Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/245
Title: การปรับตัวในการทำงานของพนักงานสถาบันการเงินในยุคดิจิทัล
Other Titles: Work Adjustment of Financial Institutions in Employees Digital Age
Authors: ชุติระ ระบอบ
Chutira Rabob
กัญญ์ภัทร์ อ้วนคำ
Kanpat Uankham
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: สถาบันการเงิน -- พนักงาน
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
การปรับตัวทางสังคม
Social adjustment
Social change
Financial institutions -- Employees
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการปรับตัว กิจกรรม และการพักผ่อน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การปรับตัวเพื่อความมั่นคงทางสังคม และการสนับสนุนทางสังคมของพนักงานสถาบันการเงินในยุคดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาผลการปรับตัวของพนักงานสถาบันการเงินในยุคดิจิทัล พนักงานมีการปรับตัวในการทำงานได้สำเร็จ หรือปรับตัวในการทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานสถาบันการเงินทุกระดับที่ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบข้อคำถามการสัมภาษณ์ แบบสอบถามเชิงปริมาณที่เก็บได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานในการวิจัย โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) วิเคราะห์แบบสอบถามเชิงคุณภาพ เป็นแบบข้อคำถามสัมภาษณ์ระดับผู้จัดการจำนวน 15 คน นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูล นำมาจัดลำดับตามข้อคำถามในแบบแนวทางการสัมภาษณ์เพื่อนำเสนอข้อมูลเป็นแบบแนวบรรยาย ผลการศึกษา พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งงานเป็นพนักงานประจำ อายุงานต่ำกว่า 5 ปี ผลการวิเคราะห์รายด้านเกี่ยวกับระดับกิจกรรมและการพักผ่อน พบว่า พนักงานให้ความสำคัญกับกิจกรรมและการพักผ่อนระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้ว พบว่า พนักงานให้ความสำคัญในการอ่านหนังสือ เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับวิธีการและแนวทางในการทำงานในยุคดิจิทัลเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือ พนักงานลดเวลาในการหยุดพักผ่อน และเพิ่มเวลาทำงานให้เพิ่มขึ้น ด้านระดับความมีคุณค่าในตนเอง พบว่า พนักงานให้ความสำคัญต่อความมีคุณค่าในตนเองมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้ว พบว่า พนักงานให้ความสำคัญต่อความภาคภูมิในที่แก้ไขปัญหาในการทำงานได้สำเร็จมากที่สุด รองลงมา คือ พนักงานมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง ที่จะทำงานกับระบบเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ ด้านระดับการปรับตัวเพื่อความมั่นคง พบว่า พนักงานให้ความสำคัญต่อการปรับตัวเพื่อความมั่นคงทางสังคมระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้ว พบว่า พนักงานให้ความสำคัญเรื่องการทำงานมากขึ้น และเก็บออมเงินมากขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ พนักงานได้มีการศึกษาและพูดคุยกับผู้ที่มีความรู้ เพื่อขอคำปรึกษาด้านการลงทุน ด้านการเก็บออมเงินมากขึ้น และด้านระดับการสนับสนุนทางสังคม พบว่า พนักงานให้ความสำคัญกับการได้รับการแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานรูปแบบใหม่อยู่เสมอมากที่สุด รองลงมา คือ เรื่องการได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับรูปแบบในการทำงานด้วยระบบดิจิทัล
The purpose of this study were 1) to analyze personal factors and work adjustment behavior, activities and leisure, self-esteem, as well as adjustment for social security and social support of employees of financial institutions in digital age, and 2) to investigate results of work adjustment behavior of employees of financial institutions in digital age including successful cases and ineffective cases. The data were collected from 370 samoles who were employees at all levels of financial institutions in Bangkok Metropolitan area. Quanitative questionnaires were used to gather the data which were analyzed percentage, mean, standard deviation, and One-Way ANOVA for hypothesis testing. Moreover, qualutative questionnaires were used to interview 15 managers. The data were verified again to increase reliability and then recorded based on the interview guideline for descriptive presentation. The level of activity and leisure analyzes found that employees were significantly more concerned about activities and leisure. When considering eacj item, I found that the staff gave priority to me reading the book. To develop the knowledge about the way and the wat to work in the digital age increased most, followed by I reduce the time of rest. And work to increase. Self-esteem analysis found that employees value self-esteem. Is the most true when considering each of the items, I found that the staff was very important. I was proud to solve the problen of working successfully, the second is that I have confidence in my ability. To work with new teachnology. The results of the analysis of adaptation to social security were found. Employees are sensitive to adaptation to social security. When considering each item, it was found that the employees paid attention to the issue. I work more and the more money I have, the more I study and talk to those who have knowledge. For Inverstment Consultancy to save more money. The result of social support analysis showed that Employees give priority to social support. On a case by case basis, employees are given the most priority, and I recrive the most up-to-date information about the new type of work. About the style in the digital work.
Description: วิทยานิพนธ์ (กจ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2561
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/245
Appears in Collections:Business Administration - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KANPAT-UANKHAM.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.