนควรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นอย่างเป็นองค์รวม ส่วนการต่อสู้ของเครือข่ายองค์กรประชาชน เพื่อกระจายการถือครองที่ดินเอกชนไปสู่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน กลุ่มเครือข่ายควรชูประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ว่า ที่ดินไม่ใช่ "สินค้า" แต่เป็นฐานความมั่นคง ทางอาหาร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมชุมชน The objective of this study is to understand the factors that cause debt problems of small farmers in Samarnmit Village, how they use the social capital and local knowledge in tackling problems individually and in groups. This qualitative research is based on the information gathered from in-debt interviews (10 cases), focus group discussions and participatory observation. The interviewees are formal village leaders, spiritual leader, core group leaders, elder group and women groups. The study contents are about the causes of migration of the villagers from Northeast to settle down in the North; village profile; community culture; causes and factors of the small farmers’ debt problems, how they tackle problems individually and in groups by using social capital and local knowledge. The study reveals the causes and factors that force the small farmers in debted as follows;1.Some of the small farmers began to face debt problems when they first settled in at Samarnmit Village with empty hands. Therefore they needed to buy lands for rice production and investment of agricultural equipment and machines. Some of them had limited land and not sufficient to produce rice yield for the whole family, so they had to rent more land from local people. Moreover, practicing modern agriculture consumes high investment costs, which include machines, land rental, fertilizer and pesticide and intensive labour.2.Small farmers relied on rain fed water for rice plantation. Sometimes there was flood and almost all the rice fields were destroyed. While they had loaned for investment from the bank and local moneylenders (with high interest rate). Some cases sold land in order to get rid of debt problems and became labourers in local areas. Some sold all the land when it was high price and moved to other provinces. However, they were not successful with new occupations and returned to Samarnmit and became labourers in local areas. 3.Small farmers became victims of consumerism and spent lots of money in building new houses and purchasing consumer goods, e.g., electric appliances, motorcycle, etc., by cash and credit.4.Investment of children education in higher level, e.g., diploma or undergraduate levels. The children needed to study in town, as a result, the costs of living were much more expensive. The parents needed to gain more income for the children’s costs on dormitory, food, travel, consumer goods, motorcycle and/or mobile phones, etc.5.Northeastern style cremation also caused farmer to be in debted, as the host had to organise the ceremony at home for three days and three nights by inviting monks and guests and offering monks clothes and money and providing guests several meals. 6.Old aging, sicknesses of farmers and lacking of labour in family caused them in accumulative debted. The old farmers had to take care of school aged grandchildren which had high expenditures, while their income were very low.The study also reveals that the small farmers had accumulative debt between 12,000-400,000 Baht. Sources of loan included Agricultural Bank, Agricultural Cooperation, moneylenders, Village Fund, saving group and cooperative shop, etc. It has also found that the new long-term debt cycle for the farmers is from the investment of their children education. In order to tackle debt problems individually, the farmers have to borrow money from the Thai Agricultural Bank and local moneylender, as well as to earn more income from fishing. They are able to make use of the existing social capital in community, natural resources, e.g., fish, shrimp and wild vegetable from community forest. They also use local knowledge for fishing and producing fishing equipment for own use and for sale to the neighboring villages. Moreover, some of them work on food processing, e.g., fermented fish and soured fish for their own consumption and for sale by using northeastern local knowledge. To tackle the problems in groups, villagers have formed several self-help groups such as, saving group, rice bank, food processing group, sewing group, cooperative shop, etc, by using the lessons learned from various self-help groups organized by governmental agencies, Non-Governmental Organizations (NGOs) and community itself. The members earn some income and benefit from the groups. They have also found that the groups become self-reliance and sustainable and could become the real sources of welfare for members and for the poor in community. Social capital is the key to success, which includes trust and dependence among the villagers. However, the self-help groups could reduce debt problems in a certain level only, since they are chronic problems. For gender role in tackling debt problems, the finding reveals that women could do well on domestic work, outdoor work and self-help group activities as equal as men. Therefore, the community leader and men should provide women more opportunity in participating in community development work, so that women status could be promoted. Gender issue is the key element for sustainable development, so the community should learn and practice more on the issue. Based on the finding, suggestions include these following: the government should urgently consider farmers’ debt problems seriously and prioritised them as national agenda of national development plan. Moreover, the government should see these problems as the problematic of national policy rather than the farmers’ individual problems and should find sustainable solution. The government should discharge all the farmers’ debt occurred from their unsuccessful agricultural promotion projects. The government should urgently implement the Land Reform and Expropriation Act of 1975 and distribute the unused private land to the poor farmers. In additional, the failure poverty reduction plan should be adjusted and improved in order to respond to the urgent needs of the poor. The government should promote the simply way of living in Thai society. Lastly, the government should seriously encourage the farmers to practice the self-sufficient economic principle with funding support for the alternative agricultural project implementation.Moreover, the farmers should have self-sufficient and adjust their consumerism habit to the simple way of living. They should have self-discipline in the financial management, and should practice the principle of self-sufficient economic. The mono-crop agriculture should be changed to the alternative agricultural activities. In addition, both men and women should participate in the establishment of the Master Plan of community development by linking the existing social capital, local wisdom and group activities to boost community economy. Moreover, the community should work closely with schools in creating local curriculum that serves needs of local community and persuades children to stay within community. The cultural aspects, social capital and local wisdom should be included into the curriculum, so that the children could appreciate them. The holistic approach of sustainable natural resource management plan should be set up in order to protect environment in community. Lastly, in order to fight for the distribution of the unused land to the landless farmers, the networking of People Organizations should raise the issue of sustainable development and emphasize that the “Land” are not goods, but they are sustainable livelihood and sources of socio-economy in communities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/234 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
abstract.pdf | 164.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tableContent.pdf | 85.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 181.94 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 334.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 100.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 263.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
reference.pdf | 182.31 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.