Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2603
Title: | การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีพฤติกรรมคุณธรรมทางพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Factors Effected Budhist Ethic Behavior of High School Students in Samutprakarn Province |
Authors: | ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya ฐิติวรรณ สุกใส Thitiwan Suksai Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- ไทย -- สมุทรปราการ High school students -- Thailand -- Samut Prakarn. การเลี้ยงดูเด็ก Child rearing ความดี Virtue พุทธศาสนา -- คำสั่งสอน Buddhism -- Doctrines. |
Issue Date: | 1998 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมคุณธรรมทางศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาอิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวและกายถ่ายทอดลักษณะทางพุทธศาสนาจากครอบครัวของเด็กที่มีผลต่อพฤติกรรมคุณธรรมทางศาสนาของนักเรียนกลุ่มดังกล่าว 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางศาสนาระหว่างเด็กที่มีพฤติกรรมระดับสูงและระดับต่ำ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยผู้ศึกษาใช้กลุ่มตัวอย่างในโรงเรียน 4 แห่ง รวม 404 คน ได้แก่ โรงเรียนสมุทรปราการ 216 คน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย 92 คน โรงเรียนพลูเจริญวิทยาคม 47 คน โรงเรียนเซนต์โยเซฟบางนา 49 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุซึ่งมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลได้ว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีพฤติกรรมคุณธรรมทางพุทธศาสนา ได้แก่ การถ่ายทอดการปฏิบัติตามแนวพุทธ การเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเอง การถ่ายทอดวิถีชีวิตตามแนวพุทธ โรงเรียนและพ่อแม่ประกอบอาชีพส่วนตัว และจากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรกับพฤติกรรมคุณธรรมทางศาสนา พบว่า เพศหญิงมีพฤติกรรมสูงกว่าเพศชาย และเป็นนักเรียนโรงเรียนเอกชน คือ โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ขณะที่เด็กนักเรียนในโรงเรียนอื่นๆ ในภาครัฐ มีพฤติกรรมคุณธรรมทางศาสนาต่ำกว่า ในส่วนของตัวแปรอิสระกับตัวแปรชีวสังคมมีความสัมพันธ์กันในด้านเพศ อาชีพมารดา และรายได้ต่างกัน จึงทำให้มีการเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนต่างกัน การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมจะต่างกันเรื่องเพศ การเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลต่างกันเรื่องรายได้ การเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเองต่างกันเรื่องรายได้เช่นกัน ส่วนการถ่ายทอดลักษณะทางพุทธ ถ้าพ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีทางพุทธมากเท่าใด เด็กก็จะได้รับการถ่ายทอดจากบิดามารดามากเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า โดยมากเพศหญิงได้รับการถ่ายทอดสูงกว่า เพศชาย ในด้านรายได้ที่มากที่สุดตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป ได้มีส่วนในการถ่ายทอดทางพุทธได้มากกว่า ผู้มีรายได้ต่ำ และเป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนเอกชนผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานกับหน่วยงานเกี่ยวข้องกับทางพุทธศาสนาและครอบครัว ให้มีส่วนร่วมในการอบรมสั่งสอน เผยแพร่พุทธศาสนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและเด็ก เพื่อส่งเสริมการสร้างสายใยแก่ครอบครัวและสร้างจิตสำนึกทางพุทธศาสนาให้มากขึ้น |
Description: | ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2603 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Factors-Effected-Budhist-Ethic-Behavior.pdf Restricted Access | 12.11 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.