Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/246
Title: | การเข้าถึงบริการทางสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์และครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ใช้บริการศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน ในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Accessibility to Social Services of People with HIV/AIDS and Their Families : A Case Study of Service User of Community Welfare Protection Centers in Bangkok |
Authors: | ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล Thipaporn Phothithawil สุนิสา ยุทธโกศา Sunisa Yutthkosa Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | โรคเอดส์ -- ผู้ป่วย AIDS (Disease) -- Patients ผู้ติดเชื้อเอชไอวี HIV-positive persons บริการสังคม Social services |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาการเข้าถึงบริการทางสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ใช้บริการศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน ในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล การรับรู้ข่าวสาร และความต้องการในการจัดบริการทางสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว การเข้าถึงบริการทางสังคม ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการทางสังคม และเพื่อศึกษาแนวทางการจัดบริการทางสังคมของทางสังคมของผู้ติดเชื่อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว ที่มาใช้บริการศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 338 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สถานภาพโสด จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รายได้ตนเองอยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท รายได้ส่วนใหญ่มาจากการทำงาน รายได้ครอบครัวอยู่ระหว่าง 5,000-10,000 บาท มีภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่เพียงพอและมีหนี้สิน จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องอุปการะ 1-4 คน อาศัยอยู่กับครอบครัว และระยะเวลาการติดเชื้ออยู่ระหว่าง 0-10 ปี การรับรู้ข้อมูล-ข่าวสาร ผู้รับบริการส่วนใหญ่จะทราบข้อมูลมาจากหน่วยงานของรัฐ เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาล สำนักงานเขต เป็นต้น ข้อมูล-ข่าวสารได้สร้างความเข้าใจในระดับปานกลาง การรับรู้ข้อมูล-ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับงานบริการ ส่วนใหญ่จะรับรู้งานบริการ การสงเคราะห์ผู้ติดเชื้อและครอบครัว และต้องการทราบข้อมูล-ข่าวสารเกี่ยวกับงานบริการ การสงเคราะห์ผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว เป็นอันดับ 1 ความต้องการบริการทางสังคมความต้องการระดับมากที่สุด คือ ความช่วยเหลือเรื่องอุปกรณ์การเรียนของบุตร/หลานและเงินช่วยเหลือเป็นครั้งคราว การเข้าถึงบริการทางสังคมที่ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน ในกรุงเทพมหานคร จัดให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ และครอบครัว พบว่า เรื่องการใช้บริการ งานบริการที่มีผู้ไปใช้บริการมากที่สุด คือ การสงเคราะห์ผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว รองลงมา การสงเคราะห์เงินทุนประกอบอาชีพสตรีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเอดส์ และงานบริการที่ใช้น้อยที่สุด การสงเคราะห์เด็กเข้าสถานสงเคราะห์ และการจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ เรื่อง ความเหมาะสมของสิทธิประโยชน์ที่ได้รับมากที่สุด คือ งานบริการการสงเคราะห์ผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว สิทธิประโยชน์ เงินช่วยเหลือครั้งละ 2,000 บาท รองลงมา งานบริการการสงเคราะห์เด็กเข้าสถานสงเคราะห์ สิทธิประโยชน์ เงินช่วยเหลือครั้งละ 2,000 บาท รองลงมา งานบริการการสงเคราะห์ สิทธิประโยชน์ รับเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี กำพร้า หรือถูกทอดทิ้ง เข้ารับการดูแลและรับการศึกษาในสถานสงเคราะห์ของทางราชการ ความเหมาะสมของสิทธิประโยชน์ที่น้อยที่สุด งานบริการจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ (กรณีขออุปการะเด็กถูกทอดทิ้ง หรือบิดามารดาเสียชีวิต) สิทธิประโยชน์ ช่วยเหลือเป็นเงิน 1,000 บาท/เดือน ไปจนกว่าเด็กจะอายุ 18 ปีบริบูรณ์ หรือไม่ประสงค์จะศึกษาต่อ ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการทางสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์และพบว่ามีตัวแปรอิสระะ 6 ตัวแปร ที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการทางสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์และครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส รายได้ครอบครัว ระยะเวลาที่ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ การรับรู้เกี่ยวกับงานบริการทุกประเภท และความต้องการบริการทางสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว แนวทางการจัดบริการทางสังคมที่เหมาะสมสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดสื และครอบครัว ควรมีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ให้เข้ามามีบทบาท และมีส่วนร่ววมในการจัดบริการทางสังคมแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ และครอบครัวภาครัฐ ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน ต้องมีการประชาสัมพันธ์งานบริการต่างๆ ของหน่วยงานในเชิงรุก ตามหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและงานบริการต่างๆ ภาคเอกชน และประชาสังคม ได้แก่ องค์กรเอกชน อาสาสมัคร และชุมชน ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ และครอบครัว ควรมีการสนับสนุนให้มีการจ้างงานผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ให้บุคคลเหล่านี้ได้ประกอบอาชีพตามความสามารถของตน เพื่อที่จะลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว ลดการพึ่งพาความช่วยเหลือจากหน่วยงานของภาครัฐ รวมถึงเปิดโอกาสให้มีตลาดเพื่อการค้าขายผลิตภัณฑ์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ อาสาสมัคร และชุมชน ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกลางระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน แนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ กับคนในชุมชน อาสาสมัครต่างๆ เข้าไปให้กำลังใจ รวมถึงดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ในกรณีที่บุคคลเหล่านั้นไม่มีผู้ดูแล หรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ข้อเสนอแนะระดับนโยบาย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรผลักดันและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีบทบาทและส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว ภาครัฐควรจัดให้มีสถานสงเคราะห์ หรือสถานที่พักพิงสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเอดส์ ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน ควรดำนินการ ดังนี้ ส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว ได้รับการพัฒนา และฝึกทักษะด้านอาชีพ รวมถึงสนับสนุนเรื่องทุนประกอบอาชีพ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหน่วยงาน และงานบริการที่หน่วยงานจัดให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ สำรวจความต้องการของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว จัดทำคู่มือหรือแผนผังกระบวนการ หรือขั้นตอนในการให้บริการ เพื่อที่ผู้ใช้บริการจะได้ทราบขั้้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการของศูนย์ฯ ติดตามผลภายหลังการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว รวมถึงมีการถอดบทเรียนจากการปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงการให้บริการให้มีการพัฒนาและตรงกับความต้องการของประชาชน The study on Accessibility to Social Services of People with HIV/AIDS and Their Fanilies : A Case Study of Services Users of Community Welfare Protection Centers in Bangkok aims to examine persinal basic background, awareness of information and needs for social services of the people with HIV/AIDS and their families; accessibility to social services; factors affecting the accessibility to social services; and ways to provide social services for the people with HIV/ADIS and theri families. A quantitative researcg methodology was used by specifically sampling 338 people with HIV/AIDS and their families, who were users of the services provided bt Community Welfare Protection Centers in Bangkok. Following are the research findings. Most service users were single males, with primary schooling. Being waged workers, their incomes ranged between 5,001 baht and 10,000 baht, most of which came from working payment. Their family incomes were in the range of 5,000-10,000 baht, which were so inadequate to meet their expenses that they were in debt. They had 1-4 dependants living with their familiies and the duration of infection was in the range of 0-10 years. Regarding the awareness of information, most of them were informed by state agencies, such as public health centers, hospitals, district officers, etc. Such information gave them moderate understanding. Most of the services, ralated information they had, was about the state welfare benefits provided for people with HIV/AIDS and their families, such as the information they most needed. For the most needed social services, the people with HIV/AIDS and their fsmilies wanted to be given learning materials for their children and occasional child allowance. Concerning the access to social services provided for the people with HIV/AIDS and their families by the people with HIV/AIDS in Bangkok, welfare benefits were most utilized; ranking second was occupational funding for women affected by AIDS. Provision of shelter for children and foster families was the least applied for. As for the benefits best fits their needs, the people with HIV/AIDS and their families requested for a 2,000- baht grant. Ranking second was the provision of state shelter, children and education for children, orphaned or abandoned children with HIV while the benefit least fit the recipients' needs was the provision of foster families (for abandoned children or those whose parents were dead) and 1,000- baht monthly allowance for the children up to the age of 18 or till they wanted to discontinue their education. There were six statistically significant independent variables affecting the accessibility to social services of the people with HIV/AIDS and their families. They were sex, maritual status, family income, duratiom of HIV/AIDS infection, awareness of all types of social services, and the needs for social services of the people with HIV/AIDS and their families. The Guideline on the management of social services for people infected with HIV/AIDS patients and their families should be integrated into the relevant departments of the government, private sector, evil society for being on duty and participation in the social services to people infected with HIV/AIDS patients and their families, for the Government sector including Welfare Community Center, subject to do the promotion of the services by the agencies such as Hospitals, Health Centers, Public Relation and the Services, the private sector and civil society, including NGOs, volunteers and the community to provide assistance to people infected with HIV/AIDS patients and their families should be encouraged to employ people infected with HIV/ AIDS to get these people a job by their ability. In order to reduce the expenses of the family and reduce reliance take help from government agencies. Supporting for the market to trade the products infected with HIV/AIDS. Volunteers and the community perform the coordinator role between the Government Sector and Private sector. To advice and give them a knowledge about how to live with people who Infected with HIV/AIDS and people in the community. The vounteers will encourage and care for HIV infection/ADIS incase they have no one to take care or incapable to help themselves. Below are recommendations for ways to provide such social services. At polict level: The Ministry of Social Development and Human Security should promote and coordinate with such concerned agencies as public, private society organizations as well as local administration organizations, to take active role in providing social welfare benefits for the people with HIV/AIDS and their families. The state should provide halfway houses or places of refuge for the people with HIV/AIDS. At operational level: The Community Welfare Protection Centers should take the following actions: Promoting the development of occupational skills and providing occupational funding for the people with HIV/ADIS and their families; disseminating the information about concerned agencies and available services to the public; surveying the needs of the people with HIV/AIDS and their families; and monitoring the consequences of assistance given to the people with HIV/AIDS and their families. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/246 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 859.66 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tableofcontents.pdf | 287.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 457.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf | 762.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter3.pdf | 430.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter4.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter5.pdf | 255.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
References.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.