Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2462
Title: | การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาสลิดที่เลี้ยงด้วยวิธีดั้งเดิม วิธีผสมผสานและวิธีดั้งเดิมเสริมหญ้าเนเปียร์ |
Other Titles: | Comparision of Snakeskin Gourami's Growth in Traditional Feeding Combination Feeding and Traditional Feeding with Napier Grass |
Authors: | เกษม พลายแก้ว ศิริวรรณ ตันตระวาณิชย์ สุรีย์พร หอมวิเศษวงศา วัลลิภา เสืออุดม บุณฑริกา ทองดอนพุ่ม พรชนก ประชุมพันธุ์ อัจจนา สุขประเสริฐ ปรีชา สมานมิตร Kasem Plaikaew Siriwan Tantawanich Sureeporn Homvisasevongsa Wanvipa Sueudom Boontarika Thongdonphum Pornchanok Prachoompun Achjana Sukprasert Preecha Samanmit Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดในพื้นที่ตำบลคลองด่าน Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Faculty of Agricultural Technology Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดในพื้นที่ตำบลคลองด่าน |
Keywords: | หญ้าเนเปียร์ Pennisetum purpureum ปลาสลิด – การเลี้ยง Snakeskin Gourami |
Issue Date: | 2019 |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาสลิดที่เลี้ยงด้วยวิธีดั้งเดิม วิธีผสมผสานและวิธีดั้งเดิมเสริมหญ้าเนเปียร์ โดยทดลองเลี้ยงปลาสลิดที่มีน้ำหนักตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 0.09 士 0.01 กรัม และมีความยาวลำตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 2.02 士 0.12 ซม. ทดลองเลี้ยงในบ่อดินขนาด 400 ตารางเมตร โดยปล่อยปลาสลิดในอัตรา 5 ตัวต่อตารางเมตร ทดลองเลี้ยงเป็นระยะเวลา 210 วัน (7 เดือน) พบว่าความยาวลำตัวของปลาสลิดที่เลี้ยงด้วยวิธีทั้ง 3 วิธีนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และน้ำหนักของตัวปลาสลิดที่เลี้ยงด้วยวิธีทั้ง 3 วิธีนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) โดยการเลี้ยงปลาสลิดด้วยวิธีผสมผสาน ปลามีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 0.099 士 0.03 กรัม/ตัว/วัน การเลี้ยงปลาสลิดด้วยวิธีดั้งเดิมปลามีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 0.071 士 0.01 กรัม/ตัว/วัน และวิธีการเลี้ยงปลาสลิดด้วยวิธีดั้งเดิมเสริมหญ้าเนเปียร์ ปลามีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 0.100 士 0.02 กรัม/ตัว/วัน และการตรวจชนิดและปริมาณของแพลงก์ตอนสัตว์ในบ่อเลี้ยงปลาสลิดทุกชุดการทดลองพบแพลงก์ตอน 3 กลุ่มหลักตลอดระยะเวลาการเลี้ยง คือ โรติเฟอร์ (rotifer) โคพีพอด (copepod) และนูเพียส (nauplius) The objective of this research was to study the snakeskin gourami's growth in traditional feeding, combination feeding and traditional feeding with napier grass. By experiment on raising fish with an average initial body weight 0.09 士 0.01 g and having an average initail body length of 2.02 士 0.12 cm. The experiment was conducted in a 400 square meter earthen pond by releasing fish at a rate of 5 characters per square meter. Experiment for a period of 210 days (7 months), it was found that the length of the body of the fish fed by the 3 methods was significantly different (p-value <0.001). And the weight of the fish that was fed with 3 methods was significantly different (p-value <0.001). By raising fish with combination feeding methods, the average growth rate of the fish was 0.099 士 0.03 g/body/day. For traditional feeding, the average growth rate of the fish was 0.099 土 0.03 g/body/day. And traditional feeding with napier grass, the average growth rate of the fish was 0.099 士 0.03 g/body/day. And the examination of species and quantity of zooplankton in all fish ponds. Experiments found 3 main groups of plankton throughout the culture period: rotifer, copepod and nauplius |
Description: | Proceedings of the 7th National and International Conference on "Research to Serve Society", 12 July 2019 at Huachiew Chalermprakiet University, Bangphli District, Samutprakarn, Thailand. p. 1255-1262. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2462 |
Appears in Collections: | Science and Technology - Proceeding Document |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Comparision-of-Snakeskin-Gourami-Growth.pdf | 1.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.