Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2549
Title: | พฤติกรรมการใช้พลังงานของประชาชนหลังจากมีการรณรงค์ให้ประชาชนมีการประหยัด : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | A Study of People Behavior in Energy Conservation : A Case Study of Samutprakarn Province |
Authors: | วรสิทธิ์ จักษ์เมธา Worasith Jackmetha ชัยเยาว์ ตระกูลมหชัย Chaiyao Takulmahachai Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | การใช้พลังงานไฟฟ้า -- ไทย -- สมุทรปราการ Electric power consumption -- Thailand -- Samut Prakarn. การอนุรักษ์พลังงาน -- ไทย -- สมุทรปราการ Energy conservation -- Thailand -- Samut Prakarn. |
Issue Date: | 2005 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมการใช้พลังงานของประชากรหลังจากมีการรณรงค์ให้ประชาชนมีการประหยัด : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ” มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากมีการรณรงค์ให้มีการประหยัดพลังงาน ศึกษาถึงลักษณะส่วนบุคคลว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการประหยัดพลังงานหรือไม่ และการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการประหยัดพลังงาน ในการศึกษานี้ผู้วิจัยใช้วีธีการสุ่มตัวอย่างจากประชาชนในเขตต่างๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 405 ตัวอย่างและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถอมหลังจากทำการตรวจสอบข้อมูลในแบบสอบถามและทำการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS โปรแกรม MS-Excel และโปรแกรม MS-Access ร่วมในการประมวลผล จากการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30-39 ปี มีรายได้มากกว่า 10.000 บาท สมรสแล้ว มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท จบการศึกษาในมัธยมศึกษาหรือ ปวช. ถึงระดับปริญญาตรี มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 5 คน ส่วนใหญ่แล้วมีการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศสูงกว่า 25 องศา 55.8% โดยมีการเปลี่ยนแปลงเทียบกับก่อนการรณรงค์ในทางประหยัดเพิ่มขึ้น 20.7% สำหรับตู้เย็นส่วนใหญ่มีจำนวนตู้เย็น 1 เครื่องคิดเป็น 78.3% โดยมีการเปลี่ยนแปลงในทางประหยัดเทียบกับก่อนการณรงค์เพิ่มขึ้นจากเดิม 2.7% สำหรับโทรทัศน์ส่วนใหญ่มีโทรทัศน์ 1 เครื่องคิดเป็น 46.9% โดยมีการเปลี่ยนแปลในทางประหยัด 4.2% และมีการปิดโทรทัศน์ที่เครื่องรับถึง 58% การซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่โดยมีความตั้งใจเลือกใช้ไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงานพบว่ามีการซื้อเครื่องปรับอากาศแบบประหยัด 35.3% หลอดไฟ 44.9% กลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีรถจักรยานยนต์คิดเป็น 48.1% มีรถจักรยานยนต์จำนวน 1 คัน คิดเป็น 41.2% มีรถยนต์จำนวน 1 คัน คิดเป็น 46.7% และไม่มีรถยนต์ 33.1% มีการควบคุมความเร็วรถในช่วง 80-90 กม./ชม. คิดเป็น 54.8% โดยมีกการเปลี่ยนแปลงมาควบคุมความเร็วรถในขณะขับขี่มากขึ้นจากเดิม 18.8% มีการดับเครื่องยนต์เมื่อจอดรถนานคิดเป็น 61.5% เปลี่ยนแปลงในทางประหยัดเพิ่มขึ้น 7.7% พบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการประหยัดพลังงานโดยการมีจำนวนตู้เย็นมีความสัมพันธ์กับเพศ อายุ รายได้ และจำนวนสมาชิกในครอบครัว จำนวนโทรทัศน์มีความสัมพันธ์กับอายุ จำนวนรถจักรยานยนต์สัมพันธ์กับอายุ การควบคุมความเร็วรถและการดับเครื่องเมื่อจอดรถสัมพันธ์กับเพศ อาชีพ การศึกษา และจำนวนสมาชิกในครอบครัว การปฏิบัติตามกฎจราจรสัมพันธ์กับเพศ และจำนวนสมาชิกในครอบครัวและการบำรุงรักษาเครื่องยนต์สัมพันธ์กับเพศ การศึกษาและจำนวนสมาชิกในครอบครัว ลักษณะส่วนบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงมาปฏิบัติตามรณรงค์มากขึ้นมีลักษณะเป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 30-39 ปี รายได้มากกว่า 10,000 บาท สมรสแล้ว อาชีพพนักงานบริษัท การศึกษามัธยมปลาย ปวช. สมาชิกในครอบครัวมากกว่า 5 คน การรณรงค์ที่ควรดำเนินการ ได้แก่ การควบคุมจำนวนรถต่อครอบครัว การรณรงค์โดยใช้การอบรม และการใช้ป้ายประกาศเหตุผลในการปฏิบัติตามการรณรงค์ประหยัดพลังงาน คือ ประหยัดเงินส่วนตัว การมีอุปกรณ์ประหยัดพลังงานให้เลือกมาก |
Description: | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2549 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Study-of-People-Behavior-in-Energy-Conservation (2).pdf Restricted Access | 6.67 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.